หลักการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
และศาลอาญาระหว่างประเทศ
นายปกรณ์ นิลประพันธ์[๑]
ความนำ
เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์กรตุลาการ
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท (Judicial function) และองค์กรตุลาการมีหลายประเภทและหลายระดับแตกต่างกัน ในกรณีองค์กรตุลาการของแต่ละประเทศ
การจัดองค์กรก็ดี (Organisation) เขตอำนาจก็ดี (Jurisdiction) วิธีพิจารณาก็ดี (Procedure) นั้น ย่อมเป็นไปตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผิน การจัดองค์กร เขตอำนาจ
และวิธีพิจารณาขององค์กรตุลาการของเกือบทุกประเทศจะคล้ายคลึงกันอยู่มาก ดูประหนึ่งว่าเป็นลักษณะสากล
แต่หากพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดจะพบว่าองค์กรตุลาการของแต่ละประเทศนั้นต่างมีรูปแบบการจัดองค์กร ตลอดจนเขตอำนาจและวิธีพิจารณาที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ดังนั้น ผู้ประสงค์จะนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาหรือต่อสู้คดีในองค์กรตุลาการของประเทศใด
จึงย่อมที่จะต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดองค์กร เขตอำนาจ
และวิธีพิจารณาขององค์กรตุลาการของประเทศนั้นโดยละเอียด ไม่สามารถใช้ “ความคุ้นเคย” กับระบบการพิจารณาและวินิจฉัยข้อพิพาทขององค์กรตุลาการในประเทศของตนไปเทียบเคียงกับระบบการพิจารณาและวินิจฉัยข้อพิพาทขององค์กรตุลาการของประเทศอื่นได้
สำหรับองค์กรตุลาการในระดับระหว่างประเทศก็มีการจัดองค์กร
เขตอำนาจ และวิธีพิจารณาที่เป็นลักษณะเฉพาะเช่นเดียวกัน และที่ผ่านมามีผู้กล่าวถึงการนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในประเทศไป “ฟ้อง” ยังองค์กรตุลาการในระดับระหว่างประเทศหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า
“ศาลโลก” อยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี
จากการตรวจสอบข้อเขียนทางวิชาการ ผู้เขียนพบว่าในประเทศไทยมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการฟ้องคดีต่อองค์กรตุลาการในระดับระหว่างประเทศน้อยมาก และเท่าที่ผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะกับคนทั่วไป
ส่วนใหญ่เข้าใจว่าการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรตุลาการในระดับระหว่างประเทศมิได้แตกต่างไปจากการฟ้องคดีต่อศาลไทยอันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมาก
และมีข้อมูลทางวิชาการภาษาไทยในเรื่องนี้น้อยมาก ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการฟ้องคดีต่อองค์กรตุลาการในระดับระหว่างประเทศ ซึ่งมีอยู่
๒ องค์กร อันได้แก่ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (International Court of Justice: ICJ) กับ
“ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: ICC)
๑. การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
“ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ”
(International Court of Justice: ICJ) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ศาลโลก” จัดตั้งขึ้นตามหมวด ๑๔ ของกฎบัตรสหประชาติ ลงวันที่
๒๖ มิถุนายน ๑๙๔๕ โดยมาตรา ๙๒[๒] ของกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เป็นองค์การตุลาการใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมาตรา ๙๓[๓]
กำหนดพันธกรณีของสมาชิกสหประชาชาติว่าต้องเป็นภาคีของธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(Statute of the International Court
of Justice)
ด้วย ส่วนรัฐที่มิใช่สมาชิกแห่งสหประชาชาติอาจเป็นภาคีในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตามเงื่อนไขที่สมัชชาทั่วไปจะกำหนดเป็นราย
ๆ ไปตามข้อเสนอแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และมาตรา ๙๔[๔]
กำหนดพันธกรณีของสมาชิกสหประชาชาติว่า สมาชิกสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำพิจารณาตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในทุกคดีที่ตนเป็นคู่กรณี
หากคู่กรณีในคดีหนึ่งคดีใดไม่ปฏิบัติตามพันธกรรมอันเป็นหน้าที่ของตนโดยคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนต่อไปยังคณะมนตรีความมั่นคงได้ และถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจำเป็น
