วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มาตรการพัฒนาคุณภาพของร่างกฎหมาย

นายปกรณ์ นิลประพันธ์
กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                   กฎหมายเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ประสิทธิภาพของการบริหารราชการแผ่นดิน ภาระทางการเงินและการคลังของรัฐ ภาระต่อบุคคล ทั้งยังมีผลกระทบต่อการพัฒนานวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย

                   ดังนั้น การเสนอให้มีกฎหมายใดจึงควรที่จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายนั้นโดยละเอียดรอบคอบ รวมทั้งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงเสียก่อนที่จะเสนอร่างกฎหมายนั้นเข้าสู่กระบวนการออกกฎหมายต่อไป

                   การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) จะทำให้ทราบถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ครบถ้วนและรอบด้านเกี่ยวกับร่างกฎหมายนั้น ว่าจะมีผลกระทบในทางบวกและทางลบอย่างไร ควรกำหนดกลไกของกฎหมายอย่างไรเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริงและเป็นระบบ ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพของร่างกฎหมาย (Quality of legislation)

                   ส่วนการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับร่างกฎหมายอย่างทั่วถึงนั้น ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงที่ครบถ้วนและรอบด้านโดยสอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation) อันเป็นแก่นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลอีกทางหนึ่งด้วย

                   ที่ผ่านมาบ้านเรามีการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายอันเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายอยู่บ้างตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘  อย่างไรก็ดี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้นการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายเป็นไปในเชิงรูปแบบมากกว่าเนื้อหา กล่าวคือ จะมีเอกสารแสดงการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายไปพร้อมกับร่างกฎหมายที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาด้วย แต่หากพิจารณาทางด้านเนื้อหา ผู้เขียนพบว่ายังไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียด แต่มีลักษณะทำนองการเติมคำลงในช่องว่างให้ครบตามรายการที่กำหนดเท่านั้น

                   ผู้เขียนขอยกตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น การเสนอให้มีการตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน ก็ไม่มีการวิเคราะห์ว่าการตั้งองค์กรหรือหน่วยงานนั้นสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ สร้างภาระต่องบประมาณปีละเท่าใด คุ้มค่าหรือไม่ ทั้งที่การตั้งองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ นั้นจะเป็นภาระผูกพันงบประมาณอย่างมากและยาวนาน หรือกลไกที่ใช้ในร่างกฎหมายก็ใช้ระบบควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยรัฐผ่านการอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต หรือจดทะเบียนกับแทบทุกกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่กลไกดังกล่าวไม่เหมาะสมกับกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market oriented economy) ซึ่งสร้างต้นทุนและภาระให้แก่ผู้ประกอบการ ไม่สอดคล้องกับการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น

                  ผู้เขียนเห็นว่าการที่หน่วยงานของรัฐมิได้วิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายกันอย่างจริงจังนั้นสืบเนื่องจากการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายเป็นเพียงกระบวนการตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ อันเป็นคำสั่งภายในของฝ่ายบริหารเท่านั้น ไม่มีค่าบังคับ แม้จะมีการจัดทำคู่มือการดำเนินการดังกล่าวเผยแพร่โดยทั่วไปแล้ว แต่ภายใต้การทำงานตามระเบียบ (Rule based) ของระบบราชการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายไม่ว่าจะกระทำละเอียดหรือไม่ ก็ไม่ได้ทำให้ผู้วิเคราะห์ได้แก้วอะไรขึ้นมา ทำละเอียดหรือไม่ละเอียดก็ได้ผลงานเท่ากัน แต่ถ้าทำไม่ละเอียดสบายกว่า จึงไม่น่าแปลกใจที่การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่ผ่านมาเป็นเพียงการทำให้ครบรูปแบบมากกว่าจะใส่ใจในเนื้อหา

                  สำหรับผู้เขียน นี่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถพัฒนาคุณภาพกฎหมายไทยได้เสียที แม้เราจะมีความสามารถในการผลิตกฎหมายออกมาเป็นจำนวนมากก็ตาม

