๑. ความเป็นมา
ประเทศญี่ปุ่นมีระบบการบริหารราชการแผ่นดินเพียงราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ต่างจากประเทศไทยที่มีการบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประกอบด้วย ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไม่เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้แต่ครั้งเดียว
โดยรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระของท้องถิ่น
การให้สิทธิ์ในการจัดระบบการบริหารและทรัพย์สิน ตลอดจนการออกกฎระเบียบต่าง ๆ
ของแต่ละท้องถิ่นเองได้ มีระดับการบริหาร ๒ ระดับ
ได้แก่ ระดับจังหวัด (Prefecture) และระดับเทศบาล (Municipality) ซึ่งปัจจุบันมี ๔๗ จังหวัด
(รวมทั้งมหานครโตเกียวที่มีขอบเขตและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานที่มากกว่าจังหวัดปกติ)
ในขณะที่เทศบาลมีจำนวน ๑,๗๑๘ แห่ง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ เมืองใหญ่ (City) ๗๙๒ แห่ง เมือง (Town) ๗๔๓ แห่ง และหมู่บ้าน (Village) ๑๘๓ แห่ง
ซึ่งเมืองกับหมู่บ้านจะมีภารกิจหน้าที่ที่เหมือนกัน
ส่วนเมืองใหญ่จะมีภารกิจหน้าที่ที่มากกว่าซึ่งสามารถเทียบเคียงได้ในระดับเดียวกับเขตปกครองพิเศษ
(Special wards) ที่มีอยู่
๒๓ แห่งภายใต้การบริหารของมหานครโตเกียวเท่านั้น
การพัฒนาระบบการปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นเริ่มต้นในปี ค.ศ. ๑๘๘๘ และมีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องโดยมีช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ จำนวน ๓ ช่วง ได้แก่ Meiji (ค.ศ.
๑๘๘๘ – ๑๘๘๙) Showa (ค.ศ. ๑๙๕๓ – ๑๙๖๑)และ Heisei (ค.ศ. ๑๙๙๙ – ๒๐๑๐) ซึ่งในแต่ละช่วงจะมีเป้าหมายเดียวกัน คือ
มุ่งลดจำนวนเทศบาลให้น้อยลง เพื่อให้เทศบาลมีขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบภายใต้งบประมาณและจำนวนประชากรที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุน
การเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการบริหารงาน แต่อาจมีแนวทางหรือวิธีการที่มีความแตกต่างกันตามแต่ละยุคสมัย
๑)
Meiji
(ค.ศ. ๑๘๘๘ – ๑๘๘๙)
ดำเนินการปรับเปลี่ยนและควบรวมชุมชนดั้งเดิมที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมากให้เป็นเทศบาลที่มีครัวเรือนในความรับผิดชอบประมาณ
๓๐๐ – ๕๐๐ ครัวเรือน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวใช้กลไกการจัดทำแผนควบรวมที่ผู้ว่าราชการจังหวัด (Prefecture
governor) เป็นผู้ดำเนินการ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (Minister)
ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญของส่วนกลางในช่วงเวลานั้นที่ต้องการให้การลดจำนวนเทศบาลเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
และสามารถดำเนินการได้เป็นผลสำเร็จเนื่องจากสามารถลดจำนวนเทศบาลจากปี
ค.ศ. ๑๘๘๘ จำนวน ๗๑,๓๑๔ เทศบาล เหลือเพียง ๑๕,๘๕๙ เทศบาล ในปี ค.ศ. ๑๘๘๙
๒) Showa (ค.ศ. ๑๙๕๓ – ๑๙๖๑)
การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้จะให้ความสำคัญกับการพัฒนากฎหมายและการให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่เพิ่มมากขึ้น
โดยออกกฎหมายที่สำคัญ จำนวน ๒ ฉบับ คือ กฎหมายส่งเสริมการควบรวมเทศบาล (Municipal
Merger Promotion Law) ในปี ค.ศ. ๑๙๕๓
และกฎหมายส่งเสริมการจัดตั้งเทศบาลใหม่ (New Municipality Creation Promotion Law) ในปี ค.ศ. ๑๙๕๖
ซึ่งเปิดโอกาสให้ควบรวมเทศบาลได้ทั้งในช่วงระหว่างปี
ค.ศ. ๑๙๕๓ – ๑๙๕๖ และหลังปี ค.ศ. ๑๙๕๖
นอกจากการออกกฎหมายให้เอื้อต่อการควบรวมเทศบาลแล้วยังเปิดโอกาสให้เทศบาลที่ควบรวมกันมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจได้เพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การอนุญาตให้เทศบาลที่ควบรวมกันแล้วมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า
