ปัญหาอาคารชุดในอนาคต:
หลังจากรถไฟฟ้าเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น อาคารชุดหรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "คอนโด" ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดตามแนวรถไฟฟ้า นัยว่าเป็นไลฟ์สไตล์ของคนเน็กเจ็น และเป็น "โอกาส" ของทั้งนักลงทุนและผู้บริโภคที่จะได้มีที่พักอาศัยที่เดินทางสะดวก ดอกเห็ดนี้กำลังบานสะพรั่งในปี 2560 และแลดูสวยงามและทันสมัยเพราะยังใหม่ ๆ อยู่
ผู้เขียนเป็นนักกฎหมายจึงไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวทางด้านการพัฒนาเมืองมากนัก แต่เคยทำงานร้องทุกข์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ตอนนี้เป็นศาลปกครองไปแล้ว จำได้ว่าเมื่อครั้งคอนโดเริ่มต้นใหม่ ๆ มีการร้องทุกข์ว่าคอนโดแห่งหนึ่งขวางทางแดดทางลมของเพิ่อนบ้าน บ้านช่องเขาจากที่ปลอดโปร่งโล่งสบายกลับกลายเป็นอุดอู้ แทนที่จะมีแดดส่องกลับมีแสงสะท้อนจากกระจกอาคารส่องเข้าบ้านแทน ให้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แถมที่ตรงนั้นเป็นถนนเล็ก ๆ เพราะเดิมเป็นชุมชนเล็ก ๆ ของคนมีสตางค์ พอมีคอนโดเข้ามา มีคนเข้าอยู่นับร้อย ผู้พักอาศัยต่างมีรถห้องละคัน เกิดปัญหารถติดและควันพิษตามมา คนเก่าคนแก่เป็นโรคภูมิแพ้กันเป็นแถว ๆ เขาจึงมาร้องทุกข์
ผู้เขียนจำไม่ได้จริง ๆ ว่าเรื่องนี้จบยังไงตามประสาคนมีอายุ แต่พอเห็นคอนโดผุดขึ้นเยอะ ๆ ก็นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาทุกทีไป เลยเกิดความสงสัยว่า การที่เรามีคอนโดเยอะ ๆ และขึ้นที่ไหนก็ได้ง่าย ๆ นี่ มันส่งผลกระทบถึง "เมือง" ไหม โดยเฉพาะ "คนเมือง"
เอาง่าย ๆ อย่างทิศทางแดดทิศทางลมก็แล้วกัน แดดคงไม่เท่าไร มีตึกเยอะ ๆ แดดคงไม่ร้อนมาก แต่ตึกเป็นปูน มันย่อมอมความร้อน ถ้ามันอมมาก ๆ เข้า ความร้อนของเมืองคงสูงขึ้น แต่ไม่รู้สูงขึ้นเท่าไร ไม่รู้มีคนบันทึกไว้ไหม (ฝรั่งจะมีตัวเลขแบบนี้) เมื่อร้อนขึ้น ก็ต้องเปิดแอร์ เมื่อเปิดแอร์ก็ต้องใช้ไฟ เราต้องเสียพลังงานมากขึ้น ส่วนจะมากขึ้นเท่าไรก็ไม่รู้ได้ เพราะไม่เคยเห็นตัวเลข
ส่วนเรื่องลมนั้น แน่นอนว่าถ้ามีอาคารสูงมาก ๆ โดยไม่มีการวางแผนที่ดี ระบบระบายอากาศ (ventilation) ของเมืองต้องมีปัญหาแน่ ๆ เพราะเดิมเมืองไม่มีสภาพเช่นนี้ มีแต่สวนแต่ป่า แต่ไม่รู้ว่าว่ามันส่งผลอะไรบ้าง ไม่รู้มีใครเคยศึกษาไว้ไหม
นี่ผู้เขียนยังทำเฉย ๆ โดยมองผ่านความเพียงพอของระบบสาธารณูปโภค ระบบกำจัดขยะ ระบบการขนส่งมวลชน วิถีชุมชน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันนะ แต่ถ้าลองคิดจากเรื่องร้องทุกข์ที่ผู้เขียนพูดถึงข้างต้น ผู้เขียนว่ามันต้องกระทบมากแน่ ๆ
นอกจากนี้ ถ้าคิดถึงวัฏฏสงสารที่ประกอบด้วยเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง ผู้เขียนจึงตั้งสมมุติฐานตามมาอีกว่า วันหนึ่งในอนาคตที่อาคารเหล่านี้หมดอายุการใช้งานตามหลักวิศวกรรม จะก่อให้เกิดปัญหาชวนปวดหัวในอนาคต ปัญหาที่ว่านี้คือการแบ่งกรรมสิทธิ์ว่าจะแบ่งกันอย่างไร คงวุ่นวายน่าดู เพราะวันนี้พ่อแม่ซื้อไว้ แต่กว่าอาคารจะหมดอายุก็คงถึงรุ่นหลาน ทายาทจึงคงมีมากกว่าหนึ่งคนต่อห้อง แล้วจะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไรถ้าทายาทเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายไป คงอลหม่านพิลึก ทั้งนี้เพราะเราใข้ระบบกรรมสิทธิ์ในห้องชุด การเลิกอาคารชุดที่จะทำให้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดเป็นอันยกเลิกไปก็ต้องใช้คะแนนเสียงเอกฉันท์(ตามกฎหมายปัจจุบัน) ซึ่งทางปฏิบัติคงเกิดขึ้นได้ยากมากกกกก ดูอย่างแฟลตดินแดงก็ได้ นั่นแค่สิทธิการเช่านะ ยังวุ่นวายขนาด
ดังนั้น ถ้ามาตรการตามกฎหมายเลิกอาคารชุดไม่ได้ ก็คงต้องปล่อยให้มันค้างเติ่งอยู่เช่นนั้น ให้มันผุพังล้มหายไปตามกาล กลายเป็นภาวะอุดจาดของเมืองในอนาคต ยิ่งถ้าสิ่งของจากอาคารผุพังเหล่านี้ตกหล่นไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น ปัญหาจะยิ่งรุงรังมากขึ้น และแน่นอนว่าคนที่ต้องรับภาระเหล่านี้ก็คงหนีไม่พ้นลูกหลานของเรานั่นเองที่จะต้องไปจัดการเก็บกวาดต่อไปตามยถา
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาเมืองในยุคที่ผ่านมาที่ขาดการมองแบบองค์รวม และไม่คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
มันเป็นปัญหาที่เราทุกคนคงต้องหาทางแก้ไว้ให้ลูกหลานด้วยนะครับ.