                   ผู้เขียนขอเรียนเป็นข้อมูลว่าการพัฒนาคุณภาพของกฎหมายโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายนั้นปัจจุบันเป็นแนวคิดกระแสหลักของโลก ในอาเซียนและเอเปคที่ประเทศไทยเป็นภาคีนั้นก็เน้นเรื่องกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายหรือ Good Regulatory Practices (GRP) เช่นกัน ที่ก้าวหน้ากว่าใคร ๆ ก็คือมาเลเซียที่ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายอย่างจริงจัง จนนำไปสู่การลดกระบวนงานที่ไม่จำเป็นของทางราชการลงได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการลดงบประมาณจำนวนมหาศาลที่เคยใช้ทุ่มเทไปในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ทั้งยังสร้างความโปร่งใสในระบบราชการด้วย จนบัดนี้ ranking ของมาเลเซียใน indexes ที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนหลายเรื่องแซงหน้าไทยเราไปแล้ว และผลพวงจากกระบวนการนี้นำไปสู่การพัฒนาระบบให้บริการเบ็ดเสร็จผ่านอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วแม้จะยังไม่ครบทุกบริการก็ตาม ท่านสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.malaysia.gov.my และขณะนี้อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว ก็กำลังพัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  
                 ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอคิดดัง ๆ ด้วยคนว่า  บัดนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายกันอย่างจริงจังเสียที โดยผู้เขียนมีข้อเสนอดังนี้

                   ๑. เสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมาย เพื่อให้การวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายมีค่าบังคับ แทนที่จะเป็นเพียงระเบียบภายในฝ่ายบริหารเช่นเดิม

                  ๒. กำหนดให้การเสนอร่างกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการนั้น หน่วยงานของรัฐซึ่งเสนอร่างกฎหมายต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายไปพร้อมกันด้วย

                   ๓. ร่างกฎหมายใดไม่มีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายเสนอมาด้วย หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายใดมีเนื้อหาสาระไม่เพียงพอที่จะใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในทางนโยบายของคณะรัฐมนตรี จะเสนอร่างกฎหมายนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามิได้

                  ๔. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายอย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายการ ดังต่อไปนี้
·          ปัญหาอันเป็นที่มาของการเสนอร่างกฎหมายนั้นและผลกระทบของปัญหาดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม การบริหารราชการแผ่นดิน การเงินการคลัง การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
·          สาเหตุของปัญหา
·          มาตรการหรือวิธีการต่าง ๆ ที่อาจนำมาใช้ในการแก้ไขสาเหตุของปัญหา ทั้งมาตรการหรือวิธีการทางกฎหมาย และมาตรการหรือวิธีการอื่น ไม่ว่าจะเป็นมาตรการหรือวิธีการที่มีอยู่แล้วหรือที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่ รวมตลอดทั้งขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินการแต่ละมาตรการหรือวิธีการ
·          ต้นทุนและภาระต่องบประมาณแผ่นดิน และต้นทุนและภาระของประชาชนที่เกิดขึ้นจากแต่ละมาตรการหรือวิธีการดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผลผลิตและผลลัพธ์ของแต่ละมาตรการหรือวิธีการที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม การบริหารราชการแผ่นดิน การเงินการคลัง การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
·          มาตรการหรือวิธีการที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการแก้ไขสาเหตุของปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
·          สรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมาย
·          ความสอดคล้องของร่างกฎหมายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นที่ใช้บังคับอยู่แล้ว ตลอดจนพันธกรณีที่ราชอาณาจักรไทยมีต่อรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือที่หน่วยงานของรัฐมีความผูกพันกับหน่วยงานของรัฐของต่างประเทศ
·          สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับหลักการอันเป็นสาระสำคัญของร่างกฎหมาย และแนวทางป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาผลกระทบของร่างกฎหมาย
  
                 ๕. ในการคำนวณต้นทุนและภาระต่องบประมาณแผ่นดิน และต้นทุนและภาระของประชาชนนั้น ถ้าเป็นการคำนวณต้นทุนและภาระต่องบประมาณแผ่นดิน ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเสนอร่างกฎหมายคำนวณจากประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจำเป็นต้องใช้ในการบังคับการให้เป็นไปตามร่างกฎหมายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละปีงบประมาณ ถ้าเป็นการคำนวณต้นทุนและภาระของประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเสนอร่างกฎหมายคำนวณจากระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ประชาชนผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแต่ละรายต้องใช้จ่ายเป็นรายกิจกรรมในแต่ละปีงบประมาณ คูณด้วยจำนวนประชาชนซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนั้น
  