๘,๐๐๐ คน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(Junior High School) ได้ เป็นต้น ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้จำนวนเทศบาลลดลงจากจำนวน ๙,๘๖๘ เทศบาล เหลือเพียง ๓,๔๗๒ เทศบาล หรือประมาณ ๑ ใน ๓
ของจำนวนเทศบาลทั้งหมด
๓) Heisei
(ค.ศ. ๑๙๙๙ – ๒๐๑๐)
การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้จะให้ความสำคัญกับการกำหนดขนาดของเทศบาลให้มีความเหมาะสมกับคุณภาพการให้บริการและความต้องการของประชาชนที่มีความหลากหลาย
รวมทั้งมีปัญหาสภาวะการเงินการคลังของประเทศ โดยมีการปฏิรูปการกระจายอำนาจตามกฎหมายที่ออกในปี
ค.ศ. ๒๐๐๐ ที่ให้เทศบาลมีความเป็นอิสระในการบริหารและการตัดสินใจมากขึ้น
ลดการกำกับดูแลของส่วนกลาง ในขณะที่บริบทของญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีอัตราการเกิดต่ำ
ทำให้เทศบาลต้องบริหารจัดการหรือควบรวมเพื่อให้การจัดบริการสาธารณะเกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม
เนื่องจากญี่ปุ่นประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๙๗ – ๒๐๑๑
ทำให้รายได้ประจำปี ค.ศ. ๒๐๑๑ เหลือเพียงประมาณ ๑ ใน ๔ ของปี ค.ศ. ๑๙๙๗
ซึ่งหากดำเนินการควบรวมเพื่อดูแลประชาชนได้มากยิ่งขึ้นจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง
จากการเปลี่ยนแปลงทั้ง
๓ ช่วงข้างต้น จะพบว่า ญี่ปุ่นสามารถลดจำนวนเทศบาลเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของประเทศได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนส่งเสริมความเป็นอิสระในการบริหาร ตัดสินใจ และสร้างศักยภาพในการจัดทำภารกิจได้อย่างมีคุณภาพและคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การควบรวมดังกล่าวได้เกิดผลกระทบต่อการบริการและวิถีชีวิตของประชาชน
เช่น สถานที่ตั้งของเทศบาลอยู่ห่างไกลจากบ้านเรือนของประชาชนมากขึ้น
การสูญหายของวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง
ๆ เป็นต้น
ระดับ
|
๑๘๗๑
|
๑๘๘๘
|
๑๘๘๙
|
๑๙๕๓
|
๑๙๖๑
|
๑๙๙๙
|
๒๐๐๒
|
๒๐๐๖
|
๒๐๑๔
|
จังหวัด
|
๗๕
|
๔๗
|
๔๗
|
๔๖
|
๔๖
|
๔๗
|
๔๗
|
๔๗
|
๔๗
|
เทศบาล
|
-
|
๗๑,๓๑๔
|
๑๕,๘๕๙
|
๙,๘๖๘
|
๓,๔๗๒
|
๓,๒๒๙
|
๓,๒๑๘
|
๑,๘๒๐
|
๑,๗๑๘
|
ตารางที่ ๑: จำนวนท้องถิ่นแต่ละระดับระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๗๑ – ๒๐๑๔
๒. โครงสร้างการบริหารงาน
จังหวัดและเทศบาลจะมีโครงสร้างการบริหารงานที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาท้องถิ่น
(Assembly members) และผู้บริหารท้องถิ่น (Governor
or Mayor) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สำหรับสมาชิกสภาท้องถิ่นระดับจังหวัดจำนวน ๒,๖๘๗
คน เทศบาล ๓๐,๕๖๕ คน (เมืองใหญ่ ๑๙,๓๙๙ คน เมืองและหมู่บ้าน ๑๑,๑๖๖ คน) มีวาระการดำรงตำแหน่ง
๔ ปี โดยผู้สมัครต้องเป็นชาวญี่ปุ่นอายุ ๒๕ ปีขึ้นไป
และอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เข้ารับการเลือกตั้งมากกว่า ๓ เดือนก่อนวันเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ เช่น
การออกหรือยกเลิกระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติภายในเทศบาล การให้ความเห็นชอบในการจัดทำสัญญาข้อตกลง
การให้ความเห็นชอบด้านการเงินการคลัง ในขณะที่ผู้บริหารท้องถิ่นมีวาระการดำรงตำแหน่ง
๔ ปี และไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาของท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ เช่น การออกหลักเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในท้องถิ่น
กฎหมายปกครองของท้องถิ่นของญี่ปุ่น
(Local Autonomy Law) กำหนดให้ท้องถิ่นต้องไม่ดำเนินการกิจกรรมที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับตุลาการ
การลงโทษทางอาญา การขนส่งและโทรคมนาคมระดับชาติ การเดินเรือ อุตุนิยมวิทยา