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อคิดจากเบียร์ โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์
ข้อคิดจากเบียร์:
หลายวันก่อนมีข่าวเด็กหนุ่มคนหนึ่งถูกจับเพราะชอบดื่มเบียร์ จึงผสมเบียร์เอง ดื่มเอง และขายเอง
จริงอยู่ครับที่เขาทำผิดกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แต่กฎหมายนี้ตราขึ้นใช้บังคับมาหลายสิบปีแล้ว ไม่รู้น้องคนนี้เกิดหรือยังตอนกฎหมายออกใช้ แต่มันยิ่งทำให้ผมคิดว่ากฎหมายนี้และกฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บังคับอยู่ทุกวันนี้ มันเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ และม้นสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตหรือไม่
ว่ากันเฉพาะเรื่องเบียร์นี้ก็แล้วกัน ถ้ามองในแง่ศาสนา เราก็ไม่ควรอนุญาตให้มีการผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดองของเมาหรือสิ่งเสพย์ติดใด ๆ เลย นั่นก็ถูก เพราะเราเป็นสังคมพุทธ แต่การที่กฎหมายเปิดช่องให้มีการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเบียร์ได้ ก็เท่ากับว่ารัฐบาลและรัฐสภาซึ่งก็คือผู้แทนปวงชนชาวไทยนั่นแหละ เห็นว่าควรอะลุ้มอล่วยให้ทำได้ แต่รัฐจะควบคุมนะ ใครจะผลิตหรือจำหน่ายต้องมาขออนุญาตกันก่อน
ปัญหาของเรื่องนี้จึงน่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการอนุมัติอนุญาตว่าจะเข้มข้นมากน้อยแค่ไหนเพียงใด ถ้าเข้มข้นมาก ก็ขออนุญาตยาก ถ้าเข้มข้นน้อย ก็ขออนุญาตไม่ยากนัก
ถามว่าจะเข้มข้นมากหรือน้อยดี อันนี้เป็นเรื่องทางนโยบายที่ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาอย่างรอบด้านครับ อย่างเรื่องเบียร์นี้ส่วนใหญ่ก็จะมองในเรื่องสุขภาพและความสงบเรียบร้อย เพราะดื่มเบียร์มาก ๆ นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แถมเมาแล้วก็อาจเป็นอันตรายต่อทั้งตนเองและคนอื่น โดยเฉพาะเมาแล้วขับ การขาดสติแล้วไปทำร้ายคนอื่น เพราะคนไทยดื่มไม่เหมือนใครในโลก ไม่รู้ใครสั่งใครสอนกันมาว่าดื่มแล้วต้องเมา ไม่เมาไม่เลิก! ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราส่วนใหญ่ไม่มีวินัยในตัวเอง
ผู้เขียนมีอีกมุมมองหนึ่งที่จะนำเสนอครับ นั่นคือมุมมองด้านวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
ในแง่วัฒนธรรม ผู้เขียนพบว่าประเทศต่าง ๆ ที่มิได้ใช้กฎหมายศาสนานั้นต่างมีวัฒนธรรมในการดื่มไวน์ เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหลักทั้งสิ้น เอาที่คนไทยชอบไปเที่ยวกันอย่างญี่ปุ่นนี่แหละ จะเห็นว่าเขาดื่มเบียร์กันเป็นวัฒนธรรมกันทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการในการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเบียร์ของเขาจึงผ่อนปรนมาก เพราะการผลิตเบียร์มันมีสูตรลับของมันเองเหมือนสูตรขนมสูตรอาหารนั่นแหละ ผู้ผลิตแต่ละรายมีกลเม็ดเด็ดพรายในการปรุงเบียร์ต่างกัน มันเป็นวัฒนธรรมทางอาหาร เมื่อคิดได้ดังนี้ เขาก็อนุญาตให้ SMEs ที่ชอบทางนี้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ได้ง่าย เมื่อเราไปญี่ปุ่น จะเห็นเบียร์ท้องถิ่นพรืดไปหมด นี่ยังไม่พูดถึงเหล้าสาเกหรือเหล้าขาวบ้านเรานะครับ ที่นั่นหลากหลายมาก มีประกวดประขันกันในฐานะสินค้าท้องถิ่น มีเรื่องราวของตัวเอง มีมูลค่าเพิ่มของตัวเอง ส่วนบ้านเราอย่าว่าแต่เบียร์เลย เหล้าพื้นบ้านต่าง ๆ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละถิ่นดูจะสาบสูญไปหมดแล้ว น่าเสียดายมาก
ถ้ามองในมุมของคนค้าคนขาย ไม่ต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ยิ่งขออนุญาตยาก ยิ่งผูกขาดง่ายนะครับ และถ้าเอาเรื่องขออนุญาตเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปผูกกับโทษอาญาด้วย ยิ่งทำให้คนคิดทำมาค้าขายอกสั่นขวัญเสียมิใช่น้อยนะครับ
ถ้าน้องคนผลิตเบียร์คนนี้เป็นคนญี่ปุ่น ป่านนี้เขาอาจ Start up ธุรกิจของเขาได้แล้ว ไม่ต้องรอเป็นลูกจ้างใครให้เมื่อยตุ้ม แถมยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตรผลิตเบียร์ของเขาเองได้ไม่ยากนัก ธุรกิจของเขาจะสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับอีกหลายคน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับกิจการต่อเนื่องได้อีกมิใช่น้อย
ในทัศนะผม เราคงต้องมากำหนดนิตินโยบาย หรือนโยบายทางกฎหมาย (legal policy) กันให้ชัดเจนก่อนว่าจะไปทางไหน อย่างไร แล้วไปรื้อกฎหมายในตู้ให้สอดคล้องกับนโยบายนี้อย่างจริงจัง มีตัวชี้วัดชัดเจน ใครไม่ทำหรือทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่มีแต่กฎหมายเพิ่มแต่อำนาจของหน่วยงาน หรือขยายหน่วยงาน จนทุกวันนี้ดูเหมือนว่าทุกกรมจะมีกฎหมายเป็นของตัวเองแล้ว ซึ่งนั่นยิ่งจะทำให้การบูรณาการการทำงานของฝ่ายบริหารมีปัญหาหนักขึ้นไปอีก
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับแล้วนะครับ
หลายวันก่อนมีข่าวเด็กหนุ่มคนหนึ่งถูกจับเพราะชอบดื่มเบียร์ จึงผสมเบียร์เอง ดื่มเอง และขายเอง
จริงอยู่ครับที่เขาทำผิดกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แต่กฎหมายนี้ตราขึ้นใช้บังคับมาหลายสิบปีแล้ว ไม่รู้น้องคนนี้เกิดหรือยังตอนกฎหมายออกใช้ แต่มันยิ่งทำให้ผมคิดว่ากฎหมายนี้และกฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บังคับอยู่ทุกวันนี้ มันเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ และม้นสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตหรือไม่
ว่ากันเฉพาะเรื่องเบียร์นี้ก็แล้วกัน ถ้ามองในแง่ศาสนา เราก็ไม่ควรอนุญาตให้มีการผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดองของเมาหรือสิ่งเสพย์ติดใด ๆ เลย นั่นก็ถูก เพราะเราเป็นสังคมพุทธ แต่การที่กฎหมายเปิดช่องให้มีการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเบียร์ได้ ก็เท่ากับว่ารัฐบาลและรัฐสภาซึ่งก็คือผู้แทนปวงชนชาวไทยนั่นแหละ เห็นว่าควรอะลุ้มอล่วยให้ทำได้ แต่รัฐจะควบคุมนะ ใครจะผลิตหรือจำหน่ายต้องมาขออนุญาตกันก่อน
ปัญหาของเรื่องนี้จึงน่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการอนุมัติอนุญาตว่าจะเข้มข้นมากน้อยแค่ไหนเพียงใด ถ้าเข้มข้นมาก ก็ขออนุญาตยาก ถ้าเข้มข้นน้อย ก็ขออนุญาตไม่ยากนัก
ถามว่าจะเข้มข้นมากหรือน้อยดี อันนี้เป็นเรื่องทางนโยบายที่ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาอย่างรอบด้านครับ อย่างเรื่องเบียร์นี้ส่วนใหญ่ก็จะมองในเรื่องสุขภาพและความสงบเรียบร้อย เพราะดื่มเบียร์มาก ๆ นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แถมเมาแล้วก็อาจเป็นอันตรายต่อทั้งตนเองและคนอื่น โดยเฉพาะเมาแล้วขับ การขาดสติแล้วไปทำร้ายคนอื่น เพราะคนไทยดื่มไม่เหมือนใครในโลก ไม่รู้ใครสั่งใครสอนกันมาว่าดื่มแล้วต้องเมา ไม่เมาไม่เลิก! ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยเราส่วนใหญ่ไม่มีวินัยในตัวเอง