                 ๖. การรับฟังความคิดเห็น ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีอยู่แล้วมาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ให้ถือว่าร่างกฎหมายเป็นโครงการของรัฐตามระเบียบดังกล่าว

                  ๗. ร่างกฎหมายใดที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเผยแพร่ข้อมูลร่างกฎหมายพร้อมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายนั้นต่อประชาชนภายในสามวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ โดยอย่างน้อยต้องเผยแพร่ในระบบสารสนเทศของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

                  ๘. เพื่อให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายมีคุณภาพ สมควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้เสนอกฎหมายด้วย โดยให้คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ใช้บริการข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายเป็นผู้ประเมิน

  
                 ผู้เขียนเชื่อโดยสุจริตว่าถ้าทุกฝ่ายจริงจังกับเรื่องนี้ จะสามารถลดการเสนอกฎหมายที่รังแต่เพิ่มต้นทุนและภาระแก่งบประมาณและประชาชนได้ไม่น้อยทีเดียวเชียว.

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข้าราชการกับการพัฒนานวัตกรรมในการทำงาน

มีผู้มาบ่นให้ผู้เขียนฟังอยู่เสมอว่าข้าราชการไทยมีความสามารถพิเศษประการหนึ่ง นั่นคือความสามารถในการทำเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นเรื่องยาก ๆ ได้เสมอ แทนที่จะทำเรื่องยาก ๆ ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ

ในฐานะข้าราชการคนหนึ่ง ผู้เขียนจึงลองมาทบทวนดูว่าอะไรหนอที่ทำให้ข้าราชการไทยเรามีความสามารถพิเศษอันแปลกประหลาดเช่นนี้ 

ผู้เขียนพบว่าระบบราชการไทยเรานั้นทำงานตามกฎระเบียบ (Rules base) ใครทำผิดกฎระเบียบถือว่ากระทำความผิด ส่วนจะผิดมากผิดน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าทำตามกฎระเบียบแบบเป๊ะ ๆ ละก็ รับรองว่าท่านมีเงินเดือนกินจนครบเกษียณแน่นอน แม้กระทั่งระบบการประเมินผลงานก็ถูกออกแบบมารองรับการทำตามกฎระเบียบเช่นกัน ใครทำตามระเบียบจะได้รับการประเมินในระดับดีเด่นหรือดีมากอย่างแน่นอน

ในทัศนะของผู้เขียน ระบบนี้ดีในแง่ที่ว่ามันทำให้กลไกของรัฐขับเคลื่อนไปได้เรื่อย ๆ แต่ในอีกทางหนึ่งนั้น ระบบนี้ไม่กระตุ้นให้ข้าราชการพัฒนานวัตกรรมในการทำงานสักเท่าไร เพราะเพียงแค่ทำตามกฎระเบียบซึ่งเป็นอะไรที่ทำได้ง่าย ๆ ก็ได้คะแนนเต็มแล้ว จะขวนขวายคิดอะไรไปให้เหนื่อยยาก เพราะคิดมากไปก็ไม่ทำให้ได้อะไรมากไปกว่าที่เป็นอยู่ เผลอ ๆ จะโดนเพื่อนร่วมงานรุมสกรัมเสียอีกว่าไปคิดหางานใหม่ ๆ ขึ้นมาให้พวกพ้องเหนื่อยยากทำไมกัน ของเดิม ๆ มันก็ดีอยู่แล้ว ข้าราชการส่วนมากจึงเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉะมากขึ้นตามอายุราชการ และนั่นอาจเป็นที่มาของเสียงบ่นที่เข้าหูผู้เขียนอยู่บ่อย ๆ