ก็จะเสนอคำแนะนำหรือตกลงถึงวิธีการต่าง ๆ
ที่จะปฏิบัติเพื่อให้สำเร็จผลตามคำพิพากษานั้น
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศถือเป็นองค์กรหลักเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่มิได้ตั้งอยู่ในที่ตั้งขององค์การสหประชาชาติที่มลรัฐนิวยอร์ค
สหรัฐอเมริกา
โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้นตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ศาลนี้ประกอบด้วยผู้พิพากษา ๑๕ คน
ซึ่งเลือกโดยที่ประชุมใหญ่สมัชชาแห่งสหประชาชาติและมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี
สำหรับการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น
ธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Statute of the International Court of Justice) แบ่งเขตอำนาจ (Jurisdiction)
ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ เขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
(Jurisdiction in contentious cases) กับเขตอำนาจในการให้คำปรึกษา (Advisory jurisdiction)
ก.
เขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
ตามมาตรา
๓๔ มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ ของธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[๕]
รัฐภาคีของธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว
อาจเสนอหรือยื่นฟ้องรัฐภาคีอื่น เขตอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทจึงเป็นเขตอำนาจวินิจฉัย
“ข้อพิพาท” ระหว่าง “รัฐภาคี” ของสหประชาชาติซึ่งถือเป็น
“บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ”
และรัฐผู้ฟ้องหรือนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกต้องประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว
ดังนั้น เฉพาะ “รัฐ” ซึ่งถือเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น
ที่สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ เอกชน (Private individual) ไม่สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้โดยตรง
อีกทั้งข้อพิพาท
ที่อยู่ในเขตอำนาจนี้ต้องเป็น “ข้อพิพาทระหว่างรัฐ” ด้วย
ที่อยู่ในเขตอำนาจนี้ต้องเป็น “ข้อพิพาทระหว่างรัฐ” ด้วย
ข.
เขตอำนาจในการให้คำปรึกษา
โดยสหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรหรือทบวงการชำนัญพิเศษหลายองค์กรหรือทบวง
และอาจมีกรณีที่การดำเนินการขององค์กรหรือทบวงการชำนัญพิเศษเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
มาตรา ๖๕
ของธรรมนูญจัดตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[๖] จึงให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีเขตอำนาจให้ความเห็นตอบข้อหารือ
(Advisory opinions)
ในประเด็นข้อกฎหมายตามที่ได้รับการร้องขอจากองค์กรหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติด้วย
หากพิจารณาเขตอำนาจตาม ก. และ ข. ข้างต้นแล้ว
จะเห็นได้ว่าผู้ฟ้องคดีต่อศาลโลกก็ดี ผู้ขอให้ศาลโลกตอบข้อหารือก็ดี ต้องเป็น “รัฐ”
หรือ “องค์กรหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ” แล้วแต่กรณี เท่านั้น
เอกชนไม่สามารถฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ความเห็นตอบข้อหารือได้โดยตรงเนื่องจากไม่ใช่บุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ในกรณีที่เคยปรากฏข่าวว่า
ดาโต๊ะ พระราม กุมารสวามี (Dato’ Param Cumaraswamy) เคยฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยตรงนั้น
จากการตรวจสอบ ปรากฏว่าเป็นข่าวที่คลาดเคลื่อนจากหลักกฎหมายและข้อเท็จจริง
โดยในกรณีดาโต๊ะ พระราม กุมารสวามี นั้น ดาโต๊ะ พระรามฯในฐานะทูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติหน้าที่ในมาเลเซียและถูกดำเนินคดีเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council:
ECOSOC)
ซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติจึงได้ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ความเห็นตอบข้อหารือว่ามาเลเซียสามารถดำเนินคดีกับทูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนในกรณีดังกล่าวได้หรือไม่
ดาโต๊ะ พระรามฯมิได้ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ความเห็นตอบข้อหารือนั้นเอง[๗]
