นางจันทรา
บุญมาก
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงาน ก.พ.ร.
ประเทศญี่ปุ่น
ได้มีการนำระบบพัฒนาระบบราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Administration)
เข้ามาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงที่ ๑
(พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๗)
|
ช่วงที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๑)
|
ช่วงที่ ๓
(พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๖๒)
|
·
ประชาสัมพันธ์การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศในภาพรวม
|
·
นำระบบงานต่าง
ๆ มาช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของข้าราชการ
·
พัฒนาระบบสารสนเทศกลางที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เป็นพื้นฐานสำหรับทุกส่วนราชการ
·
นำรูปแบบและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในส่วนราชการให้มากขึ้น
|
·
เร่งรัดให้มีการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัล
สมาร์ทโฟน มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของภาครัฐ
·
มีการนำเทคโนโลยีใหม่
ๆ ที่ทันสมัย เช่น IoT, big data, AI, RPA เป็นต้น เข้ามาใช้ในระบบราชการให้มากขึ้น
|
นาย Toshikasu
Sawada ซึ่งเป็น Senior Advisor Administrative Management Bureau Ministry of Internal
Affairs and Communications ได้สรุปบทเรียนจากการพัฒนาระบบราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Administration) ของประเทศญี่ปุ่น ไว้ดังนี้
(๑) ต้องเก็บความต้องการให้ครบ (Correct
recognition of facts)
(๒) สร้างความตระหนักรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
(Top management and awareness transformation of executives)
(๓) สร้างการรับรู้เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้จากการดำเนินการที่ผ่านมา
(Sharing and horizontal spreading of know-how obtained from precedents)
ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านจาก
“e-Government”
ไปสู่ “Digital Government” นั้น
ประเทศญี่ปุ่นประกาศแผนปฏิบัติการรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Action
Plan) เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ ซึ่งตามแผนดังกล่าวแต่ละกระทรวงจะไปจัดทำแผนปฏิบัติการรัฐบาลดิจิทัลของกระทรวงเอง
เพื่อปฏิรูปการให้บริการของรัฐให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
โดยเริ่มต้นพัฒนาจากงานบริการที่สามารถปรับเปลี่ยนได้งาน
โดยไม่ขัดกับระเบียบราชการที่เป็นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น
· การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินและหน่วยงานราชการ
เพื่อทำธุกรรมทางการเงิน เช่น การฝากเงิน การถอนเงิน เป็นต้น
· ปรับปรุงกฎหมายให้อำนวยความสะดวกต่องานบริการติดตามของหาย
เป็นต้น
จากการไปฝึกอบรมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารงานภาครัฐ
หลักสูตร Public
Administration for Better Life in Technological Disruption Era ของสำนักงาน ก.พ.ร. ระหว่างวันที่
๒- ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ The National Graduate Institute for Policy Studies
(GRIPS) ประเทศญี่ปุ่น ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเรียนรู้ที่กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร
(Ministry of Internal Affairs and Communications)
ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับและให้นโยบายด้านการบริหารราชการของประเทศญี่ปุ่น มีประเด็นที่น่าสนใจ
ดังนี้
๑. การปรับปรุงระบบเอกสารราชการของรัฐบาลญี่ปุ่น (Making
paperwork better in the Japanese Government)
จุดเริ่มต้นของการปรับปรุงระบบเอกสารราชการ
(paperwork)
ของรัฐบาลญี่ปุ่น เริ่มจากการที่นายกรัฐมนตรี Shinzo ABE เองถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการซื้อขายที่ดินในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีการอ้างเอกสารซื้อขายที่เป็นกระดาษขึ้นเป็นหลักฐาน แต่จากการสอบสวนปรากฏว่ามีการแก้ไขเอกสารการซื้อขายที่ดินดังกล่าวเพื่อให้ปรากฏชื่อ Shinzo