ผู้เขียนเห็นว่าแม้ปัจจุบันข้าราชการจะไม่ได้มีบทบาทเป็นหัวหอกในการพัฒนาประเทศเหมือนอย่างในอดีต แต่เราเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่ภาคเอกชนและประชาสังคมที่เขาทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศ ถ้าข้าราชการสามารถพัฒนานวัตกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของตนในการให้บริการแก่ประชาชนหรือการจัดทำบริการสาธารณะแล้ว ข้าราชการอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะแปรสภาพจากฟันเฟืองตัวหนึ่งเป็นบูสเตอร์ของระบบได้ และจะทำให้ประเทศเราก้าวไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นทัดเทียมกับเพื่อนบ้านที่เขาไปกันลิ่ว ๆ แล้ว

ผู้เขียนคิดว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและการประเมินผลงานเสียใหม่ ก็น่าจะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในภาคราชการได้และจะส่งผลดีกับประเทศโดยรวม เช่น อาจต้องเพิ่มการประเมินเรื่องการพัฒนานวัตกรรมในการทำงานเข้าไปด้วย ใครทำตามกฎระเบียบเฉย ๆ อาจได้คะแนนเพียง 2 (จากคะแนนเต็ม 5) คือทำตามกฎระเบียบเป๊ะได้ 2 คะแนน แต่ถ้ามีบกพร่องบ้างรับไป 1 แต่ถ้าใครคิดอะไรใหม่ ๆ ได้ในการให้บริการแก่ประชาชนหรือการจัดทำบริการสาธารณะที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ เช่น สามารถลดระยะเวลาหรือลดต้นทุนให้แก่ผู้รับบริการหรือประชาชนได้ หรือลดต้นทุนในการปฏิบัติราชการได้ จะได้คะแนน 3 หรือ 4 หรือ 5 แล้วแต่ความสำคัญของนวัตกรรมนั้น และได้รับค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มขึ้น top up จากเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง เป็นต้น 

ในแง่การประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐก็เช่นกัน ทุกแห่งต้องมีการพัฒนานวัตกรรมในการทำงานทุกปี ไม่ใช่กี่ปีก็เหมือนเดิม ถ้าเหมือนเดิมหรือคล้าย ๆ เดิมทุกปี ไม่ต้องเสียเวลาประเมินก็ได้ เพราะไม่มีอะไรดีขึ้นแต่ต้องเสียเวลาเสียงบประมาณทำเอกสารต่าง ๆ มากมาย และผู้เขียนเห็นว่าการประเมินนวัตกรรมของหน่วยงานของรัฐนั้น ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่ไม่ต้องใช้เงินงบประมาณก่อน เช่น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เป็นต้นว่าการลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนที่ต้องเร็วขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ทุกปี หรือไม่ก็ลดขั้นตอนการทำงานลงได้อย่างมาก มิฉะนั้นหลายหน่วยงานคงนำเงินงบประมาณไปใช้ในการซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันตะพึดไป

ถ้าหน่วยงานไหนไม่มีการพัฒนานวัตกรรมเลย ก็แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานนั้นไม่มึความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน เรื่องที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นก็จะไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกและจะเกิดปัญหาอย่างที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ กรณีในปัจจุบัน

สังคายนาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังเสียทีเถิดครับ ขอเร่งด่วนก่อนเรื่องการตั้งบ่อนหรือสวนสนุกก็แล้วกัน

เราช้ากว่าเพื่อนบ้านมานานมากแล้วนะครับ.

ปกรณ์ นิลประพันธ์

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Thailand's Licensing Facilitation Act by Pakorn Nilprapunt

Executive Dinner Talk
European Association for Business and Commerce
Ease of Doing Business and Transparency Upgrade:
Thailand’s Facilitation Act
9th June 2015
by
Mr. Pakorn Nilprapunt
Full-time Law Councilor
Office of the Council of State

**************

His Excellency Professor Dr. Visnu Krue-Ngam,
His Excellency Ambassadors,
President of the European Association for Business and Commerce,
Members of the European Association for Business and Commerce,
Distinguished guesses,
Ladies and Gentlemen,

[1]                   First of all, I would like to present my special thanks to the European Association for Business and Commerce (EABC) and all EABC staffs for the industrious and very impressive effort to organize this dinner talk this evening.   I would also like to thank His Excellency Professor Dr. Visnu Krue-Ngam who allows me to introduce to all of you on his behalf the works of the Royal Thai Government on the ease of doing business in Thailand; particularly to the Licensing Facilitation Act and our steps forwards.   I shall do my best to make it clears within a very short but invaluable period.