๒. การฟ้องคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
“ศาลอาญาระหว่างประเทศ” (International Criminal Court: ICC) จัดตั้งขึ้นโดยธรรมนูญจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ
หรือที่รู้จักทั่วไปว่า “ธรรมนูญกรุงโรม” (Rome Statute of the International Criminal Court) ที่เปิดให้มีการลงนามตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑
และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
ขณะนี้ธรรมนูญกรุงโรมมีภาคีสมาชิกทั้งสิ้น ๑๑๔ ประเทศ ดังนั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เป็นอิสระ
มิได้เกี่ยวพันโดยตรงกับสหประชาชาติ
และมิได้เกี่ยวพันกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก แม้จะมีที่ตั้งอยู่ที่
กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับศาลโลกก็ตาม สำหรับทวีปเอเซียมีเพียง
๑๕ ประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก
และในอาเซียนคงมีกัมพูชาเพียงประเทศเดียวที่เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม
ส่วนประเทศไทยนั้นได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน
ตามธรรมนูญกรุงโรม ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสังคมโลกโดยรวม
(Serious crimes of concern to the international community as a whole) อันได้แก่ “อาชญากรรม” ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕[๘] ของธรรมนูญกรุงโรม อันได้แก่
·
อาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (The crime of genocide)
·
อาชญากรรมต่อความเป็นมนุษย์ (Crimes against humanity)
·
อาชญากรรมสงคราม (War crimes) และ
·
อาชญากรรมเกี่ยวกับการรุกราน (The crime of aggression)
ทั้งนี้
มาตรา ๖-๘ ของธรรมนูญกรุงโรมจะกำหนดรายละเอียดของอาชญากรรมแต่ละประเภทไว้
ส่วนองค์ประกอบความผิดเป็นไปตาม Elements of Crimes ที่ออกตามความในมาตรา ๙
มีข้อสังเกตว่า
เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศจะครอบคลุมเฉพาะรัฐซึ่งเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม หรือรัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม
แต่ได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไว้ต่อนายทะเบียนแล้ว (มาตรา ๑๒)[๙] และอาชญากรรมดังกล่าวต้องเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ ๑
กรกฎาคม ๒๕๔๕ ส่วนประเทศที่เข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมภายหลังวันที่ ๑ กรกฎาคม
๒๕๔๕ นั้น ศาลจะมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕
ที่กระทำลงในหรือโดยรัฐภาคีนั้น เฉพาะอาชญากรรมที่กระทำลงภายหลังจากที่ธรรมนูญกรุงโรมมีผลผูกพันรัฐภาคีนั้นแล้ว
เว้นแต่รัฐภาคีนั้นจะได้ให้ถ้อยแถลง (Declaration) ต่อนายทะเบียนไว้เป็นประการอื่น (มาตรา ๑๑)[๑๐]
แม้เนื้อหาของคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศจะเป็นการกระทำความผิดอาญา แต่การดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เอกชนผู้เสียหายไม่สามารถดำเนินคดีได้เอง แต่พนักงานอัยการประจำศาล (The Prosecutor) จะเป็นผู้ดำเนินคดีแทนอันเป็นหลักเดียวกับการดำเนินคดีอาญาของประเทศภาคพื้นยุโรป และตามมาตรา ๑๓
คดีจะเข้าสู่การพิจารณาของพนักงานอัยการได้ใน ๓ กรณี คือ
(๑)
รัฐภาคีได้ร้องทุกข์เกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นต่อพนักงานอัยการ
(๒)
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด ๗
แห่งกฎบัตรสหประชาชาติได้ร้องทุกข์เกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นต่อพนักงานอัยการ หรือ
(๓)
พนักงานอัยการได้เริ่มสืบสวนเกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นเองเมื่อได้รับคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย
ทั้งนี้
เมื่อได้รับคำร้องทุกข์ พนักงานอัยการจะดำเนินการตามมาตรา ๑๕[๑๑] และมาตรา ๕๓[๑๒] โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น (preliminary examination) และวิเคราะห์ว่า
(๑)
มีการกระทำอาชญากรรมนั้นขึ้นจริงหรือไม่และอาชญากรรมนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่
(๒)
ควรเสนออาชญากรรมนั้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาหรือไม่
โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมนั้น
และมีการดำเนินคดีต่ออาชญากรรมนั้นโดยศาลภายในของรัฐนั้นตามหลักความยุติธรรมหรือไม่
และ
(๓)
การพิจารณาคดีต่ออาชญากรรมนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรมหรือไม่
ทั้งนี้
ในการไต่สวนข้อเท็จจริง พนักงานอัยการมีอำนาจขอข้อมูลจากรัฐ องค์กรของสหประชาชาติ
องค์การระหว่างรัฐบาล องค์กรเอกชน หรือแหล่งข้อมูลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นควรดำเนินคดีต่อผู้ก่ออาชญากรรมนั้น
ก็จะเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ Pre-Trial Chamber พร้อมกับเอกสารหลักฐานสนับสนุน
เพื่อขออนุญาตดำเนินการสืบสวนและอาจนำผู้เสียหายไปชี้แจงประกอบด้วยก็ได้
ถ้าคณะกรรมการ Pre-Trial Chamber เห็นด้วยและเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาล
ก็จะอนุญาตให้พนักงานอัยการดำเนินการสืบสวนต่อไป แต่ถ้าไม่เห็นด้วย
พนักงานอัยการต้องยุติคดี เว้นแต่จะพบพยานหลักฐานใหม่ แต่ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสามประการข้างต้น
ก็ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบพร้อมเหตุผล
ผู้เขียนได้ตรวจสอบคำสั่งเกี่ยวกับคดีของพนักงานอัยการเกี่ยวกับการร้องทุกข์ว่ามีการก่ออาชญากรรมตามมาตรา
๕ ของธรรมนูญกรุงโรมในอิรัก และเวเนซูเอลา เป็นกรณีศึกษา และพบข้อสรุปในแต่ละกรณี ดังนี้
กรณีอิรัก[๑๓]
เมื่อมีการร้องทุกข์ว่ามีการก่ออาชญากรรมตามมาตรา
๕ ของธรรมนูญกรุงโรมในอิรัก อิรักมิได้เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม
และไม่ได้ให้ถ้อยแถลงว่ายอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ และมีผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมนั้นระหว่าง ๔-๑๒ คน เท่านั้น ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ
จึงไม่จำต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นต่อไป
พนักงานอัยการจึงมีความเห็นให้ยุติการดำเนินการภายหลังจากที่ได้ไต่สวนเบื้องต้นแล้ว
กรณีเวเนซูเอลา[๑๔]
เวเนซูเอลาเป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม
พนักงานอัยการจึงเห็นว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือข้อร้องทุกข์ว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามมาตรา
๕ ของธรรมนูญกรุงโรม แต่เมื่อไต่สวนเบื้องต้น
พนักงานอัยการพบว่ามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลเวเนซูเอลา
โดยมีผู้เสียชีวิต ๔๕ ราย ถูกจำคุกประมาณ ๓๙-๔๔ ราย และอีกจำนวนมากถูกกระทำทรมาณ
แต่ข้อร้องทุกข์เกี่ยวกับการทำทรมานไม่เข้าเกณฑ์องค์ประกอบความผิดตาม Elements of Crimes ที่ออกตามความในมาตรา ๙ ของธรรมนูญกรุงโรม
ซึ่งพนักงานอัยการเห็นว่าจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมนุษยชาติ
จึงไม่จำต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นต่อไป
พนักงานอัยการจึงมีความเห็นให้ยุติการดำเนินการภายหลังจากที่ได้ไต่สวนเบื้องต้นแล้ว
หากพิจารณาแนวการวินิจฉัยของพนักงานอัยการภายหลังการไต่สวนเบื้องต้น
ในกรณีอิรักและเวเนซูเอลาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้เสียหายถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสังคมโลกโดยรวมหรือไม่
ในกรณีอิรักและเวเนซูเอลาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้เสียหายถือเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่เกี่ยวกับสังคมโลกโดยรวมหรือไม่
สรุป
กล่าวโดยสรุป
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก กับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นคนละองค์กรกัน
และมีเขตอำนาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ การนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น
ผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลโลกต้องเป็นรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศหรือทบวงการชำนัญพิเศษเท่านั้น
เอกชนไม่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกได้
ส่วนการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ
โดยที่ประเทศไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมแล้วเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน
และผู้เขียนไม่มีข้อมูลว่าประเทศไทยได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลหรือไม่
หากยังมิได้
ให้สัตยาบันและมิได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ประเทศไทยจะยังไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในกรณีนี้ การนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศจึงทำได้ ๒ ช่องทาง คือ
ให้สัตยาบันและมิได้ให้ถ้อยแถลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ประเทศไทยจะยังไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในกรณีนี้ การนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศจึงทำได้ ๒ ช่องทาง คือ
(๑)
รัฐบาลไทยหรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาในเรื่องที่เป็นอาชญากรรมตามมาตรา
๕ ของธรรมนูญกรุงโรม หรือ
(๒)
ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานอัยการโดยตรง
หากมีการดำเนินการดังกล่าว
พนักงานอัยการอาจขอให้ประเทศไทยส่งข้อมูลเพื่อประกอบการไต่สวนเบื้องต้นได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๕ (๒) ของธรรมนูญกรุงโรม
ซึ่งหากพนักงานอัยการขอข้อมูลมา ประเทศไทยในฐานะ “สมาชิกที่ดี”
ของสหประชาชาติก็อาจต้องแจ้งข้อมูลต่อพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาแม้จะยังมิได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม
แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นว่าพนักงานอัยการจะดำเนินคดีต่อไป ขึ้นอยู่กับ “จำนวน”
ของผู้เสียหาย และ “พฤติกรรม”
อันเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวอ้างด้วยว่าเข้าลักษณะตามมาตรา ๕
ของธรรมนูญกรุงโรมหรือไม่
[๑]กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
[๒]Article 92
The
International Court of Justice shall be the principal judicial organ of the
United Nations. It shall function in accordance with the annexed Statute, which
is based upon the Statute of the Permanent Court of International Justice and
forms an integral part of the present Charter.
[๓]Article 93
1. All
Members of the United Nations are facto parties to the Statute of the
International Court of Justice.
2. A
state which is not ~ of the United Nations may become a party to the Statute of
the International Court of Justice on to be determined in each case by the
General Assembly upon the recommendation of the Security Council.
[๔]Article 94
1. Each
Member of the United Nations undertakes to comply with the decision of the
International Court of Justice in any case to which it is a party.
2.
If any party to a case fails to perform the obligations incumbent upon it under
a judgment rendered by the Court, the other party may have recourse to the
Security Council, which may, if it deems necessary, make recommendations or
decide upon measures to be taken to give to the judgment.
[๕]Article 34
1. Only
states may be parties in cases before the Court.
2. The
Court, subject to and in conformity with its Rules, may request of public
international organizations information relevant to cases before it, and shall
receive such information presented by such organizations on their own
initiative.
3.
Whenever the construction of the constituent instrument of a public
international organization or of an international convention adopted thereunder
is in question in a case before the Court, the Registrar shall so notify the
public international organization concerned and shall communicate to it copies
of all the written proceedings.
Article 35
1. The
Court shall be open to the states parties to the present Statute.
2. The
conditions under which the Court shall be open to other states shall, subject
to the special provisions contained in treaties in force, be laid down by the
Security Council, but in no case shall such conditions place the parties in a
position of inequality before the Court.
