วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

เกร็ดการร่างกฎหมาย 10: "อาจ" กับ "จะ"

นายปกรณ์ นิลประพันธ์[1]

                   “อาจ” กับ “จะ” นั้นเป็นภาษาไทยและมีใช้ในร่างกฎหมายอยู่มาก

                   หากพิจารณาอย่างผิวเผิน ทั้งสองคำนี้มีความหมายใกล้เคียงกันมาก โดยหมายถึงเรื่องที่ไม่แน่นอนในอนาคต แต่หากพิจารณาตามความหมายที่ให้ไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แล้ว ปรากฏดังนี้

                   “จะ” เป็นคำช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.

                   “อาจ” เป็นคำช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีกสิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.

                   ดังนั้น การใช้คำว่า “อาจ” หรือ “จะ” จึงขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้ตามนัยข้างต้น มิใช่คำที่ใช้แทนกันหรือใช้คำหนึ่งเป็นสร้อยของอีกคำหนึ่ง (อาจจะ) ดังที่ใช้กันต่อ ๆ กันมา

                   วันนี้คงมีสั้น ๆ เพียงเท่านี้ เพราะจะไปประชุม. แต่ถ้าฝนยังตกหนักอยู่อาจไม่ไปประชุม. เห็นความแตกต่างไหม.


                   ข้อมูลอ้างอิง
                   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554




[1]กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2558) อนึ่ง บทความนี้เป็นความเห็นทางวิชาการของผู้เขียน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น