วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567

โครงสร้างที่ต้องปรับเปลี่ยน โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

ติดตามข่าวสารรอบตัวรอบโลกแล้วให้นึกสงสารคนรุ่นใหม่นัก สถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ สังคม การบ้านการเมืองทั้งต่างประเทศในประเทศ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คน เปลี่ยนแปลงเร็วมากเสียจนยากที่จะคาดการณ์ได้ 

“การวางแผน” ตามตำรายุค 70s และ ”การกำหนด KPI หรือ OKR“ ในยุค 2000s กลายเป็นอะไรที่ล้าสมัยเพราะมันตายตัว การทบทวนแผน KPI OKR ปีละครั้งแบบดั้งเดิมมันไม่ทันกิน คงต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนบ่อยครั้งขึ้น อาจต้องลดเป็นไตรมาสละครั้งหรือเร็วกว่า เพื่อให้รับกับสถานการณ์ 

”งบประมาณ“ ที่วางกันล่วงหน้าคราวละปีก็อาจต้องปรับเหมือนกัน เดิมเคยคิดกันว่าจะเป็นงบสามปีห้าปี จะได้เกิดความต่อเนื่อง แต่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเช่นนี้ คงใช้แบบนั้นไม่ได้แล้ว ปีนึงน่าจะยังพอได้ แต่ต้องปรับวิธีการตั้งงบประมาณเป็นการให้เป็นก้อน ถ้าให้ระยะสั้นก็เพื่อ achieve target หรือถ้าระยะยาวก็ต้องเพื่อให้เกิด outcome ภายในกรอบเวลา ส่วนการใช้จ่ายงบประมาณก็ต้องมีความยืดหยุ่นภายในหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ใช่ใช้ตามกฎระเบียบ การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณก็ไม่ใช่ตรวจว่าถูกระเบียบไหม แต่ตรวจว่า achieve target หรือเกิด outcome ตามที่ขอรับงบประมาณไปใช้หรือไม่

“โครงสร้าง” แบบเดิม ๆ โดยเฉพาะระบบราชการต้องปรับอย่างเร่งด่วน ให้มีความอ่อนตัว ต้องเอื้อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในระบบ ทั้งคน เงิน ของ ได้อย่างคุ้มค่าทำงานตาม agenda ได้ ทำงาน cross functions ได้ ไม่ใช่ stand alone เหมือนที่ผ่านมา การรับคนเข้าทำงานคงต้องสนใจ skill attitude creativity และ collaboration ของบุคคล มากกว่าใบปริญญาหรือชื่อเสียงของสถานศึกษาที่เข้าเรียน เหมือนยุคก่อน ๆ work life balance จะเพิ่ม productivity การพัฒนาให้คนมี multi skill และ social skill จะช่วยให้การทำงาน cross functions มีประสิทธิผลมากขึ้น

“วิธีการทำงาน” มี hierarchical structure ได้ แต่กระบวนการทำงานต้องเร็ว ภายใต้ระบบการกลั่นกรองที่เหมาะสม ไม่ล่าช้าและมีคุณภาพ เงื่อนไขคือต้องมีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ การให้บริการผ่านระบบออนไลน์

“นโยบาย” ต้องคิดแบบ holistically คำนึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของทุกกลุ่มในสังคม ไม่ใช่พวกฉัน พวกเธอ แต่เป็น “พวกเรา” ซึ่งเป็นพหุวัฒนธรรม นั่นต้องพูดจากันด้วยเหตุผล รับฟังผู้อื่นที่แตกต่าง ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ต้องคำนึงถึงความผาสุกของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่อ้างประชาชนบังหน้าหรือเป็นตัวประกัน การจัดสรรทรัพยากรต้องเป็นไปตามความจำเป็นเร่งด่วนของเรื่อง และต้องเป็นธรรมไปพร้อมกัน

“การเมือง” อันนี้ไม่รู้ …

ผมแก่ใกล้จะปลดระวางแล้ว ก็คิดเทียบเอากับเมื่อสมัยยังเป็นคนรุ่นใหม่ราวสามสี่สิบปีก่อน มันช้ากว่านี้มาก ทำงานง่ายกว่ามาก พอทุกอย่างมันเร็วขึ้นผมก็เป็นรุ่นเก่าพอดี ทำงานยากขึ้น มีปัจจัยและตัวแปรต่าง ๆ มากมายขึ้น ที่บ่น ๆ มาก็คิดว่าถ้าช่วยกันเปลี่ยนบางอย่างได้ ก็จะทำให้พี่น้องประชาชนมีความผาสุกได้เท่านั้นเอง ไม่ได้ฝากอะไรให้ใครทำ เพราะที่บ่นมาอาจไม่เข้าท่าก็ได้

ก็ให้กำลังใจน้อง ๆ คนรุ่นใหม่ทุกคนในทุกภาคส่วนครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น