วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การเปลี่ยน ecosystem ของกฎหมายเพื่ออำนวยให้เกิด digital government ปกรณ์ นิลประพันธ์

เรื่อง E-government นี่บ้านเราพูดถึงกันมานานเป็นสิบปีแล้ว มีการพูดถึง E นั่น E นี่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น E-license E-permit E-bill ฯลฯ แต่จนบัดนี้ E ก็ยังไปไม่ถึงไหน จนเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะทำฝันให้เป็นจริงสักทีจึงระบุไว้ชัดเจนไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ข. (1) ว่า "ให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน" 

เมื่อรัฐธรรมนูญส่งเสริมไว้ดังนั้น ทุกหน่วยงานต่างก็ขมีขมันฝันใฝ่ที่จะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น ฝันถึง Digital Government ฝันถึง Big Data กันเลยทีเดียว ไม่เอาแล้ว E 

ข้างเอกชนก็เริ่มไปไกล มี Digital Banking ที่ทำให้การซื้อขายออนไลน์มียอดพุ่งกระฉูดมาก ในช่วงโควิดนี่ยิ่งเห็นชัดว่าเอกชนไปไกลขนาดไหน อย่างสั่งอาหารออนไลน์นี่ พอ place order แล้วเรารู้เลยว่าใครจะขับรถมาส่งของ รถอะไร ทะเบียนอะไร หน้าตายังไง บัดนี้คนส่งของนั่งรออยู่ที่ร้านแล้ว อาหารเสร็จและคนขับรับของออกมาแล้ว คนส่งของขับมาถึงไหนแล้วปรากฏในแผนที่แบบ real time มอไซด์จอดปุ๊บ เราเปิดประตูออกไปรับของพอดี ไม่ต้องไปยืนรอให้เมื่อยตุ้มและยุงกัด 

แต่บริการของภาครัฐยังไม่ถึงไหน ขนาดคณะรัฐมนตรีมีมติสองครั้งสามครั้งจนเหนื่อยแล้วว่า ต่อไปนี้ห้ามหน่วยงานของรัฐเรียกเอกสารที่ทางราชการออกให้ จากประชาชน ว่าง่าย ๆ คือเวลาไปติดต่อราชการนี่ ห้ามเรียกสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบเกิด สำเนาทะเบียนรถ ฯลฯ จากประชาชนผู้ไปติดต่อราชการแล้วนะ แต่จนบัดนี้เคาน์เตอร์บริการประชาชนของหลายหน่วยก็ยังคงเรียกอยู่ อ้างว่าไม่รู้บ้าง พอเอามติคณะรัฐมนตรีไปให้ดูก็ย้อนว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ใช้บังคับกับท้องถิ่น มีงงกันไปหลายคนแล้ว บ้างก็บอกว่ากฎระเบียบยังไม่ได้แก้ไข นายยังไม่ได้สั่ง ฯลฯ มันน่าเหนื่อยไหมล่ะ ดีนะที่ยังไม่ได้ยินคำตอบว่าเมียนายยังไม่ได้สั่ง แบบนี้คงมีหงายหลังตกเก้าอี้กันบ้าง 

แหม..ผู้เขียนเองเป็นข้าราชการก็ยังเจอข้ออ้างแบบนี้เลยครับ แล้วชาวบ้านร้านช่องจะเหลือหรือ 

นี่คณะรัฐมนตรีมีมติย้ำแล้วย้ำอีกให้ปลัดกระทรวงไปสื่อสารกับหน่วยบริการให้เข้าใจและปฏิบัติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีและปลัดท่านก็ออกหนังสือสั่งการกันไปหลายรอบแล้วนะครับ แต่ก็ยังมีร้องเรียนมาไม่น้อยว่ายังไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ... Tone from the Top ชัดเจนครับ แต่ไปไม่ถึง grass roots ...  

แต่จะว่าไป ข้อแก้ตัวที่ว่ากฎระเบียบยังไม่ได้แก้ไขก็ฟังดูมีเหตุผลนะครับ เพราะระบบราชการเราต้องทำงานตามกฎระเบียบ เนื่องจากหน่วยตรวจสอบเขาว่าตามกฎระเบียบเคร่งครัดแบบชัดเป๊ะ ดังนั้น ถ้าไม่ตรงตามกฎระเบียบละก็ชีวิตข้าราชการจะมีปัญหาแม้ว่าจะมีเจตนาดีก็ตาม 

ผู้เขียนว่าประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่า ecosystem ทางกฎหมายและระบบตรวจสอบของเรานั้นมันไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิด Digital service อย่างกฎระเบียบที่ออกตามกฎหมายต่าง ๆ ล้วนตราขึ้นบนฐานคิดเดิมที่เป็น paper base เอะอะก็ต้องมายื่นเอกสาร (กระดาษ) ต่อทางราชการ ดังจะเห็นได้จากกฎหมายจำนวนมากกำหนด "ค่าคำขอ" ไว้ด้วย สามบาทห้าบาทก็เอา เมื่อสมัยห้าสิบปีมาแล้วมันก็คงใช่อยู่หรอก แต่เดี๋ยวนี้มันใช่หรือเปล่าคงต้องทบทวน การยื่นคำขอและเอกสารประกอบก็ต้องมายื่นด้วยตนเอง เสียเวร่ำเวลามาครึ่งค่อนวัน (หรือทั้งวัน) หลายเรื่องต้องยื่น 4 ชุด 5 ชุด ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรนักหนา ชาวบ้านที่ไหนจะมีเครื่องถ่ายเอกสารที่บ้านเล่า แถมเอกสารประกอบคำขอส่วนใหญ่ก็เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ แต่ชาวบ้านต้องถ่ายเอกสารไปให้พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย ก็หน่วยงานของรัฐด้วยกัน ติดต่อกันเองไม่ได้หรือ ไหนว่า online ทั่วประเทศแล้ว ฯลฯ  ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีสมมุติฐานว่าเราต้องปรับเปลี่ยน ecosystem ทางกฎหมายให้เอื้อต่อการพัฒนา digital service

แล้วจะเปลี่ยนยังไงดี? 