ผู้เขียนมีอีกมุมมองหนึ่งที่จะนำเสนอครับ นั่นคือมุมมองด้านวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
ในแง่วัฒนธรรม ผู้เขียนพบว่าประเทศต่าง ๆ ที่มิได้ใช้กฎหมายศาสนานั้นต่างมีวัฒนธรรมในการดื่มไวน์ เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหลักทั้งสิ้น เอาที่คนไทยชอบไปเที่ยวกันอย่างญี่ปุ่นนี่แหละ จะเห็นว่าเขาดื่มเบียร์กันเป็นวัฒนธรรมกันทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการในการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเบียร์ของเขาจึงผ่อนปรนมาก เพราะการผลิตเบียร์มันมีสูตรลับของมันเองเหมือนสูตรขนมสูตรอาหารนั่นแหละ ผู้ผลิตแต่ละรายมีกลเม็ดเด็ดพรายในการปรุงเบียร์ต่างกัน มันเป็นวัฒนธรรมทางอาหาร เมื่อคิดได้ดังนี้ เขาก็อนุญาตให้ SMEs ที่ชอบทางนี้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ได้ง่าย เมื่อเราไปญี่ปุ่น จะเห็นเบียร์ท้องถิ่นพรืดไปหมด นี่ยังไม่พูดถึงเหล้าสาเกหรือเหล้าขาวบ้านเรานะครับ ที่นั่นหลากหลายมาก มีประกวดประขันกันในฐานะสินค้าท้องถิ่น มีเรื่องราวของตัวเอง มีมูลค่าเพิ่มของตัวเอง ส่วนบ้านเราอย่าว่าแต่เบียร์เลย เหล้าพื้นบ้านต่าง ๆ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละถิ่นดูจะสาบสูญไปหมดแล้ว น่าเสียดายมาก
ถ้ามองในมุมของคนค้าคนขาย ไม่ต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ยิ่งขออนุญาตยาก ยิ่งผูกขาดง่ายนะครับ และถ้าเอาเรื่องขออนุญาตเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปผูกกับโทษอาญาด้วย ยิ่งทำให้คนคิดทำมาค้าขายอกสั่นขวัญเสียมิใช่น้อยนะครับ
ถ้าน้องคนผลิตเบียร์คนนี้เป็นคนญี่ปุ่น ป่านนี้เขาอาจ Start up ธุรกิจของเขาได้แล้ว ไม่ต้องรอเป็นลูกจ้างใครให้เมื่อยตุ้ม แถมยังเป็นเจ้าของสิทธิบัตรผลิตเบียร์ของเขาเองได้ไม่ยากนัก ธุรกิจของเขาจะสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับอีกหลายคน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับกิจการต่อเนื่องได้อีกมิใช่น้อย
ในทัศนะผม เราคงต้องมากำหนดนิตินโยบาย หรือนโยบายทางกฎหมาย (legal policy) กันให้ชัดเจนก่อนว่าจะไปทางไหน อย่างไร แล้วไปรื้อกฎหมายในตู้ให้สอดคล้องกับนโยบายนี้อย่างจริงจัง มีตัวชี้วัดชัดเจน ใครไม่ทำหรือทำไม่ได้ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่มีแต่กฎหมายเพิ่มแต่อำนาจของหน่วยงาน หรือขยายหน่วยงาน จนทุกวันนี้ดูเหมือนว่าทุกกรมจะมีกฎหมายเป็นของตัวเองแล้ว ซึ่งนั่นยิ่งจะทำให้การบูรณาการการทำงานของฝ่ายบริหารมีปัญหาหนักขึ้นไปอีก
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายฯ มีผลใช้บังคับแล้วนะครับ
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560
ว่าด้วยวิธีคิด โดยนายปกรณ์ นิลประพันธ์
ทุกวันนี้ผมพบว่าผู้คนในสังคมจำนวนมากเกิดความตระหนักว่าประเทศของเรามีปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องปรับแก้ไขอย่างเร่งด่วนมากมาย หลายคนออกมาช่วยเสนอแนะทางแก้ปัญหาซึ่งผมเองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่าการออกมาตำหนิติเตียนกัน กล่าวหากัน หรือเอาแต่ให้ร้ายกันอย่างแต่ก่อน
ผมเป็นส่วนหนึ่งของกระแสนี้ และขอแบ่งปันวิธีการคิดวิเคราะห์แบบของผมกับทุกท่านเพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
เนื่องจากผมเป็นนักกฎหมาย วิธีการคิดวิเคราะห์ของผมจึงอิงอยู่กับวิธีการคิดทางนิติศาสตร์ ซึ่งตามหลักกฎหมายเปรียบเทียบนั้นเราจะเปรียบเทียบเฉพาะในสิ่งที่เปรียบเทียบกันได้ ซึ่งนำมาจากหลักการรักษาคนไข้ของแพทย์ที่ว่า similia similibus curantur อันว่าอาการของโรคอย่างเดียวกันเท่านั้น จึงจะใช้วิธีรักษาหรือยาอย่างเดียวกันได้
เหตุที่ถือหลักการนี้เพราะในแต่ละประเทศหรือในแต่ละสังคมนั้นมีบริบท (context) ของตนเอง มันดูคล้ายกันก็จริง แต่ไม่เหมือนกันในรายละเอียด คนในแต่ละสังคมมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต วิธีคิด สภาพแวดล้อม ฯลฯ ต่างกัน ดังนั้น เราจึงไม่อาจ "ลอก" วิธีการแก้ไขปัญหาของสังคมอื่นมาใช้กับสังคมไทยได้แบบเหมือนเป๊ะ ๆ อย่างที่ใคร ๆ ชอบพูดกันว่าเรื่องนี้ฝรั่งมี เรื่องนี้ญี่ปุ่นมี ไทยเราก็ต้องมีอย่างเขาบ้าง เป็นต้น
ยกตัวอย่างปัญหาจราจร ฝรั่งกับญี่ปุ่นมีกฎหมายจราจรเหมือนกับเรา และเรามีกฎและอาณัติสัญญาณต่าง ๆ เหมือนกับสากลโลก แต่คนของเขามีวินัยและเคารพกฎหมายจราจรเพราะถูกอบรมสั่งสอนมาว่าเป็นเรื่องความปลอดภัยของส่วนรวม ถนนเป็นสถานที่ที่คนใช้ร่วมกัน ไม่ใช่สถานที่ส่วนบุคคล ปัญหาขับปาดซ้ายป่ายขวาฝ่าไฟแดง ดื่มแล้วขับ ขับขี่ย้อนศร ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย จอดในที่ห้ามจอด ฯลฯ จึงมีน้อย ขณะที่คนของเราหย่อนระเบียบวินัย คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ปัญหาจราจรบ้านเราจึงแก้ยากกว่าของชาวบ้านเขา เพราะต้องแก้ที่จิตสำนึก ไม่ใช่แค่แก้กฎหมาย หรือแก้ที่ผู้บังคับการตามกฎหมาย
อีกตัวอย่างของการขาดความรับผิดชอบคือเราจะโทษคนอื่นไว้ก่อน ไม่แม้แต่จะคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการกระทำของตัวเอง บ้านเราจึงไม่มีวัฒนธรรม "ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ" หรือแม้กระทั่งการแสดงความสำนึกผิดในการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อสังคม
ดังนั้น การเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามวิธีการของนักกฎหมายจึงต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจคนไทยและสังคมไทยก่อนว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไรจึงมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งในทางกฎหมายเราเรียกว่าเป็นการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และต้องวิเคราะห์ว่าบริบทของเราต่างจากบริบทของคนอื่นอย่างไร แล้วคนของเรามีทัศนคติหรือความคิดเห็นในปัญหานั้นอย่างไร จึงจะหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของเราได้ ถ้าไม่ทราบเรื่องนี้ การแก้ไขปัญหาจะทำได้โดยยาก ยิ่งถ้าแก้ปัญหาโดยไปลอกวิธีการของฝรั่งที่มีบริบทแตกต่างจากเราอย่างสิ้นเชิงมาใช้ในการแก้ปัญหา จะยิ่งไปกันใหญ่
หลักกฎหมายเปรียบเทียบนี้สอดรับกันได้พอดีกับศาสตร์ของพระราชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า "เข้าใจ -> เข้าถึง -> พัฒนา"
มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ อย่างมีเหตุมีผล เพื่อพัฒนาประเทศกันเถิดครับ.