และอุทกศาสตร์ สถาบันการศึกษาและการวิจัยระดับชาติ เป็นต้น จึงกำหนดอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นออกเป็น ๒
ประเภท คือ
๑)
หน้าที่โดยตรงของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุขและอนามัย
ฯลฯ
(๑)
ด้านการศึกษา โดยเป็นกิจการที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนและในสังคม
ซึ่งเทศบาลจะดูแลรับผิดชอบในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ในขณะที่จังหวัดจะดูแลรับผิดชอบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและโรงเรียนพิเศษ เช่น
โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ
(๒)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นและการส่งเสริมปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ เช่น การวางผังเมือง การดูแลลำน้ำและที่พักอาศัย เป็นต้น
(๓)
สาธารณสุขและอนามัย
โดยท้องถิ่นในระดับจังหวัดจะรับผิดชอบในการจัดบริการด้านการอนามัยและสาธารณสุขในพื้นที่ใหญ่
ๆ ในขณะที่เทศบาลจะดูแลและให้บริการเฉพาะผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ของตนเอง เช่น
การฉีดวัคซีน การให้บริการพยาบาล เป็นต้น
๒)
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น รัฐบาลจะประกาศเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการต่าง
ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น การก่อสร้างโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ
และการก่อสร้างโรงเรียนในระดับประถมและมัธยม
ในแต่ละจังหวัดและเทศบาลจะมีการตั้งกอง/ฝ่ายเพื่อรับผิดชอบภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งบางภารกิจจะดำเนินการในท้องถิ่นทั้ง
๒ ระดับ เช่น ด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม ด้านบริการสาธารณะ ด้านการเงินการคลังในขณะที่บางภารกิจจะดำเนินการเฉพาะในระดับใดระดับหนึ่ง
เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผน ที่มีเฉพาะในระดับจังหวัด ส่วนด้านเกษตรกรรม
ด้านภาษี ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะมีเฉพาะในระดับเทศบาล
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น
๑) ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นแต่ละระดับ
ส่วนกลางและท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีการแบ่งขอบเขตและอำนาจหน้าที่ได้อย่างชัดเจน
โดยพบว่า ท้องถิ่นสามารถจัดทำภารกิจได้ในขอบเขตที่กว้างและเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก
ยกตัวอย่างเช่น ด้านการศึกษาที่ส่วนกลางรับผิดชอบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
ขณะที่ท้องถิ่นรับผิดชอบตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา ด้านแหล่งน้ำที่ส่วนกลางรับผิดชอบลุ่มน้ำสายหลัก ขณะที่ท้องถิ่นจะรับผิดชอบลุ่มน้ำสายรองและแหล่งน้ำขนาดเล็ก
ด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุขที่ส่วนกลางรับผิดชอบในเชิงหลักฐานและมาตรฐาน
เช่น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของแพทย์ ในขณะที่ท้องถิ่นจะรับผิดชอบการบริหารสถานบริการทางการแพทย์
เป็นต้น
|
General,
Safety
|
Education
|
Welfare, Sanitation
|
Infrastructure
|
|
Central
|
Diplomacy
Defense
|
University
|
License for doctor
Approval of medicine
|
First-class river
|
|
Local
|
Prefecture
|
Police
|
High school
|
Public health center
|
Second-class river
|
Municipality
|
Fire Defense
|
Junior high school
Kindergarten
Cultural Facility
|
Public health center
(limited cities)
|
Small river
|
ตารางที่
๒: ตัวอย่างการแบ่งขอบเขตและอำนาจหน้าที่ระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นของญี่ปุ่น