3. When
a state which is not a Member of the United Nations is a party to a case, the
Court shall fix the amount which that party is to contribute towards the
expenses of the Court. This provision shall not apply if such state is bearing
a share of the expenses of the Court
Article 36
1. The
jurisdiction of the Court comprises all cases which the parties refer to it and
all matters specially provided for in the Charter of the United Nations or in
treaties and conventions in force.
2. The
states parties to the present Statute may at any time declare that they
recognize as compulsory ipso facto and without special agreement, in
relation to any other state accepting the same obligation, the jurisdiction of
the Court in all legal disputes concerning:
a. the
interpretation of a treaty;
b. any
question of international law;
c. the
existence of any fact which, if established, would constitute a breach of an
international obligation;
d. the
nature or extent of the reparation to be made for the breach of an
international obligation.
3. The
declarations referred to above may be made unconditionally or on condition of
reciprocity on the part of several or certain states, or for a certain time.
4. Such
declarations shall be deposited with the Secretary-General of the United
Nations, who shall transmit copies thereof to the parties to the Statute and to
the Registrar of the Court.
5.
Declarations made under Article 36 of the Statute of the Permanent Court of
International Justice and which are still in force shall be deemed, as between
the parties to the present Statute, to be acceptances of the compulsory
jurisdiction of the International Court of Justice for the period which they
still have to run and in accordance with their terms.
6. In
the event of a dispute as to whether the Court has jurisdiction, the matter
shall be settled by the decision of the Court.
[๖]Article 65
1. The Court may give an advisory opinion on any legal question at
the request of whatever body may be authorized by or in accordance with the
Charter of the United Nations to make such a request.
2. Questions upon which the advisory opinion of the Court is asked
shall be laid before the Court by means of a written request containing an
exact statement of the question upon which an opinion is required, and
accompanied by all documents likely to throw light upon the question.
[๗]International Court of Justice, Advisory opinion of 29 April 1999,
Difference Relating to Immunity from Legal Process of a Special Rapporteur of
the Commission on Human Rights
[๘]Article
5
Crimes within the
jurisdiction of the Court
1. The jurisdiction of the
Court shall be limited to the most serious crimes of concern to the
international community as a whole. The Court has jurisdiction in accordance
with this Statute with respect to the following crimes:
(a) The crime of genocide;
(b) Crimes against humanity;
(c) War crimes;
(d) The crime of aggression.
2. The Court shall exercise
jurisdiction over the crime of aggression once a provision is adopted in
accordance with articles 121 and 123 defining the crime and setting out the
conditions under which the Court shall exercise jurisdiction with respect to
this crime. Such a provision shall be consistent with the relevant provisions
of the Charter of the United Nations.
[๙]Article
12
Preconditions to the
exercise of jurisdiction
1. A State which becomes a
Party to this Statute thereby accepts the jurisdiction of the Court with
respect to the crimes referred to in article 5.
2. In the case of article
13, paragraph (a) or (c), the Court may exercise its jurisdiction if one or
more of the following States are Parties to this Statute or have accepted the
jurisdiction of the Court in accordance with paragraph 3:
(a) The State on the territory of which
the conduct in question occurred or, if the crime was committed on board a
vessel or aircraft, the State of registration of that vessel or aircraft;
(b) The State of which the person accused
of the crime is a national.
3. If the acceptance of a
State which is not a Party to this Statute is required under paragraph 2, that
State may, by declaration lodged with the Registrar, accept the exercise of
jurisdiction by the Court with respect to the crime in question. The accepting
State shall cooperate with the Court without any delay or exception in
accordance with Part 9.
[๑๐]Article
11
Jurisdiction ratione
temporis
1. The Court has
jurisdiction only with respect to crimes committed after the entry into force
of this Statute.
2. If a State becomes a
Party to this Statute after its entry into force, the Court may exercise its
jurisdiction only with respect to crimes committed after the entry into force
of this Statute for that State, unless that State has made a declaration under
article 12, paragraph 3.