ผมเป็นส่วนหนึ่งของกระแสนี้ และขอแบ่งปันวิธีการคิดวิเคราะห์แบบของผมกับทุกท่านเพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
เนื่องจากผมเป็นนักกฎหมาย วิธีการคิดวิเคราะห์ของผมจึงอิงอยู่กับวิธีการคิดทางนิติศาสตร์ ซึ่งตามหลักกฎหมายเปรียบเทียบนั้นเราจะเปรียบเทียบเฉพาะในสิ่งที่เปรียบเทียบกันได้ ซึ่งนำมาจากหลักการรักษาคนไข้ของแพทย์ที่ว่า similia similibus curantur อันว่าอาการของโรคอย่างเดียวกันเท่านั้น จึงจะใช้วิธีรักษาหรือยาอย่างเดียวกันได้
เหตุที่ถือหลักการนี้เพราะในแต่ละประเทศหรือในแต่ละสังคมนั้นมีบริบท (context) ของตนเอง มันดูคล้ายกันก็จริง แต่ไม่เหมือนกันในรายละเอียด คนในแต่ละสังคมมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต วิธีคิด สภาพแวดล้อม ฯลฯ ต่างกัน ดังนั้น เราจึงไม่อาจ "ลอก" วิธีการแก้ไขปัญหาของสังคมอื่นมาใช้กับสังคมไทยได้แบบเหมือนเป๊ะ ๆ อย่างที่ใคร ๆ ชอบพูดกันว่าเรื่องนี้ฝรั่งมี เรื่องนี้ญี่ปุ่นมี ไทยเราก็ต้องมีอย่างเขาบ้าง เป็นต้น
ยกตัวอย่างปัญหาจราจร ฝรั่งกับญี่ปุ่นมีกฎหมายจราจรเหมือนกับเรา และเรามีกฎและอาณัติสัญญาณต่าง ๆ เหมือนกับสากลโลก แต่คนของเขามีวินัยและเคารพกฎหมายจราจรเพราะถูกอบรมสั่งสอนมาว่าเป็นเรื่องความปลอดภัยของส่วนรวม ถนนเป็นสถานที่ที่คนใช้ร่วมกัน ไม่ใช่สถานที่ส่วนบุคคล ปัญหาขับปาดซ้ายป่ายขวาฝ่าไฟแดง ดื่มแล้วขับ ขับขี่ย้อนศร ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย จอดในที่ห้ามจอด ฯลฯ จึงมีน้อย ขณะที่คนของเราหย่อนระเบียบวินัย คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ปัญหาจราจรบ้านเราจึงแก้ยากกว่าของชาวบ้านเขา เพราะต้องแก้ที่จิตสำนึก ไม่ใช่แค่แก้กฎหมาย หรือแก้ที่ผู้บังคับการตามกฎหมาย
อีกตัวอย่างของการขาดความรับผิดชอบคือเราจะโทษคนอื่นไว้ก่อน ไม่แม้แต่จะคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการกระทำของตัวเอง บ้านเราจึงไม่มีวัฒนธรรม "ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ" หรือแม้กระทั่งการแสดงความสำนึกผิดในการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อสังคม
ดังนั้น การเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามวิธีการของนักกฎหมายจึงต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจคนไทยและสังคมไทยก่อนว่ามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไรจึงมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งในทางกฎหมายเราเรียกว่าเป็นการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และต้องวิเคราะห์ว่าบริบทของเราต่างจากบริบทของคนอื่นอย่างไร แล้วคนของเรามีทัศนคติหรือความคิดเห็นในปัญหานั้นอย่างไร จึงจะหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของเราได้ ถ้าไม่ทราบเรื่องนี้ การแก้ไขปัญหาจะทำได้โดยยาก ยิ่งถ้าแก้ปัญหาโดยไปลอกวิธีการของฝรั่งที่มีบริบทแตกต่างจากเราอย่างสิ้นเชิงมาใช้ในการแก้ปัญหา จะยิ่งไปกันใหญ่
หลักกฎหมายเปรียบเทียบนี้สอดรับกันได้พอดีกับศาสตร์ของพระราชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า "เข้าใจ -> เข้าถึง -> พัฒนา"
มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ อย่างมีเหตุมีผล เพื่อพัฒนาประเทศกันเถิดครับ.
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560
พัฒนาเมืองกันเสียทีดีไหม โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์
โดยที่บ้านเมืองเรานั้นขยายอย่างรวดเร็วมากจนทำผังเมืองไม่ทัน กว่าผังเมืองจะออก เมืองก็มีรูปร่างหน้าตาของตนเองแล้ว เรียกว่าโตไปตามยถากรรม การบังคับให้เป็นไปตามผังเมืองจึงเป็นเรื่องลำบากยากเย็น ต้องมีข้อยกเว้นต่าง ๆ นา ๆ มากมายเต็มไปหมดเพราะบ้านช่องเขาขึ้นมาก่อนผังจะเกิด บ้านเมืองของเราจึงดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดวางระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำเพื่อการบริโภคและการชลประทาน ระบบการคมนาคมขนส่ง ระบบการบริหารจัดการของเสีย ระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และระบบอะไรต่าง ๆ อีกร้อยแปดพันเก้าประการจึงไม่ทั่วถึง และไม่เป็นระบบ ปัญหาที่ตามมาก็คือการบริหารจัดการเมืองแต่ละแห่งต้องใช้ต้นทุนสูงมาก แต่รัฐต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ สิ่งที่ตามมาก็คือการให้บริการของรัฐในลักษณะนี้ทำให้รัฐต้องใช้เงินภาษีอย่างสิ้นเปลือง เพราะต้องแก้ปัญหาแบบเบี้ยหัวแตกกันไปวัน ๆ เอาง่าย ๆ เช่น โรงเรียนควรอยู่ใกล้ ๆ พำนักอาศัย ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้ตามแต่คนจะศรัทธามอบที่ดินให้ ทำให้มีการตั้งโรงเรียนกระจัดกระจายไปหมด การทุ่มเททรัพยากรจึงกระจัดกระจาย จนต้องนำมาซึ่งวิธีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กในที่สุด หรือเมื่อมีตรอกซอกซอยเล็ก ๆ น้อย ๆ เต็มไปหมด การจัดระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึงอย่างประเทศอื่น ๆ เขาก็เป็นไปไม่ได้ คนพอมีทรัพย์เลยไปซื้อรถกันคนละคันสองคันเพื่อแก้ปัญหาให้ตัวเอง แต่นำมาซึ่งปัญหาน่าเวียนหัวเกี่ยวกับการจราจร มลพิษทางอากาศ และอื่น ๆ ต่อไปอีก ...