ABE เมื่อนายกรัฐมนตรีถูกเล่นงานเสียเองเช่นนี้ ท่านจึงมีนโยบายให้ส่วนราชการเร่งรัดดำเนินการปรับเปลี่ยนเอกสารราชการให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้อีกกับประชาชนทั่วไปเพราะการจัดเก็บเอกสารในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นยากต่อการแก้ไข
สำหรับแนวทางในการดำเนินการปรับเปลี่ยนเอกสารราชการให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
มีดังนี้
*
สอบถามแต่ละส่วนราชการว่า (Ask every Government Agency)
-
องค์กรของท่านมีงานใดบ้างที่ไม่สามารถปรับให้สามารถทำการอนุมัติ/อนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic
Approval) ได้
-
ในแต่ละงาน มีขั้นตอนอนุมัติ/อนุญาต (Approval) เป็นจำนวนกี่ขั้นตอน
-
อะไรคือความท้าทาย / ปัญหา / อุปสรรค
ของการอนุมัติ/อนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Approval)
ในแต่ละงาน
*
ความท้าทาย (Typical Challenges)
- แบบฟอร์ม (Application) อยู่ในรูปแบบกระดาษซึ่งการอนุมัติ/อนุญาต
จะทำบนแบบฟอร์มดังกล่าว
- ระบบงาน (Work System)
ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอนุมัติ/อนุญาตแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Approval System)
- เจ้าหน้าที่ที่ทำงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงาน (On-site worker) ทำงานด้วยอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียร
นอกจากนั้น
ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติม ประกอบด้วย
๑) จะต้องนำกระบวนการ “อนุมัติ/อนุญาต (approval)”
เข้ามาร่วมพิจารณาด้วยเสมอ
๒) ในการดำเนินการเรื่องนี้
ฝ่ายบริหารของหน่วยงานจะต้องให้ความเห็นชอบด้วย
๓) ไม่วิตกกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนการอนุมัติ/อนุญาต
(approval) จนเกินไป
๔) ในการดำเนินการเรื่องนี้
จะต้องมีการเตรียมแผนสำรองเอาไว้เสนอ
เนื่องจากบางครั้งการดำเนินการอย่างหนึ่งได้สำเร็จ
อาจจะไปกระทบกับการดำเนินการด้านอื่น ๆ อีกก็เป็นได้
๒. การปรับปรุงกระบวนงาน และระบบงาน (Revising workflow and systems)
สำนักบริหารจัดการ (Administrative Management Bureau (AMB))
กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร สนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลในหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการประเมินกระบวนงาน
(business process) การประเมินผลการจัดสรรงบประมาณสำหรับระบบสารสนเทศ
และการจัดหาระบบของรัฐบาลแบบบูรณาการ อาทิ ระบบเครือข่าย (Network) ศูนย์กลางการให้บริการของรัฐบาล (Portal) เป็นต้น เพื่อยกระดับการบริหารงานภาครัฐให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รวมไปถึงส่งเสริมให้ส่วนราชการมีการทำงานแบบดิจิทัล เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญไม่ใช่เฉพาะแต่ในประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานบริหารจัดการจึงต้องให้การสนับสนุนการปรับปรุงวิธีการทำงานและกระบวนการให้บริการสาธารณะของแต่ละกระทรวงให้ดียิ่งขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน
โดยสำนักบริหารจัดการได้จัดทำเว็บไซต์ “e-Gov” เพื่อให้เป็นเว็บไซต์กลาง
(Portal site) ที่กระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ
ของรัฐบาลให้ข้อมูลการบริการออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา อันเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารราชการแผนดิน
(Open Government) นั่นเอง
ตัวอย่าง การพัฒนารูปแบบการทำงานของราชการให้เป็นดิจิทัล
จากการสำรวจความเห็นของข้าราชการพบว่า
ขั้นตอนการร่างกฎหมายเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน
และแต่ละขั้นตอนไม่มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ การเปลี่ยนร่างกฎหมายแบบอนาลอก (Analog)
ไปเป็นแบบดิจิทัล (Digital) นั้น สำนักบริหารจัดการได้นำเสนอโครงการพัฒนาการร่างกฎหมายแบบดิจิทัล