ผู้เขียนเห็นว่าถ้าจะใช้วิธีแบบคลาสสิค คือ แก้กฎหมาย กฎ ระเบียบ เป็นรายฉบับ คาดว่าคงใช้เวลาหลายร้อยปีเพราะกฎหมายบ้านเราเกือบทั้งหมดใช้ระบบอนุญาต (จนกระทั่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญถึงต้องวางหลักไว้ในมาตรา 77 ว่าให้ใช้ระบบอนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น) จึงคิดว่าถ้าทำเป็น "กฎหมายกลาง" สักฉบับเดียวได้ก็คงจะทำได้เร็วขึ้น และเรื่องที่ต้องเปลี่ยนโดยเร็วที่สุดมี 2 เรื่องดังนี้ ไม่งั้นเดินหน้าไม่ได้แน่ ๆ 

 (1) การขออนุมัติอนุญาตและการอนุมัติอนุญาตทั้งหลายบรรดามีตามกฎหมายต่าง ๆ นั้น นอกจากจะไปยื่นกันด้วยตัวเองตามเดิมแล้ว ต้องเปิดให้ยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย และต้องเขียนให้ถือว่าการยื่นคำขอและการอนุมัติอนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นแล้ว อันนี้ปลดล็อคแรก 

(2) ให้การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทั้งภายในและภายนอกต้องสามารถกระทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย ให้หน่วยงานของรัฐรับส่งข้อมูลที่อยากได้มาดูเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตระหว่างกันเอง  เพื่อลดภาระและต้นทุนของประชาชน

ผู้เขียนเชื่อว่าเจ้ากฎหมายกลางเพื่อเปลี่ยน ecosystem ของกฎหมายไทยเก่า ๆ จำนวนมากนี้คงจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งเพื่อทำให้ระบบกฎหมายไทยเอื้ออำนวยให้เกิด digital government ขึ้นให้ได้ในทุกมิติ

ที่สำคัญการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้นี่จะช่วยทำให้ข้าราชการทำงานง่ายขึ้น ไม่ต้องจมอยู่กับกองเอกสารให้เป็นโรคภูมิแพ้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนและภาระของประชาชน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย

ถ้าเห็นด้วย ผู้เขียนและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้ยกร่างกฎหมายตามหลักการดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโดยด่วนครับ 

ประเทศอื่นเขาไปไกลมากแล้ว. 


วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

“ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจผ่าน Urban revitalization” ปกรณ์ นิลประพันธ์

 ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่เชื่อโดยสุจริตว่าโลกหลังโควิดจะเป็นโลกที่ไม่เหมือนเดิม และทุกภาคส่วนต้อง “ปรับตัว” ให้อยู่กับ “ความไม่เหมือนเดิม” นี้ให้ได้ ผู้เขียนจึงเชื่อว่าความพยายามที่จะทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม กลับไปเหมือนที่เคยเป็นอยู่ก่อนโควิดเป็นอะไรที่สวนกระแส เป็นไปไม่ได้ และเป็นการลงทุนที่อาจจะสูญเปล่า 

อย่างไรก็ดี การช่วยเหลือเฉพาะหน้าก็จำเป็นต้องทำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ถึงขั้นจะใช้ข้อมูลสถิติปีที่แล้วเป็น benchmark เลยนั้นผู้เขียนเห็นว่ามันก็เกินไป ที่เกินไปเพราะเพราะบริบทไม่เหมือนเดิม แตกต่างอย่างสิ้นเชิง อัตราการบริโภคหดตัวทุกประเทศ กำลังการผลิตก็ลด ราคาน้ำมันงี้ดิ่งเหวเลย จะเทียบกับปีก่อนได้ยังไง แต่ก็เห็นทำเทียบกันอยู่เรื่อย ไม่รู้ทำไมไม่คิดจะตั้ง benchmark ที่เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่างจากปีก่อนอย่างสิ้นเชิงบ้าง แล้วก็พูดกันว่าปีนี้แย่กว่าปีก่อน มันก็แหงละครับ