ทุกประเทศเขาก็มีปัญหานี้เหมือนกันครับ แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาหาทางแก้ ทางแก้ที่ว่านี้เขาเรียกว่า Urban Redevelopment หรือการ "พัฒนาเมือง" ครับ การพัฒนาเมืองนี้ไม่ใช่สักแต่สร้างถนนสร้างตึกให้มันใหม่เข้าไว้นะครับ แต่เขาปรับปรุงให้มันสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของเมือง อะไรดี ๆ เขาก็คงไว้ ไม่ใช่ทุบทิ้งสร้างใหม่ตะพึดไป มีการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การอยู่อาศัย การค้า การลงทุนในพื้นที่ แล้วก็ไม่ได้ไล่คนพื้นที่ออกนะครับ แต่เป็นการพัฒนาให้คนพื้นที่อยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ มีพื้นที่สีเขียว มีสถานพักผ่อนหย่อนใจ มีระบบ IT มีระบบคมนาคมขนส่งและระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ว่าฝนตกทีนึง ต่างคนต่างใจตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ไม่รู้น้ำจะไหลไปทางไหน เป็นต้น
การพัฒนาเมืองนี้นอกจากจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในทางอ้อม ทั้งในระหว่างดำเนินโครงการและหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวที่นำรายได้มหาศาลเข้าประเทศ แถมการพัฒนาเมืองโดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน การใช้ระบบพลังงานทดแทน การขนส่งระบบราง ฯลฯ รวมทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียวกันตามหลักวิชา ยังช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะ
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนพบว่าเราพูดถึงการพัฒนาเมืองกันน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องใหญ่พอ ๆ กับการทำผังเมือง ผู้เขียนจึงลองเสนอไอเดียการพัฒนาเมืองมาเพื่อพิจารณาครับ หลักการก็คือถ้า อปท.ใดประสงค์จะพัฒนาเมือง ให้ไปรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ว่าส่วนใหญ่เขาเอาด้วยไหม ไปทำประชามติกันมา ถ้าส่วนใหญ่เห็นดีเห็นงามร่วมกัน ก็ให้มาบอก "สำนักงานพัฒนาเมือง" เพื่อให้เขาจัดการให้ โดยให้รัฐจัดให้มีกองทุนสนับสนุนการพัฒนเมืองด้วยเพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพัฒนาเมือง อปท.ไม่ต้องลงทุนทั้งหมด พอพัฒนาเสร็จ อปท.ก็จะมีรายได้มากขึ้น เพราะเมืองสวย ๆ ใคร ๆ ก็อยากมาเทียว อยากมาอยู่ ประเทศก็ได้ประโยชน์ทางอ้อม ทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ
จะว่าไป ถ้าสามารถพัฒนาเมืองในภาพรวมได้นะ คือ อปท. ติด ๆ กันหลาย ๆ แห่งร่วมกันเสนอให้มีการพัฒนาเมืองไปพร้อม ๆ กัน การวางแผนการพัฒนาก็จะเป็นระบบ และการจัดทำสาธารณูปโภคสาธารณูปการอะไรต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนก็จะได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ไม่กระจัดกระจายอย่างที่ผ่านมา การใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุนของภาครัฐก็จะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
พร้อมนี้ ได้เสนอร่าง พรบ. พัฒนาเมือง พ.ศ. .... มาเพื่อพิจารณาด้วยแล้ว เป็น พรบ. แหวกแนวนิดนึง คือไม่ได้มุ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่มุ่งการริเริ่มและการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในการพัฒนา เมื่อพี่น้องริเริ่ม รัฐจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเมืองโดยใช้เงินจากกองทุนที่ตั้งขึ้นมา ลองพิจารณากันดูนะครับ
ทุกประเทศเขาก็มีปัญหานี้เหมือนกันครับ แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาหาทางแก้ ทางแก้ที่ว่านี้เขาเรียกว่า Urban Redevelopment หรือการ "พัฒนาเมือง" ครับ การพัฒนาเมืองนี้ไม่ใช่สักแต่สร้างถนนสร้างตึกให้มันใหม่เข้าไว้นะครับ แต่เขาปรับปรุงให้มันสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของเมือง อะไรดี ๆ เขาก็คงไว้ ไม่ใช่ทุบทิ้งสร้างใหม่ตะพึดไป มีการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การอยู่อาศัย การค้า การลงทุนในพื้นที่ แล้วก็ไม่ได้ไล่คนพื้นที่ออกนะครับ แต่เป็นการพัฒนาให้คนพื้นที่อยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ มีพื้นที่สีเขียว มีสถานพักผ่อนหย่อนใจ มีระบบ IT มีระบบคมนาคมขนส่งและระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ว่าฝนตกทีนึง ต่างคนต่างใจตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ไม่รู้น้ำจะไหลไปทางไหน เป็นต้น
การพัฒนาเมืองนี้นอกจากจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในทางอ้อม ทั้งในระหว่างดำเนินโครงการและหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวที่นำรายได้มหาศาลเข้าประเทศ แถมการพัฒนาเมืองโดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน การใช้ระบบพลังงานทดแทน การขนส่งระบบราง ฯลฯ รวมทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียวกันตามหลักวิชา ยังช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะ
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนพบว่าเราพูดถึงการพัฒนาเมืองกันน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องใหญ่พอ ๆ กับการทำผังเมือง ผู้เขียนจึงลองเสนอไอเดียการพัฒนาเมืองมาเพื่อพิจารณาครับ หลักการก็คือถ้า อปท.ใดประสงค์จะพัฒนาเมือง ให้ไปรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ว่าส่วนใหญ่เขาเอาด้วยไหม ไปทำประชามติกันมา ถ้าส่วนใหญ่เห็นดีเห็นงามร่วมกัน ก็ให้มาบอก "สำนักงานพัฒนาเมือง" เพื่อให้เขาจัดการให้ โดยให้รัฐจัดให้มีกองทุนสนับสนุนการพัฒนเมืองด้วยเพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพัฒนาเมือง อปท.ไม่ต้องลงทุนทั้งหมด พอพัฒนาเสร็จ อปท.ก็จะมีรายได้มากขึ้น เพราะเมืองสวย ๆ ใคร ๆ ก็อยากมาเทียว อยากมาอยู่ ประเทศก็ได้ประโยชน์ทางอ้อม ทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ
จะว่าไป ถ้าสามารถพัฒนาเมืองในภาพรวมได้นะ คือ อปท. ติด ๆ กันหลาย ๆ แห่งร่วมกันเสนอให้มีการพัฒนาเมืองไปพร้อม ๆ กัน การวางแผนการพัฒนาก็จะเป็นระบบ และการจัดทำสาธารณูปโภคสาธารณูปการอะไรต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนก็จะได้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ไม่กระจัดกระจายอย่างที่ผ่านมา การใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุนของภาครัฐก็จะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
พร้อมนี้ ได้เสนอร่าง พรบ. พัฒนาเมือง พ.ศ. .... มาเพื่อพิจารณาด้วยแล้ว เป็น พรบ. แหวกแนวนิดนึง คือไม่ได้มุ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่มุ่งการริเริ่มและการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในการพัฒนา เมื่อพี่น้องริเริ่ม รัฐจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเมืองโดยใช้เงินจากกองทุนที่ตั้งขึ้นมา ลองพิจารณากันดูนะครับ
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาเมือง
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาเมือง
เหตุผล
โดยที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความเหมาะสม
มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นอย่างครบถ้วนและเหมาะสม
และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และอัตลักษณ์ของแต่ละเมือง รวมทั้งสร้างความต่อเนื่องเชื่อมโยงระหว่างระบบสาธารณูปโภคของเมืองนั้นกับพื้นที่ใกล้เคียงด้วย
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการการอยู่อาศัย นันทนาการ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อันจะยังประโยชน์แก่การค้า
การลงทุน และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวมในระยะยาว ทั้งนี้
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนร่วมกันเสนอโครงการพัฒนาเมือง
และรัฐบาลให้การสนับสนุนในการพัฒนาเมือง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
การพัฒนาเมือง
พ.ศ. ....