โดยการพัฒนาระบบ e-Legislative Activity and Work Support System หรือ e-LAWS ขึ้นมา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
โครงการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ก็เนื่องจากมีการปรับปรุงกฎหมายให้สามารถ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในระบบราชการได้
โดยวัตถุประสงค์หลักของการดำเนินโครงการนี้ก็เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของรัฐบาลญี่ปุ่นให้ดียิ่งขึ้น
อาทิ ประหยัดงบประมาณด้านเงินเดือนข้าราชการ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในแต่ละขั้นตอน
และจัดให้มีวิธีการทำงานแบบพิเศษเพื่อรองรับการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น
การทำงานทางไกล (teleworking) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานด้านการร่างกฎหมายแบบดิจิทัลได้
ซึ่งสามารถลดอัตราการโอนย้ายของข้าราชการสตรีลงได้อีกด้วย
การเปิดข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ
XML ด้วย API
ระบบ
e-LAWS (ระบบสารสนเทศด้านกฎหมาย) เปิดตัวบน e-Gov
portal เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ XML ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ร่วมกับ
API เพื่อยกระดับการให้บริการของภาคเอกชน (Private
service) โดยการใช้ข้อมูลกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎ
ระเบียบของภาครัฐที่ผ่านกลั่นกรองเรียบร้อยแล้ว
๓. การปฏิรูปสำนักงาน
(Office
Reform)
การปฏิรูปสำนักงาน
(Office
Reform) คือ รูปแบบการทำงานใหม่ล่าสุดที่สามารถตอบสนองต่อการทำงานเป็นทีม
ไม่มีตำแหน่งที่นั่งประจำ การทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ซึ่งหลังจากดำเนิน การปฏิรูปสำนักงานแล้ว องค์กรประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
ลดการทำงานล่วงเวลาได้ ร้อยละ ๒๐
และร้อยละ ๙๐ ของพนักงานมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการทำงานใหม่นี้ ที่มาของการปฏิรูปสำนักงาน
เริ่มมาจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยมทางสังคม
ที่ต้องการปรับเปลี่ยนจากชีวิตที่เน้นงานเป็นหลัก (work-centered life)
มาเป็นการสร้างสมดุลของการทำงานและชีวิตส่วนตัว (work-life balance)
|
|
|
|
ก่อนทำ (Before)
|
หลังทำ
(After)
|
||
- มีระยะห่างระหว่างผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน
|
- มีการทำงานเป็นทีม (Team-based) ไม่มีตำแหน่งที่นั่งประจำ (free address office)
|
||
- พื้นที่สำนักงานที่ยุ่งเหยิง
- แต่ละโต๊ะมีกองเอกสารวางอยู่สูงท่วมหัว
จนมองไม่เห็นเจ้าหน้าที่
|
- ทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) เพื่อลดเอกสารบนโต๊ะ
|
||
- ใช้เครือข่าย LAN
(Ethernet)
|
- ใช้เครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
|
||
|
ภาพสำนักงานหลังจากการปฏิรูปสำนักงาน (Office Reform) แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปสำนักงาน (Office Reform) ทำให้องค์กรสามารถกระตุ้นการสื่อสารระหว่างพนักงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในกระบวนการทำงาน และจากการสำรวจกลุ่มพนักงานมากกว่าร้อยละ ๖๐ ตอบว่า ตอนนี้พวกเขาเลือกที่จะทำขอบเขตงานแบบคร่าว ๆ ก่อนเริ่มลงมือทำโครงการจริง (decide on the brief principals for the project before starting operation) เพื่อ“ลดการทำงานซ้ำ (reduce reworking)” การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้การทำงานล่วงเวลาลดลงร้อยละ ๒๐ และร้อยละ ๙๐ ของพนักงานรู้สึกสบายใจขึ้น (comfortable)
จากการศึกษาการพัฒนาระบบราชการของประเทศญี่ปุ่น
พบว่าปัจจัยสำคัญที่จะนำพาระบบราชการข้ามผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัลได้นั้น
ฝ่ายบริหารจะต้องตระหนักและเข้าใจถึงความจำเป็นต่าง ๆ
ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดรับการการทำงานแบบดิจิทัล
และสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถปรับตัวให้สามารถทำงานแบบดิจิทัลได้
***********************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น