ก่อนโควิด กำลังการบริโภคมีอัตราเร่งที่สูงมากจากลัทธิบริโภคนิยม กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว สำหรับความรุ่งเรืองของระบบเศรษฐกิจของบ้านเราที่พันไปถึงความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมด้วยนั้น พึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 60 รวมกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่น่าตื่นเต้นถึงกว่าปีละ 40 ล้านคน แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะทรงพระราชทานคำสอนในการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนไว้ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้พวกเราแล้วว่า การดำรงชีวิตนั้นต้อง (1) มีเหตุผล (2) พอประมาณ และ (3) มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แต่ผลตอบแทนที่ได้รับ  เวลานั้นทำให้คนส่วนใหญ่ละเลยคำสอนอันล้ำค่า มีการขยายการลงทุนในกิจการที่ “ต้องพึ่งพาคนอื่นมาก ” จนไม่มีการคิดถึง “ความเสี่ยง” ที่ว่าถ้าวันหนึ่งคนอื่นเขาไม่สั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา เราจะอยู่ได้อย่างไร 


เมื่อเกิดโควิด ความเสี่ยงที่ว่านี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาและส่งผลกระทบอย่างรุนแรง อย่างกิจการสายการบินที่เฟื่องฟูมากมายเดินทางมาถึงวันที่ต้องเสี่ยงกับการล้มละลายเพราะการกำกัดการเดินทาง  ธุรกิจสร้างเครื่องบินโดยสารกลายเป็นธุรกิจที่แทบจะไม่มีอนาคต ธุรกิจโรงแรมที่เปิดกันทั่วทุกหัวระแหงต้องปิดตัวลง โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกจำนวนมากต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานในธุรกิจ รวมทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แต่การช๊อคทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนี้เกิดขึ้นในทุกแห่งทั่วโลก มิได้จำกัดเฉพาะในประเทศไทย โดนกันทั่วหน้าว่างั้น อย่างญี่ปุ่นนี่ GDP ดิ่งลงถึง -21% โดยประมาณ


นี่ยังไม่รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการเมืองระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อพิพาทที่ใช้กำลัง (arm conflicts) ซึ่งจำกัดทั้งขอบเขตและคู่กรณีนั้นมีน้อยลง แต่มีการตอบโต้กันด้วยมาตรการที่ไม่ใช่อาวุธมากขึ้น โดยเฉพาะการแทรกแซงทางการเมืองโดยผ่านตัวแทน และการตอบโต้กันทางการค้าของของประเทศมหาอำนาจอันเป็นอุปสรรคต่อการขายสินค้าและบริการทั่วโลก สภาพบังคับโดยอ้อมทำให้ประเทศเล็กประเทศน้อยต้อง “จำใจเลือกข้าง” แต่เมื่อเลือกข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะถูกแทรกแซงจากอีกข้างหนึ่งทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม และการพิพาททางการค้าอย่างหนักนี้เองที่ทำให้ประเทศใหญ่น้อยต้องกลับมาเริ่มสั่งสมอาวุธทำลายล้างสูงไว้เพื่อเป็น “เครื่องมือต่อรอง” ในเวทีเจรจาต่าง  กันอีกครั้ง


ในทัศนะของผู้เขียน แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกลับไปสู่สภาวะเดิมก่อนโควิด จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงนี้และปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องความเป็นจริง ลดการพึ่งพาการส่งออก และทิ้งตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในอดีตไว้เป็นความทรงจำที่ดี เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นอีกในอนาคตแม้จะมีวัคซีนป้องกันโควิดเกิดขึ้นก็ตาม


เรื่องที่จะชวนคิดคือเราจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างไร


ผู้เขียนไม่มีความลึกซึ้งในวิชาทางเศรษฐกิจนัก แต่สนใจเรื่องการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม  กันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก เป้าหมายมิใช่การเน้นการสร้างความมั่งคั่ง (Wealth) แต่เน้นการสร้างความแข็งแรงและความสุขของคนในระดับครอบครัวและระดับชุมชน ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าครอบครัวและชุมชนเข้มแข็ง จะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติในภาพรวมเข้มแข็งได้ในที่สุด


วิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ Urban Revitalization หรือการทำให้ชุมชนต่าง  กลับมา “มีชีวิตชีวา” อีกครั้งหนึ่ง ที่ผ่านมานั้นความเจริญกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้คนทิ้งถิ่นฐานเขามาทำงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในเมือง ชุมชนต่าง  ในเมืองรองเมืองเล็กเหลือแต่ผู้สูงอายุและเด็ก ความมีชีวิตชีวาของชุมชนเลือนหายไปโดยปริยาย ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมให้หมุนเวียนได้เพราะขาดพลัง หลายประเทศใช้ Urban Revitalization เป็นเครื่องมือในการฟื้นระบบเศรษฐกิจใหม่ ให้คนที่กลับบ้านซึ่งมีความรู้จากเมืองใหญ่ติดตัวไป นำความรู้ไปใช้พัฒนาชุมชนให้เกิดการพัฒนา รวมทั้งคนที่หนีความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ไปใช้ชีวิตในชนบท ใช้ความรู้ ความหลงใหล และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ชุมชนเดิมที่เงียบหงอยให้กลับมามีชีวิตชีวา และสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ใกล้จะหายสาบสูญให้กลับคืนมาอีกครั้ง น่าสนใจมากครับ


แต่วันนี้เหนื่อยมาก วิ่งไปวิ่งมาจนเวียนหัว


ไว้เขียนต่อก็แล้วกัน …

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

“ทำไมน้ำไม่ไหลลงเขื่อน” ปกรณ์ นิลประพันธ์

ช่วงนี้เป็นหน้าฝน ฝนตกทีไรรถติดทุกที เมื่อยแล้วเมื่อยอีกกว่าจะถึงบ้าน ให้หวนคิดถึงตอนเป็นเด็ก  ฝนตกที่ไรเป็นต้องกระวีกระวาดออกไปรองน้ำใส่ตุ่มไว้กินเพราะประปาเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนยังไม่ทั่วถึงและมีคุณภาพอย่างทุกวันนี้ 

