บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบ
ร่างพระราชบัญญัติการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เหตุผล
โดยที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ผู้ร่วมประชุมสามารถปรึกษาหารือกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวกแม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันซึ่งไม่แตกต่างจากการประชุมแบบเดิม ที่ผู้ร่วมประชุมต้องมาร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน
ทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการจัดการประชุมและการเดินทางไปร่วมประชุมด้วย
และปัจจุบันมีการใช้วิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย
แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการประชุมส่วนใหญ่ไม่เปิดช่องให้ประชุมโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ สมควรมีกฎหมายกลางเพื่อกำหนดให้บรรดาการประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่าง
ๆ สามารถกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้การประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่าง
ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนและระยะเวลาในการจัดการประชุมและการเดินทางไปร่วมประชุม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.
....
.........................................
.........................................
.........................................
..........................................................................................................................................
..........................................
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
..........................................................................................................................................
..........................................
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
“พระราชบัญญัติการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ....”
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การประชุมของรัฐสภา
(๒) การประชุมของคณะรัฐมนตรี
(๓) การประชุมเพื่อพิจารณาอรรถคดีของศาล
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) การประชุมของรัฐสภา
(๒) การประชุมของคณะรัฐมนตรี
(๓) การประชุมเพื่อพิจารณาอรรถคดีของศาล
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ร่วมประชุมสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน
“ผู้ร่วมประชุม”
หมายความรวมถึงกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการ
ตลอดจนผู้ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้ชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมด้วย
มาตรา ๕ การประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นอกจากจะดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับแล้ว ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมอาจอนุมัติให้จัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องที่มีชั้นความลับจะกระทำมิได้
มาตรา ๖ ให้ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมด้วยระเบียบวาระ
การประชุมและเอกสารประกอบการประชุมไปยังผู้ร่วมประชุมทุกรายไม่น้อยกว่าหนึ่งวันก่อนวันประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารตามวรรคหนึ่ง
จะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ก็ได้
ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้องจัดเก็บบันทึกการส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารตามวรรคหนึ่ง
รวมทั้งสำเนาหนังสือเชิญประชุมและเอกสารดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ จะจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
มาตรา ๗ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมและการลงมติ
ตลอดจนบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้องกับการประชุมและการลงมติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
มาใช้บังคับแก่การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๘ ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง
(๑)
แจ้งวัน เวลา และวิธีการส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารตามมาตรา ๖ ต่อผู้ร่วมประชุม
และจัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ก่อนดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
(๒)
จัดให้ผู้ร่วมประชุมสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเห็นภาพการประชุมได้อย่างต่อเนื่อง
(๓)
จัดให้มีการพิจารณาเฉพาะเรื่องที่กำหนดไว้ในระเบียบวาระการประชุมเท่านั้น
(๔)
จัดทำรายงานการประชุมเป็นหนังสือ
(๕) จัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม
มาตรา ๙ ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นใดให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ให้จ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนนั้นแก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
เว้นแต่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาประชุม
มาตรา ๑๐ ให้ถือว่าการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
..............................................
.............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น