...................................
...................................
...................................
.................................................................................................................
..................................
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาเมือง
.................................................................................................................
..................................
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการพัฒนาเมือง พ.ศ. ....”
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“การพัฒนาเมือง” หมายความว่า การวางแผนการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์
รวมตลอดทั้งการก่อสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู บูรณะ หรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความเหมาะสม
มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นอย่างครบถ้วนและเหมาะสม
และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“เมือง” หมายความว่า
พื้นที่ภายในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“เขตพื้นที่พัฒนา” หมายความว่า เขตเมืองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาเมือง
“พื้นที่สีเขียว” หมายความว่า
พื้นที่ที่มีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบโดยมี
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
“กองทุน” หมายความว่า
กองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมือง
“คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมือง
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมือง
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมือง
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมือง
มาตรา
๕ ให้มีคณะกรรมการนโยบายคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบาย
(๑) รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ
และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นกรรมการ
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของรัฐมนตรีจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและผลงานเป็นที่ประจักษ์ด้านสถาปัตยกรรม
วิศวกรรม การผังเมือง สิ่งแวดล้อม
เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย
สาขาละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๗
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในหกสิบวัน ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้อง
มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออกตามข้อเสนอแนะของรัฐมนตรีเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖
มาตรา ๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการนโยบายปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยให้ถือว่าคณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
และให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่น้อยกว่าเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ในการนี้ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๐ การประชุมคณะกรรมการนโยบายต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๑
ให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย
มาตรฐาน และแนวทางการพัฒนาเมืองทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒) ส่งเสริม
สนับสนุน และประสานการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมือง
(๓) เสนอแนะหรือให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง
(๔)
ให้ความเห็นชอบให้สำนักงานดำเนินการพัฒนาเมืองตามคำขอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ประเมินผลการพัฒนาเมืองตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมือง
(๖) กำหนดแผน กลยุทธ์ และแนวทางการบริหารงานของสำนักงาน
(๗) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดองค์กร
การเงิน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป
การพัสดุ การตรวจสอบภายใน รวมตลอดทั้งการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ ของสำนักงาน
และข้อบังคับอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
(๘)
อนุมัติแผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายเงินและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน
(๙) ควบคุมการบริหารงานและการดำเนินการของสำนักงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นที่จำเป็นหรือเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเมืองตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
การจัดทำนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองตาม (๑)
และการประเมินผลการพัฒนาเมืองตาม (๕) คณะกรรมการนโยบายต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อบังคับตาม
(๗) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา
๑๒ คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมายได้
การประชุมคณะอนุกรรมการ
ให้นำมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมือง
มาตรา
๑๓ ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเมืองขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
สำนักงานมีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๔ ให้สำนักงานมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง
และจะตั้งสาขาขึ้น ณ ที่อื่นใดก็ได้
มาตรา ๑๕ กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา
๑๖ ให้สำนักงานมีอำนาจและหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน
และประสานการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมือง
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำหรือข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๔)
จัดให้มีการดำเนินการพัฒนาเมืองตามคำขอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบาย
(๕) ติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง
ตลอดจนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองต่อคณะกรรมการนโยบาย
(๖)
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมือง
(๗) ถือกรรมสิทธิ์
มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๘)
ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน
(๙)
จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองในรอบปีที่ผ่านมา
ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายและสำนักงาน ผลการประเมินการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองในรอบปีที่ผ่านมา
ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงานตามนโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองและปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายและสำนักงาน
และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเมืองหรือตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
รายงานตาม (๙)
ให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ
และให้เผยแพร่ต่อประชาชนผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ด้วย
กำหนดเวลาตามวรรคสองให้หมายถึงวันในสมัยประชุมของรัฐสภา
มาตรา
๑๗
ให้สำนักงานมีเลขาธิการคนหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจากบุคคลที่คณะกรรมการนโยบายคัดเลือก
มาตรา ๑๘ ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๒) สามารถทำงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา
มาตรา ๑๙ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ต้องห้ามมิให้เป็นเลขาธิการ
(๑) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๒)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลารอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้ว
(๔)
เป็นข้าราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๕) เป็นข้าราชการการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๖)
เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๗)
เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
มาตรา ๒๐
อัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๒๑ เลขาธิการอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
เลขาธิการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา
๒๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๙
(๔)
เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๒๙
(๕) รัฐมนตรีให้ออกตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการนโยบาย
เพราะบกพร่องหรือทุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๒๓
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบ
ในการบริหารกิจการของสำนักงาน
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการนโยบาย
มาตรา ๒๔ ให้มีรองเลขาธิการตามจำนวนที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดเพื่อช่วยเลขาธิการในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่เลขาธิการมอบหมาย
มาตรา
๒๕
เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน
เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้าง
ตลอดจนให้พนักงานหรือลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
แต่ถ้าเป็นพนักงานตำแหน่งรองเลขาธิการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ตรวจสอบภายใน
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายก่อน
(๒)
วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับหรือมติที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่
เลขาธิการจะมอบอำนาจให้พนักงานกระทำการใดแทนก็ได้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
ให้ผู้ได้รับมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับเลขาธิการในเรื่องที่ได้รับมอบอำนาจนั้น
มาตรา ๒๗ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนสำนักงาน เพื่อการนี้
เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดกระทำการแทนก็ได้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
มาตรา
๒๘
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งรองเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ
ในกรณีที่ไม่มีรองเลขาธิการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ
ให้ผู้รักษาการแทนเลขาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับเลขาธิการ
มาตรา
๒๙ เลขาธิการต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับสำนักงานหรือ
ในกรณีที่คู่สมรส หรือบุตรของเลขาธิการกระทำการตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเลขาธิการมีส่วนได้เสียในกิจการของสำนักงาน
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่เลขาธิการได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายให้เป็นกรรมการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่สำนักงานเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๓๐ นิติกรรมใดที่ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามมาตรา ๒๙
ไม่มีผลผูกพันสำนักงาน
มาตรา ๓๑ ให้สำนักงานวางและรักษาไว้ซึ่งบัญชีที่เป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับระบบการบัญชีที่กระทรวงการคลังได้วางไว้
มาตรา ๓๒ ให้สำนักงานจัดให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำ
ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนเป็นคณะกรรมการนโยบายตรวจสอบ
เพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการนโยบาย
ในการตรวจสอบภายใน
ให้ผู้ตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการนโยบายตรวจสอบ
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณา
มาตรา
๓๓ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงาน
มาตรา
๓๔ ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการนโยบาย
หมวด ๓
การพัฒนาเมือง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๓๕ การพัฒนาเมืองต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามที่กำหนดไว้ในผังเมือง
และต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชนและชุมชนในเมืองและเขตพื้นที่พัฒนา การบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและการบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่พัฒนา
การพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และชีวอนามัยของประชาชน การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การอนุรักษ์พลังงาน และนโยบาย
มาตรฐาน และแนวทางการพัฒนาเมืองที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด เพื่อให้เมืองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมดุล และยั่งยืน
ในกรณีที่จะต้องพัฒนาเมืองหรือพื้นที่พัฒนาที่ยังไม่มีผังเมืองใช้บังคับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงาน แล้วแต่กรณี มีหนังสือขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อจัดทำผังเมืองของเมืองหรือพื้นที่พัฒนานั้นโดยให้ถือเป็นการจัดทำผังเมืองรวมของเมืองหรือพื้นที่พัฒนานั้นตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอเพื่อดำเนินการพัฒนาเมืองต่อไป
ในกรณีที่จะต้องพัฒนาเมืองหรือพื้นที่พัฒนาที่ยังไม่มีผังเมืองใช้บังคับ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงาน แล้วแต่กรณี มีหนังสือขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อจัดทำผังเมืองของเมืองหรือพื้นที่พัฒนานั้นโดยให้ถือเป็นการจัดทำผังเมืองรวมของเมืองหรือพื้นที่พัฒนานั้นตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอเพื่อดำเนินการพัฒนาเมืองต่อไป
มาตรา ๓๖ เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นสมควรดำเนินการพัฒนาเมืองในบริเวณใด หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากประชาชนหรือชุมชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น หรือคณะกรรมการนโยบายเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการพัฒนาเมืองในบริเวณใด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเห็นว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นของเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อประกอบการพิจารณา
ในการรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นตามวรรคหนึ่ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณากำหนดวิธีดำเนินการให้เหมาะสมตามควรแก่กรณี
เพื่อให้บุคคลตามวรรคหนึ่งสามารถเข้สร่วมแสดงความคิดเห็นได้มากที่สุด และจะจัดกี่วิธีหรือกี่ครั้งก็ได้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ แต่การพิจารณาให้คำนึงถึงความเห็นเห็นเบื้องต้นของบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นหลัก
มาตรา
๓๗ ก่อนการรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นที่ต้องพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาและแนวทางที่จะดำเนินการโดยส่งไปยังที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนของเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก่อนการรับฟังความคิดเห็นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
และให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย
เมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับข้อมูลนั้นแล้ว
ในกรณีคณะกรรมการนโยบายเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะขอให้สำนักงานเป็นผู้ร่วมจัดทำข้อมูลตามวรรคหนึ่งด้วยก็ได้
มาตรา
๓๘ เมื่อได้รับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นแล้ว
หากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาดังกล่าวต่อไป ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนานั้น
รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้
อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)
รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม
(๒)
งบประมาณและระยะเวลาดำเนินการ
(๓)
ผลที่คาดว่าจะได้รับและความคุ้มค่า
(๔)
ผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาและต่อประชาชนทั่วไปในระหว่างดำเนินการพัฒนา
(๕)
แนวทางในการป้องกัน แก้ไขหรือเยียวยาผลกระทบตาม (๔)
ในการศึกษาความเป็นไปได้ตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะขอให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายก็ได้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเผยแพร่ผลการศึกษาความเป็นไปได้ตามวรรคหนึ่งต่อประชาชน
โดยอย่างน้อยให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
และให้ส่งสรุปผลการศึกษาดังกล่าวไปยังที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนของเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย
ให้นำความในมาตรา ๓๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการส่งสรุปผลการศึกษาตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา
๓๙ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ส่งสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ไปยังเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวกับผลการศึกษาความเป็นไปได้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งหนังสือเชิญประชุมไปยังที่อยู่ที่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนของเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ให้นำความในมาตรา ๓๗ วรรคสอง
มาใช้บังคับกับการส่งหนังสือเชิญประชุมตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา
๔๐ ในกรณีที่ปรากฏในการประชุมตามมาตรา ๓๙
ว่ามีเจ้าของที่ดินหรือผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คัดค้านการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาหรือคัดค้านแนวทางการพัฒนาเมืองที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้
แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าสมควรดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาดังกล่าวต่อไปตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นลงประชามติว่าสมควรพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้ดังกล่าวหรือไม่
ถ้าผู้มีสิทธิลงประชามติให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนผู้มีสิทธิลงประชามติทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าผู้มีสิทธิลงประชามติเห็นชอบให้ดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้
การลงประชามติตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงประชามติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา
๔๑ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิลงประชามติเห็นชอบให้ดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้
แต่มีเหตุจำเป็นที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่อาจดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาได้ชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจขยายระยะเวลาดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้ออกไปก่อนได้
แต่ต้องไม่เกินสี่ปีนับแต่วันที่มีการลงประชามติ
เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้การลงประชามติเป็นอันสิ้นผล หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนาเพื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
ต้องดำเนินการตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ใหม่
มาตรา
๔๒ ในกรณีดังต่อไปนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองโดยไม่ดำเนินการตามมาตรา
๓๘ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ก็ได้
(๑) ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือเป็นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(๒)
ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาทั้งหมด อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งได้ให้ความเห็นชอบกับแนวทางการพัฒนาเมือง
(๓) เขตพื้นที่พัฒนามีขนาดไม่เกินหนึ่งพันตารางเมตร และเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดมีหนังสือยินยอมให้พัฒนาพื้นที่นั้นได้
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านการพัฒนาเมืองที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้ตามมาตรา
๓๙
หรือผู้มีสิทธิลงประชามติเห็นชอบให้ดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้ตามมาตรา
๔๐ วรรคสอง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัดสินใจดำเนินการพัฒนาเมืองตามมาตรา ๔๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการพัฒนาเมืองตามแนวทางที่เสนอไว้ในผลการศึกษาความเป็นไปได้
หรือผลการตัดสินใจตามมาตรา ๔๒ แล้วแต่กรณี
ส่วนที่ ๒
การสนับสนุนการพัฒนาเมือง
มาตรา
๔๔ การพัฒนาเมืองในกรณีดังต่อไปนี้ เมื่อได้รับประชามติเห็นชอบ
(๑)
เขตพื้นที่พัฒนาที่มีขนาดเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร
(๒)
เขตพื้นที่พัฒนาที่มีเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ดังกล่าวซึ่งเป็น
(๓)
กรณีอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การขอให้สำนักงานเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาเมือง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๔๕ เมื่อได้รับคำร้องขอ
และสำนักงานเห็นว่ามีความเป็นไปได้และคุ้มค่า
(๑) ผลการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าที่จะดำเนินการพัฒนาเมืองตามคำขอ
(๒) แผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินและรายการประกอบแผนผังสำหรับเขตพื้นที่พัฒนาที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๓) แผนการจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเขตพื้นที่พัฒนา
(๔)
แผนการก่อสร้างหรือปรับปรุงเขตพื้นที่พัฒนา
(๕) แบบการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารในเขตพื้นที่พัฒนา (ถ้ามี)
(๖)
แผนการย้ายเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาออกจากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เป็นการชั่วคราว
(ถ้ามี)
(๗)
แผนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาเมือง
(๘)
แผนการบริหารความเสี่ยง
(๙)
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
(๑๐)
เอกสารอื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายบริหารกองทุนกำหนด
แผนผังและรายการประกอบแผนผังตาม
(๒) ต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่กำหนดไว้ในผังเมืองและผลการศึกษาความเป็นไปได้ตามมาตรา
๓๘ และต้องประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบของเขตพื้นที่พัฒนาทั้งหมด
เมื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาเสร็จ ให้สำนักงานเสนอรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง พร้อมกับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา
มาตรา ๔๖ การพัฒนาเมืองตามคำขอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายแล้ว ให้สำนักงานดำเนินการต่อไปได้
เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเมือง
บรรดาค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเมืองตามคำขอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายตามมาตรา
๔๕ นอกจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ ให้สำนักงานเบิกจ่ายจากกองทุน เว้นแต่กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายตามมาตรา
๕๐ และมาตรา ๕๒ คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจอนุมัติให้สำนักงานเบิกค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากกองทุนได้
มาตรา ๔๗ เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบตามมาตรา
๔๖ แล้ว ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่พัฒนาขึ้นและให้มีแผนที่กำหนดแนวเขตพื้นที่พัฒนาไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย
มาตรา
๔๘ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นในเขตพื้นที่พัฒนาตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา
๔๗ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับผังเมือง ให้สำนักงานดำเนินการโดยวิธีจัดซื้อ
เช่าซื้อ หรือแลกเปลี่ยน
มาตรา ๔๙
ในกรณีที่ไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นในเขตพื้นที่พัฒนาโดยวิธีตามมาตรา
๔๘ แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นนั้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเขตพื้นที่พัฒนาให้เป็นไปตามผังเมือง และการเวนคืนนั้นอาจกระทำได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ให้สำนักงานมีอำนาจดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
มาตรา
๕๐
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองตามมาตรา
๔๘ และมาตรา ๔๙ ให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา
๕๑ ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นที่ได้มาตามมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ ให้สำนักงานโอนหรือมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งมอบเขตพื้นที่พัฒนาที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การโอนตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทั้งปวง
มาตรา
๕๒ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่พัฒนาตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
ถ้าภายในเขตที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมอยู่ด้วย และสำนักงานจำเป็นต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมือง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้ได้มาซึ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว
หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ชำระราคาที่ดินให้แก่กระทรวงการคลังตามราคาที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว
ให้พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวและตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยไม่ต้องดำเนินการถอนสภาพหรือโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(๒)
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่พลเมืองยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่
หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินนั้นอยู่ในเขตได้จัดที่ดินที่มีลักษณะและความสะดวกใกล้เคียงกันให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวและตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยไม่ต้องดำเนินการถอนสภาพหรือโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(๓)
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ ถ้าทางราชการเลิกใช้หรือยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นตามที่สงวนหรือหวงห้ามไว้
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและได้ชำระราคาที่ดินให้แก่กระทรวงการคลังตามราคาที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าวและตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยไม่ต้องดำเนินการถอนสภาพหรือโอนตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุหรือประมวลกฎหมายที่ดิน
(๔)
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า
หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและได้ชำระราคาที่ดินให้แก่กระทรวงการคลังตามราคาที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว
ให้ที่ดินนั้นตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๕๓
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่พัฒนา เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่พัฒนาขึ้นแล้ว ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้การดำเนินการเกี่ยวกับก่อสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู บูรณะ
หรือพัฒนาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่พัฒนาต้องได้รับอนุมัติ อนุญาต หรือให้ความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้ถือว่าสำนักงานได้รับอนุมัติ อนุญาต
หรือให้ความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายนั้นแล้ว แต่ทั้งนี้ สำนักงานต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเช่นเดียวกับที่กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตทั่วไปต้องปฏิบัติด้วย
หมวด ๔
กองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมือง
มาตรา
๕๔ ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองขึ้นในสำนักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อพัฒนาเมือง
มาตรา ๕๕ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสม
(๒) เงินกู้ที่รัฐบาลกู้เพื่อสมทบกองทุนโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(๔) ดอกผลหรือประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากทรัพย์สินของกองทุน
เงินหรือทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเข้ากองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา
๕๖ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการพัฒนาเมืองของสำนักงานตามคำขอขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๒)
การจัดทำข้อมูลตามมาตรา ๓๗ วรรคสาม และมาตรา ๔๕
(๓) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมือง
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมือง
(๕)
ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน
มาตรา ๕๗ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานกรรมการ
ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนสถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการเงินการคลัง
การบัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำนวนห้าคนเป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา
๕๘ กรรมการบริหารกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
กรรมการบริหารกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา
๕๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการบริหารกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกเพราะบกพร่องหรือทุจริตต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
มาตรา
๖๐ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งกรรมการกองทุนผู้ทรงคุณวุฒิและการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
มาตรา ๖๑ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งอนุกรรมการบริหารกองทุนและการประชุมของคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
มาตรา ๖๒ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินของกองทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๒) พิจารณาจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๓)
ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การใช้จ่ายเงิน
การให้กู้ยืมเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์
และการตรวจสอบภายในของกองทุน
(๔) ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย
ข้อกำหนด ผลการพิจารณา
และระเบียบตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ระเบียบตาม (๓) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๖๓ ให้สำนักงานจัดทำบัญชีของกองทุนให้เป็นไปตามระบบการบัญชี
มาตรา
๖๔
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีอิสระที่สำนักงาน
มาตรา
๖๕
ให้ผู้สอบบัญชีรายงานผลการสอบบัญชีต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
และให้สำนักงานเผยแพร่งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ
หมวด ๕
ความสัมพันธ์กับรัฐบาล
มาตรา ๖๖
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสำนักงาน
ในกรณีที่คณะกรรมการนโยบายหรือสำนักงานต้องเสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ
หนี้ สิทธิ และภาระผูกพัน ของฝ่ายพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมือง
การเคหะแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๙ ให้พนักงานและลูกจ้างของฝ่ายพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมือง
การเคหะแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เป็นพนักงานหรือหรือลูกจ้างของฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัย
การเคหะแห่งชาติ และให้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานโดยให้ถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัย
การเคหะแห่งชาติ
มาตรา ๖๙ พนักงานและลูกจ้างตามมาตรา
๖๘ ซึ่งสมัครใจเปลี่ยนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน
ให้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
สำหรับผู้ไม่ได้แจ้งความจำนงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัย
การเคหะแห่งชาติ
มาตรา ๗๐ ให้คณะกรรมการนโยบายกำหนดตำแหน่ง
อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการ
และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของพนักงานและลูกจ้างตามมาตรา ๖๘ ซึ่งสมัครใจเปลี่ยนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๗๑ การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างตามมาตรา
๖๘ ซึ่งสมัครใจเปลี่ยนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานให้ดำรงตำแหน่งใดในสำนักงาน
ให้เป็นไปตามอัตรากำลัง คุณสมบัติและอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมมิได้
การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานหรือลูกจ้างซึ่งถูกดำเนินคดีหรือดำเนินการทางวินัยจะกระทำได้เมื่อการดำเนินคดีหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นสิ้นสุดลงแล้ว
ให้โอนเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำและเงินต่าง
ๆ ที่จ่ายควบกับเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างของฝ่ายวิชาการและพัฒนาที่อยู่อาศัย
การเคหะแห่งชาติ ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานตามวรรคหนึ่ง ไปเป็นของสำนักงาน
การเปลี่ยนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะสังกัดเดิมเลิกจ้าง
และให้ถือว่าระยะเวลาทำงานในขณะที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของการเคหะแห่งชาติเป็นระยะเวลาที่ทำงานให้แก่สำนักงาน
มาตรา
๗๒ ในวาระเริ่มแรกเมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นกรรมการ
และให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมือง การเคหะแห่งชาติ
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะกรรมการนโยบายตามวรรคหนึ่งและผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมือง การเคหะแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายและเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายหรือเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการนโยบายตามวรรคหนึ่งและผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมือง การเคหะแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายและเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายหรือเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
........................................
นายกรัฐมนตรี