๒) การจัดสรรงบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นมีสัดส่วนอยู่ที่ ๔๒.๒:๕๗.๘ โดยประเภทรายจ่ายที่มีสัดส่วนมากที่สุด คือ ด้านสวัสดิการสังคม (๒๒.๔%) แบ่งเป็นรายจ่ายของท้องถิ่นสูงถึง ๗๑% ส่วนกลางเพียง ๒๙% ขณะที่งบชำระหนี้ (๒๐.๖%)
แบ่งเป็นรายจ่ายของส่วนกลาง ๖๔% และท้องถิ่น
๓๖%
หมวดรายจ่าย
|
สัดส่วนรายจ่ายทั้งหมด
|
ร้อยละของสัดส่วนรายจ่ายทั้งหมด
|
|
ส่วนกลาง
|
ท้องถิ่น
|
||
Public welfare
(excluding pension)
|
๒๒.๔
|
๒๙
|
๗๑ (Child welfare, elderly care and welfare)
|
School education
|
๘.๙
|
๑๓
|
๘๗
(Kindergartens, Junior high schools, etc)
|
Land development
|
๘.๒
|
๒๖
|
๗๔ (Urban planning, road & bridges, etc)
|
Debt services
|
๒๐.๖
|
๖๔
|
๓๖
|
ตารางที่
๓: ตัวอย่างการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้กับส่วนกลางและท้องถิ่นของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. ๒๐๑๖
๓) การบริหารงานบุคคล
บุคลากรท้องถิ่นของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ มีจำนวน
๒,๗๔๒,๕๙๖ คน แบ่งออกเป็นระดับจังหวัด (Prefecture) ๑,๓๘๗,๗๐๓ คน
ระดับเทศบาล (Municipality) ๑,๓๕๔,๘๙๓ คน
โดยมีสัดส่วนบุคลากรทางการศึกษามากที่สุดจำนวน ๑,๐๑๙,๐๖๐ คน หรือประมาณ ๔๐%
สำหรับการคัดเลือกและแต่งตั้งจะดำเนินการโดยแต่ละท้องถิ่นที่เป็นอิสระจากส่วนกลางอย่างแท้จริง ทั้งนี้
ญี่ปุ่นมีนโยบายให้มีการหมุนเวียนบุคลากรจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น
และจากท้องถิ่นไปยังส่วนกลางได้
โดยเชื่อว่าการหมุนเวียนดังกล่าวจะทำให้บุคลากรมีความเข้าใจบริบทและความเป็นจริงของแต่ละท้องถิ่น
และสามารถนำมากำหนดนโยบายหรือการปฏิรูปที่เหมาะสมและเป็นไปได้ รวมทั้งเป็นการเพิ่มทักษะของบุคลากรในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาและข้อจำกัดต่าง
ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. การสร้างความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น
เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้ท้องถิ่นเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน
โดยมีรูปแบบความร่วมมือในหลายลักษณะ เช่น การมอบหมายให้ท้องถิ่นอื่นทำแทน (Entrust) ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดถึง ๗๒.๖% ขณะที่การร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่น (Cooperative) มีสัดส่วนรองลงมาอยู่ที่
๑๖.๘% โดยภารกิจที่มีการจัดทำความร่วมมือกันมากที่สุด ได้แก่
ภารกิจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ ๑๘.๒% ขณะที่ภารกิจด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม
และด้านการแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน มีสัดส่วนรองลงมาอยู่ที่ ๑๔.๑% และ
๑๑.๗% ตามลำดับ ทั้งนี้
ภารกิจที่นำมาดำเนินการร่วมกันจะแยกออกจากภารกิจปกติของแต่ละท้องถิ่น โดยระดับจังหวัดจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก Ministry of Internal Affairs and Communications
(MIC) ขณะที่ระดับเทศบาลจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารท้องถิ่นระดับจังหวัด
(Governor) ก่อน
รูปแบบความร่วมมือ
|
สัดส่วน (%)
|
Entrustment
to another local government
|
๗๒.๖
|
Cooperative
of local governments
|
๑๖.๘
|
Collaborative
agreement
|
๒.๐
|
ลักษณะภารกิจที่ดำเนินการร่วมกัน
|
|
Environment
and Hygiene (e.g. waste disposal, sewerage)
|
๑๘.๒
|
Health and
Welfare (e.g. aged care service, hospitals)
|
๑๔.๑
|
Emergency (e.g.
fire-fighting, ambulance)
|
๑๑.๗
|
ตารางที่
๔: สัดส่วนของรูปแบบความร่วมมือและลักษณะภารกิจที่ดำเนินการร่วมกัน
**************
--------------------
*นักพัฒนาระบบราชการชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ก.พ.ร. (๒๕๖๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น