[2]                   His Excellency, Ladies and Gentlemen, the Royal Thai Government profoundly aware that free and fair competition, market openness and ease of doing business will lead our country to sustainable and inclusive growth.  As a member of WTO, APEC and ASEAN, Thailand upholds the principles of non-discrimination, free and fair competition and market openness. The past governments spent their best efforts to be in line with those principles and to create fundamental structure and attractive environment for business.  Nevertheless, the unease of doing business in Thailand and corruption are outcry by both local and foreign businessmen through the past years.  The question is why?  Why Thailand is unable to come across this hurdle?

[3]                   When the current government as led by the Prime Minister General Prayut Chan-o-cha took office last year, the top priority agendas that the government pays serious attention to; other than national peace keeping, constitution drafting, reconciliation and counter corruption, is an increasing of Thailand National Competitiveness. 

[4]                   To lift up the national competitiveness of the country, the government starts directly with the problem on the ease of doing business which has been complained by investors for very long time.  The objective of the government is to override this problem within the Road Map of the government as declared to the public.  The government has also realised that this problem comes along with the problem on transparency of laws and regulations as well as law enforcement of government officials which will finally lead to another big issue; that is to say, corruption. 

[5]                   If no precise and immediate actions have been taken against these problems, Thailand may no longer be an attractive place for investors anymore and we shall gain nothing from trade liberalisation.

[6]                   The government then entrusted the Law Reform Commission of the Office of the Council of State as you may know well in Thai as “Krisdika” to do research on this matter and propose the best solution against those problems to the Council of Ministers for further action. 

[7]                   The Law Reform Commission, as I will call this Commission hereinafter shortly as the LRC which is now chaired by His Excellency Meechai Ruchuphan, the former Speaker of the National Assembly, found that under the principle of the Rule of Law, the backbone of State’s administration is laws and regulations.  The LRC set up hypothesis that perhaps legal mechanism of the existing laws and regulations themselves are the fundamental grounds of the problems on the ease of doing business and transparency in Thailand.

[8]                   The empirical evidence which supports the presumption of the LRC on impact of laws and regulations on the ease of doing business and transparency are Global Competitiveness Report of the World Economic Forum and IMD’s World Competitiveness Yearbook.  According to those reports, it appeared to the LRC that while other indicators were getting better, the indicators on burden of government regulations and on transparency and corruption are at the middle-low ranking for many consecutive years.  These scientific evidences convinced the LRC to believe strongly that laws and regulations are hurdles for the ease of doing business and transparency in our country.

[9]                   The LRC then started the tough research.  It studied more than 650 Acts of Parliament which is still in force today and also the bills which had been submitted to the current Cabinet one by one.  The result of this study was interesting!  About 90 percent of Thai legislations, even the bills proposed at the time being, based on the close government control system.  That means almost all activities of the people, especially businesses activities are subjected to licensing!!

[10]                 In the LRC view, the close government control system was fashionable style of laws and regulations during the 50s to the 70s.  This system was used generally around the globe while an international trade was in the protectionism era.    But, the world legal concept had passed this post and went to deregulation in the 80s, to better regulations in 2000s and is at better regulations for better lives nowadays. 

[11]                 The LRC found that the close control of government through licensing is not friendly with trade liberalization environment of the world today.  Under this system, the power to grant permission or license has been delegated by the Legislatives through the Act of Parliament to the authority, and the authority has a very broad discretionary power in granting of permission or license.  Just a few legislations imposed the extent to which the discretional power of the authority should be exercised.  In this situation, the granting of each license depends on merit and ethic of the authority solely.  Therefore, discretion of different authorities is varieties and produces unpredictable outcome. 

[12]                 Moreover, the Legislators has also delegated the authority the powers to lay down subordinate legislations determining rules, procedure and conditions for the granting of each license as he thinks appropriate.  When dig down deep into substance of each subordinate legislation however, it appears to the LRC that almost all subordinate legislations were made to ease the performance of their powers and duties rather than public facilitation.  The LRC found that the cost-benefit and cost-effectiveness relationship as well as public consultation has never been taken into consideration for the issuance of the subordinate legislations.