ที่ผู้เขียนชอบงานนี้เพราะได้เล่นน้ำฝนด้วยนี่แหละ มันสนุกมากเลยขอบอก เย็นสบาย จำได้ว่าวันไปฟังผลสอบตอนจบ . 6 ผู้เขียนกับเพื่อนเล่นบอลพลาสติกท่ามกลางสายฝนกันจนฝนหยุด แล้วจึงแยกย้ายกันไปตามทาง แต่เด็กเดี๋ยวนี้พ่อแม่ไม่อยากให้โดนฝนเท่าไร กลัวลูกจะป่วยไข้ไม่สบายไปเสีย เลยอดเล่นน้ำฝนส่วนใหญ่ จึงไม่รู้ว่ามันสนุกยังไง 

ยิ่งในสวนนะ ฝนตกทีไร ปลาหมอจะแถกขึ้นมาบนถนน บนคันสวน ให้จับไปทำอาหารกินเป็นประจำ เอาไปเผานะ หอมมาก เนื้อเหลือง  จิ้มน้ำปลากินกับข้าวสวยร้อน  ก็มีความสุขมากมายแล้ว ไม่มีฟู้ดดิลิเวอรี่อย่างเดี๋ยวนี้

สะดุ้งตื่นเพราะรถคันหลังบีบแตรไล่จึงทำให้ได้ยินข่าววิทยุ เขาประกาศว่าช่วงนี้ฝนตกหนักทั่วทุกภาคของประเทศด้วยอิทธิพลของพายุอะไรสักอย่าง มีน้ำท่วมขังรอการระบายอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ พัทยาเองที่เป็นพื้นที่ติดทะเลก็ท่วมขังแบบมิดหลังคารถเมื่อฝนตก ท่วมขังบ่อยจนกระทั่งหลายคนเริ่มชิน รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ฝนตกก็เลี่ยงทางนั้นเสียก็แล้วกัน 

รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง ว่างั้น

ที่สะกิดใจผู้เขียนมากก็คือข่าวบอกว่าแม่ฮ่องสอนก็ท่วม ทางขึ้นดอยอินทนนท์อันเป็นดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทยก็ท่วม ไล่เรื่อยลงมาจนสุโขทัย และทางการก็ประกาศว่าพี่น้องแถว  ภาคเหนือตอนบนทั้งลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำยมต้องระมัดระวังน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก หลายพื้นที่ท่วมหนัก ชาวบ้านร้านตลาดอพยพไม่ทัน ได้รับความเดือดร้อนเสียหายกันไปตาม ๆ กัน ยิ่งในช่วงโควิดนี่น้ำท่วมยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบากหนักเข้าไปอีก รัฐเองก็ต้องใช้งบประมาณในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจากเหตุน้ำท่วมน้ำแล้งสลับกันไปอย่างนี้จำนวนมากทุกปี นักวิชาการเขาถึงบอกว่า climate change และการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้คิดในองค์รวมนี่ “ไม่ยั่งยืน” และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมทั้งสังคมรุนแรง ยิ่งประเทศยากจนยิ่งหนัก เพราะงบประมาณก็น้อยอยู่แล้ว จะเจียดที่ไหนมาจ่าย ปัญหาก็จะบานปลายไปที่ระบบการเมืองการปกครองด้วย

เริ่มไปไกลแล้ว กลับมาเข้าเรื่องน้ำท่วมภาคเหนือบ้านเราต่อดีกว่า ผู้เขียนเข้าไปดูข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในเวปไซต์  https://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html  กลับปรากฎว่าเขื่อนในภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนไม่มากนัก ทำให้มีน้ำใช้การได้จริงน้อยจนน่าเป็นห่วง เขื่อนในภาคอื่นก็เจอสถานการณ์เดียวกัน ปีหน้าจะเหลือน้ำพอใช้ทั้งปีหรือเปล่าก็ไม่รู้

คำถามคือทำไมน้ำไหลลงเขื่อนน้อยทั้ง  ที่น้ำท่วมขังไปทั่วแทบทุกจังหวัดอย่างนี้ ที่สงสัยก็เพราะจุดที่สร้างเขื่อนแต่เดิมนั้นก็เป็นจุดรับน้ำอยู่แล้ว ทำไมน้ำไม่ไหลไปลงเขื่อน ดันผ่าไหลไปทางอื่นให้ชาวบ้านเดือดร้อน

ผู้เขียนเห็นว่าการโทษดินฟ้าอากาศแปรปรวนอย่างเดิม ๆ คงไม่อาจอธิบายเรื่องนี้ได้ตรงประเด็นนัก คงต้องมาดูตัวเองด้วยว่าเรามีส่วนที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อนด้วยหรือเปล่า กลับมาดูข่าวทีวีที่บ้านกี่ที่กี่ที่ก็เห็นน้ำท่วมพัดผ่านถนนหลวงอย่างแรง ไหลเป็นน้ำตกเชียว และทำให้ถนนขาดเป็นช่วง  การสัญจรไปมาถูกตัดขาดชั่วคราว เลยแอบมาคิดว่าตอนสร้างถนนที่ผ่าน  มาเราดูฮวงจุ้ยทางน้ำไหลด้วยหรือเปล่าเพราะดูเหมือนว่าถนนจะกลายเป็นเขื่อนที่คอยกั้นน้ำให้ไหลไปในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้ และนี่เป็นเหตุที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อนที่สร้างไว้หรือเปล่า