[๑๑]Article
15
Prosecutor
1. The Prosecutor may
initiate investigations proprio motu on the basis of information on
crimes within the jurisdiction of the Court.
2. The Prosecutor shall
analyse the seriousness of the information received. For this purpose, he or
she may seek additional information from States, organs of the United Nations,
intergovernmental or non-governmental organizations, or other reliable sources
that he or she deems appropriate, and may receive written or oral testimony at
the seat of the Court.
3. If the Prosecutor
concludes that there is a reasonable basis to proceed with an investigation, he
or she shall submit to the Pre-Trial Chamber a request for authorization of an
investigation, together with any supporting material collected.
Victims may make
representations to the Pre-Trial Chamber, in accordance with the Rules of
Procedure and Evidence.
4. If the Pre-Trial Chamber,
upon examination of the request and the supporting material, considers that
there is a reasonable basis to proceed with an investigation, and that the case
appears to fall within the jurisdiction of the Court, it shall authorize the
commencement of the investigation, without prejudice to subsequent
determinations by the Court with regard to the jurisdiction and admissibility
of a case.
5. The refusal of the
Pre-Trial Chamber to authorize the investigation shall not preclude the
presentation of a subsequent request by the Prosecutor based on new facts or
evidence regarding the same situation.
6. If, after the preliminary
examination referred to in paragraphs 1 and 2, the Prosecutor concludes that
the information provided does not constitute a reasonable basis for an
investigation, he or she shall inform those who provided the information. This
shall not preclude the Prosecutor from considering further information
submitted to him or her regarding the same situation in the light of new facts
or evidence.
[๑๒]Article
53
Initiation of an
investigation
1. The Prosecutor shall,
having evaluated the information made available to him or her, initiate an
investigation unless he or she determines that there is no reasonable basis to
proceed under this Statute. In deciding whether to initiate an investigation,
the Prosecutor shall consider whether:
(a) The information available to the
Prosecutor provides a reasonable basis to believe that a crime within the
jurisdiction of the Court has been or is being committed;
(b) The case is or would be admissible
under article 17; and
(c) Taking into account the gravity of the
crime and the interests of victims,
there are nonetheless
substantial reasons to believe that an investigation would not serve the
interests of justice.
If the Prosecutor determines
that there is no reasonable basis to proceed and his or her determination is
based solely on subparagraph (c) above, he or she shall inform the Pre-Trial
Chamber.
2. If, upon investigation,
the Prosecutor concludes that there is not a sufficient basis for a prosecution
because:
(a) There is not a sufficient legal or
factual basis to seek a warrant or summons under article 58;
(b) The case is inadmissible under article
17; or
(c) A prosecution is not in the interests
of justice, taking into account all the circumstances, including the gravity of
the crime, the interests of victims and the age or infirmity of the alleged
perpetrator, and
his or her role in the
alleged crime; the Prosecutor shall inform the Pre-Trial Chamber and the State
making a referral under article 14 or the Security Council in a case under
article 13, paragraph (b), of his or her conclusion and the reasons for the
conclusion.
3. (a) At the request of the
State making a referral under article 14 or the Security Council under article
13, paragraph (b), the Pre-Trial Chamber may review a decision of the
Prosecutor under paragraph 1 or 2 not to proceed and may request the Prosecutor
to reconsider that decision.
(b) In addition, the Pre-Trial Chamber may,
on its own initiative, review a decision of the Prosecutor not to proceed if it
is based solely on paragraph 1 (c) or 2 (c). In such a case, the decision of
the Prosecutor shall be effective only if confirmed by the Pre-Trial Chamber.
4. The Prosecutor may, at
any time, reconsider a decision whether to initiate an investigation or
prosecution based on new facts or information.
[๑๓]International Criminal Court, OTP Response to Communications received
concerning Iraq, 9 February 2006.
[๑๔]International Criminal Court, OTP Response to Communications received
concerning Iraq, 9 February 2006.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น