[13]                 One of an inconvenience truth is that both Acts of Parliament and their subordinate legislations have a little bit change once they have been enacted!  This matter relates to the attitude of the officials that they fear of change.  As a result, the provisions of Thai laws and regulations seem to be static rather than dynamic as they should be.  This is critical situation because it could be presumed that most of Thai laws and regulations may not be responsive to the current situation of the world.  If the trust in Thai legal system has declined, investment in Thailand may be diminished little by little.      

[14]                 Another disappointed finding is that almost all authorities do their works without collaboration with the other, even within the same agency.  Working with others in concert manner is something strange in Thailand’s bureaucracy.  So, the people as well as investors have to do hard work with their own cost; which is high and may not be estimated, if they want to run their activities or businesses legally!  They have to find out by themselves which authority is responsible for the activity or business they want to do, where such authority is located and what are documents to be used for the application for license or permission?   Further, the work flow and duration for the granting of license of each authority is not opened to public.  The people and investors therefore do not know when the license is to be granted or even rejected, how long do they have to wait for?  This situation is not comply with the nature of doing business and the principle of transparency.  It causes unnecessary administrative burden as well as unnecessary compliance and administrative costs to the people and investors and being stairways to corruption and bribery of the corrupted officials.

[15]                 For foreign investors, the problem is more critical than the problem faced by local investor, without regard to their nationalities.  As you may know well, only a few Thai legislations have been translated into other languages.  So, in the view of the investors who never make investment in Thailand before, this situation is similar to running in the land mine field.  Risks are all around!  The LRC is therefore of opinion that this problem is significant barrier to market openness.  If Thailand wants to turn on the light of transparency; especially for foreign investors, and to open the door to welcome foreign investors, all legislations and regulations have to be translated into other languages; especially English which is the official language of ASEAN.  According to the EISENHOWER MATRIX, this problem is important, but not urgent because it should take some period of time to produce such translation.  The LRC decide to prioritize this problem to the second tier.

[16]                 From the aforesaid study, it appeared to the LRC that the close government control is not fit for all activities or businesses, but for the restricted activities or businesses which relates to national security, public order, public health and sanitary or good moral.  However, it is not possible to amend the legislation with close government control system one by one because it should take years.  If so, what should be done to reach the target on the ease of doing business as soon as possible as required by the government?

[17]                 The LRC then turned back to analyze the research once again.  This time the LRC found one weak point of Thai licensing problem.  As I have said earlier, the granting of license under Thai laws base on discretion of each authority.  There was no standard procedure for the granting of license.  So, in order to attack this problem directly, the LRC proposed that:
                        First, the standard procedure for the granting of license shall be set up by the Act of Parliament in which all government agencies have to comply with as an umbrella for all licensing;
                        Second, such standard procedure must require all authorities  having powers and duties in granting any kind of license to disclose to the public by any means, especially on electronic basis, the rules, procedure, conditions, costs and period of time for the applying and granting of license as well as all documents and evidences which shall be submitted altogether with the application for license;
                        Thirdly, the manual for each licensing composing of the details as I have said in the second proposal shall be published and the public shall enjoy the right to access to such manual easily without charge.  But if the individual asks for a printed version of such manual, such person shall have to pay for that at a reasonable cost.  The common objective of the second and the third proposal are to strengthen transparency in licensing process;
                        Fourth, if any official fails to comply with the standard rule and the manual, he must be subjected to disciplinary penalty and may also be subjected to criminal penalty in some cases.  This sanction should be imposed as a security of the ease of licensing;
                        Lastly, each authority shall review the law that empowers him to grant license as to whether such licensing should be improved, repealed or replaced by any other measure every five years with close stakeholders’ consultation.  If it is necessary, the authority may conduct the review prior to the completion of such period.  This measure is proposed to make laws and regulations become dynamic tool.

[18]                 The LRC also proposed that each government agency shall, in rendering licensing facilitation to the public, establish its Service Link Center to accept all applications for licenses, and to provide license-related information as prescribed by the laws related to licensing, under its responsibilities to the public in accordance with the guideline laid down by the Public Sector Development Commission.  Additionally, the One Stop Service Center shall also be established as the center for receiving all applications under the laws related to licensing.

