ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบ ปชต ของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้ง รมต และการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่ง นรม เท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบ Westminster เป็นไปตาม “หลักความไว้วางใจ”
ประเทศไทยจะเห็นได้ชัดในประกาศแต่งตั้ง นรม ซึ่งมีความสรุปว่า ประธานสภา … กราบบังคมทูลว่าสภาลงมติไว้วางใจให้ นาย/นางสาว … เป็นนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นรม ส่วนกรณีประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ก็ชัดเจนว่า บัดนี้ นาย/นางสาว … นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี … จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความไว้วางใจมาเป็นทอด ๆ และพระมหากษัตริย์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นรม ตามที่สภาเสนอและประธานสภานำความกราบบังคมทูล หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง รมต ตามที่ นรม กราบบังคมทูลว่าสมควรไว้วางใจ
โดยนัยนี้เอง รนม รักษาราชการแทน นรม จึงไม่มีอำนาจเสนอแต่งตั้ง รมต หรือเสนอให้ รมต พ้นจากตำแหน่ง เพราะ รนม รักษาราชการแทน นรม นั้นเป็นเพียง รมต คนหนึ่งซึ่งได้รับความไว้วางใจจาก นรม เฉกเช่นเดียวกับ รมต คนอื่น ไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร จึงจะแต่งตั้งหรือปลด รมต คนอื่น ๆ มิได้
หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ รนม รักษาราชการแทน นรม จะเสนอให้ยุบสภาถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่ง นรม อยู่ ยิ่งไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หากเป็นเพียงผู้ซึ่ง นรม ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้สมควรไว้วางใจให้แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเท่านั้น การยุบสภาจึงเป็นอำนาจเฉพาะของ นรม เท่านั้น
กล่าวได้ว่าการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รมต ก็ดี หรือถวายคำแนะนำให้ยุบสภาก็ดี เป็นเรื่องของ นรม ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสภาให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยแท้
ถ้า นรม พ้นจากตำแหน่ง รนม รักษาราชการแทน นรม จะมีอำนาจเช่นนั้นหรือไม่ ต้องทราบว่าถ้า นรม พ้นจากตำแหน่งไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ผลคือ ครม จะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และ รธน บัญญัติรองรับไว้ว่า เมื่อ ครม พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้ดำเนินการเพื่อให้มี ครม ขึ้นใหม่ implication จึงชัดเจนว่าสภาต้องดำเนินการเพื่อให้มีการเลือก ครม ใหม่ขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีสภาอยู่เพื่อดำเนินการดังกล่าว เป็นบทบังคับที่ต้องดำเนินการ สภาจึงไม่อาจถูกยุบได้ในห้วงเวลานี้ และถึงอยากจะทำก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีความชอบธรรมที่จะทำดังกล่าวมาข้างต้น
ถ้า นรม เกิดป่วยจนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง รนม รักษาราชการแทน นรม จะกราบบังคมทูลเพื่อยุบสภาได้ไหม ต้องบอกว่าในระบบความไว้วางใจนั้น ถ้าผู้ซึ่งสภาให้ความไว้วางใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้โดยสิ้นเชิง สภาก็ต้องเรียกประชุมกันเพื่อถอดถอนความไว้วางใจสำหรับท่านเดิม แล้วพิจารณาลงมติกันว่าสมควรไว้วางใจผู้ใดขึ้นแทน เป็นกระบวนการของสภาที่จะต้องปรึกษาหารือตกลงกัน ไม่ใช่กิจของผู้รักษาราชการแทน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของหลัก Supremacy of Parliament ด้วย
การดำเนินการตามกระบวนการนี้ไม่ได้เป็นการล่วงละเมิดพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา เพียงแต่ผู้กราบบังคมทูลเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาต้องได้รับความไว้วางใจโดยตรงจากสภาเท่านั้น
จะบอกว่า รธน เป็นกฎหมายสูงสุด มีเจตนารมณ์ของตัวเอง การอธิบายหลักการของ รธน จึงต้องรู้ที่มาที่ไปของหลักการอันเป็นที่มาของบทบัญัติของ รธน และจะนำหลักการของกฎหมายที่มีศักดิ์รองลงไปและมีเจตนารมณ์ที่แตกต่างไปจาก รธน มาใช้ในการอธิบาย รธน ไม่ได้ มันจะปั่นปวนรวนเรกันไปหมด
ย้ำว่าคำว่า “ไว้วางใจ” ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ “แบบ” แต่มันคือ “ระบบ”
ที่เขียนมานี้เพียงเพื่ออธิบายหลักการของ รธน ตามความรู้ที่ร่ำเรียนมาเท่านั้น ถ้าอยากรู้ลึก ๆ ให้ไปอ่านตำราประวัติศาสตร์ของระบบรัฐสภาแบบ Westminster ดู เอาตั้งแต่สมัยพระเจ้า George I ที่เริ่มมี Prime Minister คนแรกคือ Sir Robert Whapole (later : 1st Earl of Oxford) ก็พอ
รู้แหละว่าไม่ค่อยอ่านกัน 😁