นี่ยังไม่รวมเสรีภาพในการ “ถมที่” ของเราทุกคนด้วยนะที่ทำให้ความสูงต่ำของพื้นที่ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างบ้านของผู้เขียนเองนี่ถ้าดูเส้นชั้นความสูงของพื้นที่ (contour line) ตามแผนที่ของทางราชการเขาบอกว่าอยู่ที่ระดับ 1.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บังเอิญเป็นสวนเก่ามีบางส่วนที่ยังไม่เคยถม เลยสันนิษฐานเอาเองว่าสวนตรงที่ไม่ได้ถมนั่นแหละคือ 1.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พอไปวัดเทียบกับส่วนที่ถมขึ้นมา พบว่าถมสูงกว่า 3 เมตร

เมื่อไปเทียบกับถนนปัจจุบัน ปรากฏว่าพื้นถนนปัจจุบันถมขึ้นมาสูงกว่าสวนเก่าที่ใช้เป็นจุดยึดโยงในการเปรียบเทียบถึงสองเมตรแก่  ทีเดียว ซึ่งถนนปัจจุบันนั้นปรับปรุงมาหลายครั้งมาก ทำถนนแต่ละครั้งมันก็สูงขึ้นเรื่อย  บ้านเก่าของผู้เขียนเองก็เคยโดน จากบ้านสองชั้น เขามาทำถนนเสียสูงลิ่ว ชั้นสองสูงเสมอถนน ชั้นล่างกลายเป็นห้องใต้ดินไปเลย เวลาฝนตกน้ำก็มาขังในบ้านเรา เลยต้องถมที่ให้สูงกว่าถนน เฮ้อ!

ที่เล่ามาก็เพียงแต่จะชวนคิดครับว่าปัจจัยที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อน แล้วท่วมขังไปจนหาทิศทางไม่ได้ รวมทั้งน้ำแล้งด้วยนั้น จะไปโทษดินฟ้าอากาศอย่างเดียวแบบเดิม  คงไม่ได้ มันคลาสสิคเกินไป เราคงต้องมาทบทวนทิศทาง “การพัฒนาเมือง” เสียใหม่ไปพร้อม  กันด้วย 

เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่าง “ยั่งยืน” ได้จริง  ครับ.

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เกร็ดการร่างกฎหมาย 17 : ดอกพุดตาน

วันนี้ออกจะสุนทรีสักหน่อยหลังจากวุ่นวายจากการประชุมหลากหลายสถานที่ และหลากหลายประเด็น กลับมาเห็นดอกไม้ที่ซื้อมาไว้ในห้องทำงานทั้งมัมสไปเดอร์ และโกลบธีสเซิ่ล ก็ให้ชื่นใจหายเหนื่อยนัก 

ว่าแล้วก็ลงมือตรวจแฟ้มร่างกฎหมายตามปรกติ

แฟ้มสุดท้ายของค่ำวันนี้เป็นร่างกฎกระทรวงเครื่องแบบพิเศษของหน่วยราชการแห่งหนึ่ง ที่ว่าเป็นเครื่องแบบพิเศษก็เพราะข้าราชการพลเรือนนั้นมีเครื่องแบบปกติอยู่แล้วคือชุดกากีซึ่งคงจะดูเหมือนกันมากไป บางหน่วยงานเขาจึงต้องการให้มีเครื่องแบบพิเศษขึ้น เพื่อเวลาไปปฏิบัติงานจะได้รู้ว่าใครเป็นใคร จินตนาการตามไปด้วยว่าแต่งชุดอย่างนี้แล้วคงดูขลังดีเหมือนกัน แต่ต้นทุนคงไม่น้อยเพราะทั้งกรมต้องตัดชุดกันใหม่ ต้องซื้อเครื่องหมายกันใหม่ เงินเดือนก็เท่าเดิม ช่วงโควิดเสียด้วย

เพลิดเพลินไปกับการบรรยายลักษณะของเครื่องแบบว่าต้องมีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ไปสะดุดอยู่กับคำบรรยายของว่าอินทรธนูต้องปักด้วยดิ้นทอง “ลายดอกพุดตานต่อดอกเต็มแผ่น” ดอกไม้มาอีกดอกแล้ววันนี้ ภาพดอกพุดตานวาบขึ้นมาทันใด ปลื้มปรีดิ์เปรมยิ่งนัก 

ตรวจเสร็จแล้วเอาแฟ้มไปคืนเพื่อดำเนินการต่อไป จึงถามน้อง  ว่าทำไมอินทรธนูต้องเป็นลายดอกพุดตานด้วย ทุกคนทำหน้างงเหมือนกันหมด ก็เห็นเขียนอย่างนี้จึงล้อตามกันมา พี่จะสงสัยอะไรกันวันนี้ เย็นค่ำแล้ว

