บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานบางประการ
ขององค์กรเอกชนในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานบางประการขององค์กรเอกชนในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรคุ้มครองการทดสอบหรือวิเคราะห์คุณภาพ
ความปลอดภัย หรือความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการใด ๆ รวมทั้งการเปิดเผยผลการทดสอบหรือวิเคราะห์ดังกล่าวต่อผู้บริโภคที่ดำเนินการโดยองค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ อันเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับรัฐในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
คุ้มครองการดำเนินงานบางประการขององค์กรเอกชน
ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
พ.ศ. ....
...............................................
...............................................
...............................................
.....................................................................................................................................................
...............................................
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายคุ้มครองการดำเนินงานบางประการขององค์กรเอกชนในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
.....................................................................................................................................................
...............................................
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
“พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานบางประการขององค์กรเอกชนในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. .... ”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ผู้บริโภค” หมายความว่า
ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“สิทธิของผู้บริโภค”
หมายความว่า สิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“องค์กรเอกชน” หมายความว่า นิติบุคคลเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา ๔ การดำเนินงานขององค์กรเอกชนดังต่อไปนี้
หากเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค และไม่เป็นการเปรียบเทียบกับสินค้าหรือบริการของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการรายอื่น
ไม่เป็นการกระทำความผิด
(๑)
การทดสอบหรือวิเคราะห์คุณภาพ ความปลอดภัย หรือความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการใด ๆ
(๒)
การเปิดเผยผลการทดสอบหรือวิเคราะห์ตาม (๑) ต่อผู้บริโภค
มาตรา ๕ ในกรณีที่องค์กรเอกชนดำเนินงานตามมาตรา ๔ ร่วมกับสถาบันการศึกษาหรือวิจัยของรัฐหรือเอกชนในประเทศที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล
ให้สถาบันการศึกษาหรือวิจัยนั้นได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๔ ด้วย
มาตรา ๖ องค์กรเอกชนใดที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฝ่าฝืนมาตรา ๔ ให้สำนักงานลบชื่อองค์กรเอกชนนั้นจากทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบคำพิพากษาดังกล่าว และให้ประกาศชื่อขององค์กรเอกชนดังกล่าวพร้อมทั้งรายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจจัดการนิติบุคคลนั้นในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานด้วย
มาตรา ๗ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
..........................................
นายกรัฐมนตรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น