[19]                 The LRC therefore drafted the Licensing Facilitation bill upon the five principles as aforesaid and submitted to the Council of Ministers for approval. It should be noticed that this bill was one of the first six bills that the government submitted to the National Legislative Assembly once this Assembly had been established.  This shows how much the current government care about the ease of doing business and transparency problems.  The bill had been approved by the National Legislative Assembly and published in the Government Gazette on the 22nd January 2015.  This Act shall come into force at the expiration of 180 days as from the date of its publication in the Government Gazette or on the 21st July 2015. 

[20]                 Since the National Legislative Assembly passed this Act, the Office of the Public Sector Development Commission (OPDC) and Krisdika which is a secretariat unit of the LRC have set up the joint task force to provide education of this Act to both public and private sectors throughout the country.  Further, the preparation procedure as proposed by the two organizations had been approved by the Council of Ministers.  According to the work plan, OPDC shall, within the first 60 days, have to prepare an instruction for the making of manual to all government agencies.  During the next 60 days, the authorities having powers and duties in granting of license shall make a draft manual and send back to OPDC for examination.  The last 60 days shall be the period for publication of manuals.  OPDC expects that this plan shall be implemented as smooth as silk.  For further information on the progress of the work plan, you may have this from OPDC directly.          

[21]                 Due to time limit, I shall go directly to the key substance of the Act.  Under section 7, if the license to do any act is required by law, the authority shall prepare the licensing manual which at least composes of the rules, procedure and conditions (if any) for the submission of the application, work flow and period of time for the granting of license as well as the list of documents or evidences to be attached with the application, and the submission of the application may be made via electronic method in place of submission by hands if so specified in the manual.  All authorities are required to finish and publish their licensing manuals by 21st July 2015.

[22]                 The licensing manual shall be exposed at the place for submission of application and shall be disseminated in the website of each government agency.  If the individual requests for a printed version of such manual, he has to pay for that at a reasonable price as specified therein.

[23]                 In order to ensure that the manual is made appropriately, the Public Sector Development Commission (PDC) shall have the duty under this Act to inspect so to whether the work-flow and period of time for the granting of license as published in the manual comply with the rules and procedure for good public governance or not.  If it is of opinion that such work flow or period of time may cause unnecessary delay, unnecessary cost or unnecessary burned, the PDC shall have the duty to submit the proposal for change to the Council of Ministers.

[24]                 Further, each government agency shall establish its Service Link Center or SLC to accept all applications for licenses, and to provide license-related information as prescribed by the laws related to licensing, under its responsibilities to the public in accordance with the guideline as laid down by the PDC.

[25]                 Another substantial matter of this Act appears in section 8.  The Act places the duty to the government official at the front desk to examine the completeness of the application and its attached documents or evidences.  If the submitted application has any defect or the attached documents or evidences do not fulfill the requirements, he shall suggest the applicant to fix it or fill it up at once.  In the case where the defect or the requirements could be fixed or fulfilled instantly, he shall notify the applicant to do so forthwith.  If the fixing of defect or the fulfilment of the requirement could not be done at that moment, the government official shall make a record of such defect or the requirements to be fulfilled as well as the period of time in which those have to be fixed or fulfilled.  In this regards, the government official and the applicant shall sign their names on that record, and the government official shall deliver a copy of that record to the applicant as evidence.  This evidence is very important for the applicant if he want to bring the case against the official.

[26]                 If the application and the attached documents or evidences submitted by the applicant is complete as specified in the licensing manual for the public, or the application has been fixed or the documents or evidences has been fulfilled as suggested by the government official or as appeared in the aforesaid record, the government official shall not be able to call for any other documents or evidences and shall not refuse the application on the ground of defect of the application or of insufficient documents or evidences, except where such ground arising from the negligence or dishonest in the performance of duties of the government official and the granting of license is unable to be made.  In this case, the authority may have an order as he think fits, but he shall bring disciplinary action or bring a charge against all relevant government officials without delay.