ตอนแรกว่าจะเล่าให้ฟังเฉย  แต่ก็กลัวจะขาดการสืบทอดกันต่อไป จึงขอเฉลยเป็นบทความอย่างนี้ก็แล้วกัน เผยแพร่ในเว็บไซต์ ด้วยอยู่ทนนานนัก องค์ความรู้จะได้ไม่กระพร่องกระแพร่งอย่างที่ผ่านมาอีก และจะได้ลืมคำว่า “แบบ” เสียที

อันว่าลายดอกพุดตามนั้นเป็นลวดลายดอกไม้ที่นิยมมากมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 3 ครับ จริง  เขาหมายถึงดอกโบตั๋น” แต่ออกเสียงตามสำเนียงชาวจีนตอนใต้เป็น “พุดตาน” “ฝู่กุ้ย” ก็เรียก ตามธรรมเนียมจีนนั้นเขาถือว่าโบตั๋นเป็นดอกไม้มงคล เป็นราชินีแห่งดอกไม้ เริ่มมาตั้งแต่ราชวงศ์ซ่ง แสดงให้เห็นถึงความมีฐานะสูงส่งและความร่ำรวย ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามและสตรีด้วย ใครสวยมากเขาก็จะเปรียบเทียบว่าสาวเจ้าเป็นดอกโบตั๋นที่แสนจะบริสุทธิ์ผุดผ่อง

เดิมก่อนหน้านั้นบ้านเราก็เคยมีลายดอกโบตั๋นใช้อยู่บ้างในโบราณสถานและวัดวาอารามต่าง  แต่ก็ไม่แพร่หลายนัก สู้ลวดลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ กับลายแผงกุดั่นดอกลอย ที่นิยมมาแต่ครั้งกรุงเก่าไม่ได้ จนเมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้แต่งสำเภาไปค้าขายกับเมืองจีน พร้อม ๆ กับการที่ชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จึงทำให้ลายดอกโบตั๋นหรือพุดตานเข้ามามีอิทธิพลในศิลปะไทยมากขึ้น ที่เห็นกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นถ้วยโถโอชามที่นำเข้าจากจีน 

ถ้าใครสนใจศิลปะ ให้ตามไปดูที่วัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 จะพบว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนมาก อย่างลายดอกพุดตานนี่ดูที่หน้าบันพระอุโบสถวัดราชโอรสอันเป็นวัดประจำรัชกาล หรือที่วัดเฉลิมพระเกียรติก็ได้ครับ ดอกใหญ่มากทีเดียว สีสรรสดใสมาก

สำหรับอินทรธนูประกอบเครื่องแบบนั้นถือเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงฐานะหรือลำดับชั้นของข้าราชการ จึงมีการนำลายดอกพุดตานมาประยุกต์เป็นลายประดับที่อินทรธนู ซึ่งตรงกับความหมายของดอกโบตั๋นของจีน ชั้นผู้ใหญ่ก็จะมีลายดอกพุดตานต่อดอกเต็มแผ่นปักด้วยดิ้นทอง ตำแหน่งใหญ่น้อยลดหลั่นกันก็จะมีดอกพุดตามประดับอินทรธนูน้อยดอกลงไปตามลำดับ

นี่ถ้าเขียนตาม  กันไปเรื่อย  ชีวิตก็คงยังไม่รู้แหละว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง

นักร่างกฎหมายต้องขี้สงสัยครับ แต่ขี้สงสัยไม่พอ ต้องหาคำตอบด้วย แล้วจะรู้ว่าทุกเรื่องมันมีที่มา ไม่ใช่แค่แบบอย่างที่เข้าใจกัน 

ถ้าแค่ตรวจแบบ ไม่ต้องใช้นักกฎหมายมาทำหรอกครับ เดี๋ยวนี้ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจก็ได้แล้ว

จริงไหมล่ะ?

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Excise stamps- who should pay for proof of duty paid? Dr. Nadtara Bott


Excise stamps- who should pay for proof of duty paid?

Dr. Nadtara Bott
Krisdika Officer, 
Office of the Council of State

          There is nothing certain in life, except for death… and tax.

          Anyone who has ever purchased a product subject to excise duty in Thailand will have seen a quaint strip of paper over the lids of alcohol bottles, or one attached to the opening of a cigarette packet. Personally, I find these intriguing and reminiscent of a bygone era of imperialist bureaucracy. I viewed them as a sign of legitimacy, and a guarantee of the authenticity of the product. That was my view until I learned that the Thai Government is due to incinerate 27 million Baht’s worth of these stamps in their plan to reform the existing excise stamp system and replace them with a new design. Surely, this shouldn’t be a burden on taxpayers? How do other countries approach the system of excise stamp collection?

A short history of the use and purpose of excise stamps

          The use of “stamps” or a seal to denote tax paid has existed since the dawn of civilisation. Archeologists have found ancient Egyptian artefacts originating from the time of 3000 BC in the form of ivory labels to attach to goods and at times, hieroglyph inscription on pottery containers to denote that tax had been paid.[1] The origin of tax stamps in the form of paper adhesive labels dates back to 1637 when Spain first introduced stamped paper.[2] The first and main purpose is proof of payment of tax on goods. Use of excise stamps became widespread in the 19th century as a method of streamlining bureaucratic measures.[3] In time, the second purpose of excise stamps came to be that consumers could be assured of the authenticity of the product. This second purpose became instrumental for some Governments such as those of Russia and Brazil to control and limit the existence of counterfeit goods as well as tax evasion.[4] Thirdly, an underlying purpose for excise taxation and the accompanying use of excise stamps is to provide a measure of health control to dissuade consumers from indulging in consumer goods considered bad for health.[5]

          In the 21st century, the use of physical stamps has become less common as computerization has become a more popular means of tracking excise tax payments. Tax stamps are used by regulators in approximately fifty countries globally.[6] For countries that retain their use, physical excise stamps have evolved to become more sophisticated. Use of holograms, UV- only visible ink is used to prevent counterfeiting for avoidance of tax. Anti- counterfeiting print technology such as barcodes and serial numbers have also been issued for the purpose of tracking and tracing. Data processing capabilities and mobile communications have allowed products to be marked in-line during production with their own unique codes, recorded in a database. The codes may then be used to verify the product in remote locations and provide key data on source, destination and authenticity. As an example, Spain implemented the digital management of excise stamps allowing producers and traders to “activate” and “deactivate” excise stamps remotely. Thus, use of technology such as serial numbers has given a fourth and final purpose for the use of physical stamp duty for producers of taxable goods to accurately track and predict supply chain data.

The Thai excise stamp system.

          The levy of excise tax in in Thai law is governed by the Excise Tax Act, B.E. 2560 (2017). The modern legislation consolidates all previous pieces of legislation governing excise tax on goods and services which the State deems that consumption must be controlled as such may cause damage to human health or impact the morality of the people. This includes such obvious goods such as alcohol and tobacco, as well as less obvious goods such as playing cards, and also non-essential goods, and goods and services that receive special benefits from State businesses.[7] Section 4 defines “excise stamps” simply as “a stamp prepared or procured by the Government for use in the collection of tax under this Act”.

          The excise stamp system in Thailand is administered according to Ministerial Regulations and Rules enacted under this main legislation, and the design of the stamp is legislated by ministerial regulation, with colour – coding to identify the type of products and are equipped with a watermark and incised printing. The new Ministerial Regulations were proposed to consolidate and simplify the categorization of taxable goods, as well as to improve security features and to provide a system for tracking and tracing goods via QR code and barcodes. In practice, manufacturers of goods obtain stamps upon payment of tax and affix these Government- issued stamps on their products prior to removal from the bonded warehouse. Section 67 of the Excise Tax Act provides that “No person other than the Excise Department shall make or procure excise stamps or official tax payment marks” thus putting the onus solely on the State revenue to pay for and manufacture physical excise stamps. With the issue of the newly- designed stamps, the previous versions will, in the interest of tax collection and accountability, need to be destroyed. - All using Government funds, footed by tax payers. What about other countries? Who foots the cost of proving that tax has been paid?

Who bears the cost of producing excise stamps in other countries?

          A brief research of World Health Organisation (WHO) data[8] has found the use of paper excise stamps still prevalent in Southeast Asian countries including Cambodia[9], Indonesia[10], Lao PDR[11], Malaysia[12], Thailand and Vietnam[13]. Other countries still using physical tax stamps include Canada[14], Colombia[15], Russia[16], Turkey[17], Ukraine,[18] and Spain[19]. Out of these countries, only in Indonesia, Thailand and Vietnam does the Government solely bear of costs of manufacturing stamps. In remaining countries such as Cambodia, Lao PDR, Malaysia and Canada for example, licensed manufacturers and importers are either solely or partially responsible for the cost of excise stamps and to affix them onto their products. In recent years, the main argument for strict Government involvement in the design and issue of excise stamps is the sophistication and technology used in their design. This is to prevent the counterfeiting of stamps in avoiding the payment of tax and therefore, to ensure that the State maintains effective collection of tax revenue. Additionally, it is argued that the State should also maintain control over the manufacturing of excise stamps to prevent the counterfeiting of goods on products themselves, to protect consumers from harm.

Alternative excise stamp schemes.

The United Kingdom: Label incorporation.

          In the United Kingdom, two types of excise stamps exist by virtue of Schedule 2A of the Alcoholic Liquor Duties Act 1979 and the Duty Stamps Regulations 2006. The implementation of tax stamp technology was subject to an EU tender process and the supplier is supervised by the Her Majesty Revenue and Customs (HMRC) procurement section. A traditional stamp may be attached directly to the bottle, or alternatively, the “UK DUTY PAID” mark may be incorporated into bottle labels and printed by the industry’s own label printers. As of July 2020, the latter is found to be more prevalent in the UK market. The producers or manufacturers of payable goods register with the HM Revenue and Customs (HMRC) to receive the design and printing specifications of the excise stamp mark that is to be incorporated onto the product label. Producers and manufacturers also receive serial numbers based on the forecast of the amount of goods to be manufactured and bear the costs of both types of excise stamps.

Singapore: cigarettes

          For proof of duty paid for cigarettes, the Customs Act of 2009 of Singapore prescribes that individual sticks of duty-paid cigarette are marked with the letters “SPDC” (Singapore duty-paid cigarettes) with a ring of vertical bars underneath. Importers and manufacturers of cigarettes are required to obtain approval from Singapore Customs before importation or manufacture of new brands or variants of cigarettes meant for sale and consumption in Singapore. The costs of marking that duty has been paid is thus borne either by the manufacturers or importers.

Denmark: ‘fiscal cap’

          Excise tax stamps for wine were abolished in Denmark in 2001, with excise tax stamps for spirits to follow in 2015. Prior to this time, a traditional paper strip- type stamp was applied over the top of the lid of taxable alcohol, and an optional method was a specially stamped “fiscal cap” where manufacturers and producers, like in the United Kingdom, register with the Danish tax authority to receive the design and printing specifications of the excise stamp mark that is to be incorporated into the design of a secure cap. It was argued that in practice, the “bespoke complexities of operating the fiscal capping machinery meant that the vast majority of imported products used the paper strip version.”[20]

Conclusions for Thailand

          From a brief study of data on the usage of excise stamps, it is found that some countries have abandoned the use physical excise stamps due to a sense of antiquity, and the overburdening of manufacturing and production industries such as Denmark while others such as countries in Southeast Asia have come to revive the use of excise stamp to ensure efficient collection of payable tax, authenticity of goods and the protection of public health. Another country that has come to revive the use of excise stamps is the United Kingdom, which in 2006 introduced the stamp duty scheme for alcohol products in response to counterfeit goods, but unlike Thailand, the burden of cost of the stamps are placed on producers of taxable goods. Would it therefore, be better to let the manufacturing industry foot this cost?

          Studies on the cost- effectiveness of the use of excise stamps has shown varying conclusions.[21] In a 2018 study by Godden and Allen on the development of modern revenue controls on alcoholic beverages in 2018,[22] the use of excise tax stamps makes only a limited contribution to intended policy use goals of 1. Curbing tax avoidance and 2. Reducing the consumption of alcohol. The study concluded that the use of excise stamps should only be made alongside an efficient tax policy and regulatory enforcement framework. Additionally, in this study of 7 different countries including Denmark, Turkey, South Korea, UK, Kenya, Colombia and Morocco, the biggest concern was the costs involved that are borne by the alcoholic beverage industry itself.

          With a current lack of alternatives, it may be suggested therefore that in the case of Thailand, there is still perhaps a justification for the use of a system of excise stamps. The main reasons for this are to ensure the collection of payable tax and to maintain the State’s role in deterring the production of and policing counterfeit goods. It could be suggested that the cost of physical stamps might be shared by producers and manufacturers of taxable goods. However, there exists a concern that shifting the cost of manufacturing excise duty stamps to goods manufacturers may in turn, result in increased counterfeiting and/or shifting the burden of costs in turn to consumers. To counter this concern, if tracking technology can be incorporated into excise stamps and be shown to benefit the manufacturing industry, there could be more incentive on their part to share the costs of manufacturing excise stamps.
.




[1] Blanchard, G. (2015, July 01). Detail from the Sarcophagus of AnkhnesneferibreAncient History Encyclopedia. Retrieved from https://www.ancient.eu/image/3984/, https://www.ancient.eu/Egyptian_Hieroglyphs/
[3]  Gaidar, Ye. T., ed. (2003). The Economics of Transition. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology. p. 691
[4] Iglesias RM., (2016) Increasing excise taxes in the presence of an illegal cigarette market: the 2011 Brazil tobacco tax reform. Rev Panam Salud Publica. 2016;40(4):243–9,
[5] The World Health Organization (WHO) Framework Convention for Tobacco Control (FCTC) 
[6] Oxford Economics, (2017) The Development of Modern Revenue Controls on Alcoholic Beverages
[8]WHO, Duty paid or excise stamp by country, Last updated: 2018-09-04 https://apps.who.int/gho/data/view.main.55660
[9] Cambodian Law on Customs, 2006
[10] Law of the Republic of Indonesia number 39 of 2007
[11] Lao PDR’s Tax Law of 2005
[12] Malaysia Excise Act of 1976.
[13] Excise Tax Law No. 27/2008/QH12
[14] Excise Tax Act R.S.C., 1985, c. E-15
[15] Colombia Tax Reform Law of 2019 (Law 1943 - Tax Reform)
[16] Resolution number 319 "Introduction of excise stamps in the Russian Federation".
[17] Law No. 213, Official Gazette No. 10703 dated 10.01.1961)
[18]  Ukraine's presidential decree of 18 September 1995 "On approval of the excise duty on alcoholic beverages and tobacco products", Regulation of the Ministry of Incomes and Fees of Ukraine on Excise Stamps 2013
[19] Spain: Law on Taxation of Special Products and Services, (Excise Law)
[20] Euromonitor International. (2015). The illegal alcoholic beverages market in six Latin American countries 2014. Report commissioned for SAB Miller., Doug Godden and Elizabeth (Liz) Allen,(2018) “The development of modern revenue controls on alcoholic beverages” World Customs Journal, Volume 11, Number 2, at p.7,
[21] Hedley, D. (2012), Fighting Illicit Trade in Tobacco with Technology [Web blog]. Euromonitor International. Retrieved from http://blog.euromonitor.com/2012/12/fighting- illicit-trade-in-tobacco-with-technology-does-it-work.html, Sou, G., & Preece, R. (2013). Reducing the illicit trade in tobacco products in the ASEAN Region: a review of the Protocol to Eliminate Illicit Trade in Tobacco Products. World Customs Journal, 7, pp.65-91, Retrieved from http://www.worldcustomsjournal.org/
media/wcj/-2013/2/WCJ_V7N2_Complete_Journal.pdf
[22] Doug Godden and Elizabeth (Liz) Allen,(2018) “The development of modern revenue controls on alcoholic beverages” World Customs Journal, Volume 11, Number 2