[27]                 In the case where the applicant fails to comply with the suggestion of the government official or the record made under section 8 as mentioned above, section 9 provides that the government official shall return the application to the applicant and shall clarify in writing the ground of such return altogether.  In this case, the applicant has two choices.  Firstly, he may appeal against the return of the application in accordance with the law on administrative procedure.  Alternatively, he may submit the new application.

[28]                 After receiving the application, the authority is required by section 10 to finish his consideration within the period as specified by the licensing manual and shall then notify the result thereof to the applicant within seven days as from the date he finishes the consideration.  If the authority is unable to finish his consideration, he shall clarify in writing the ground of delay to the applicant every seven days until finish.  In this case, he shall submit a copy of such written clarification to the PDC every times.  If the PDC is of opinion that such delay is caused by unreasonable ground or by inefficiency of the authority or the related government agency, the PDC shall report to the Council of Ministers together with the recommendations to strengthen the efficiency of such agency.  If the authority fails to make a clarification as I have said, it shall be deemed that such authority commits or omits the commission of an act which causes damages to other persons and he shall be liable to such damage; provided that, the failure to do so caused by force majeure.

[29]                 Another notable point of this Act is section 13.  This section places the duty to the authority to impose the rules and guidelines for monitoring business or activity of the licensee as to whether it complies with laws related to licensing, and the authority shall have the duty to conduct examination in compliance with those monitoring rules and guidelines.  If it appears to the government official himself or upon any complaint that any activity or business of the licensee causes nuisance or damage to another, there shall be the duty of the government official to conduct investigation and to shall have to take any appropriate action under his powers and duties to stop such nuisance or damage at once.  Failure to do so is deemed to be the omission of official duties as prescribed by laws.

[30]                 Further, section 14 empowers the Council of Ministers to propose the Royal Decree to establish the One Stop Service Center or OSSC to be the center for receiving all applications under the laws related to licensing.  Once the OSSC has been established, if the laws related to licensing or rules issued under those laws prescribe that the application, documents, evidences or fees shall be submitted at any place, if they are submitted to the OSSC, it shall be deemed that that application, documents, evidences or fees is submitted legally under those laws or rules.

[31]                 At this moment, the OPDC in cooperation with the Electronic Government Agency (Public Organization) is studying for the best solution and appropriate electronic platform for the establishment of OSSC.  I would say that the NSW Business Licensing Information Service or BLIS of the New South Wales Government of Australia and Service Canada are our role models for development of our OSSC.

[32]                 Additionally, every five years as from the date the Licensing Facilitation Act comes into force or as from 21st July 2015, each authority is required by section 6 to conduct review the law that empowers him to grant license as to whether such licensing should be repealed or replaced by any other measure.  If it is necessary, the authority may conduct the review prior to the completion of such period.  When finish, the authority shall submit the report of the review to the Council of Ministers for consideration.  In this regards, the Council of Ministers shall have to take recommendation of the LRC into its consideration as well.

[33]                 However, please note that the Licensing Facilitation Act of 2015 shall not apply to the followings:
                        (1)   the National Assembly and the Council of Ministers;
                        (2)   the Court’s rules, procedure and judgment and the performance of duty of the official in accordance with civil procedure and the execution of, and deposit in lieu of the performance in, any civil case;
                        (3)   the execution under the criminal procedure;
                        (4)   the licensing under the law on natural resources and environment;
                        (5)   the licensing related to military strategic operation, including the law related to arms control and private armory;
                        (6)   any activity or agency which shall be prescribed by the Royal Decree.

[34]                 Despite there are some activities or acts which have been exempted from the compliance with this as above mentioned, the Council of State has just given recommendation to the Council of Ministers that the measure under this law should be applied to the greatest extent because it enhances transparency in public governance and easing business of both local and foreign investors.  If the Council of Ministers agrees with the said recommendation, just a few matters shall be exempted from this Act.

[35]                 For more details of the Licensing Facilitation Act, you can download the English translation of the Act for the English page of the OPDC website at www.opdc.go.th and the blog lawdrafter.blogspot.com which is my own blog.

[36]                 Apart from the Licensing Facilitation Act as mentioned above, the LRC has proposed the Sunset Law to the Council of Ministers for approval.  This Royal Decree requires each Minister having charge and control of each Act of Parliament to conduct review all laws and regulations under his responsibility every five years.  This is the ex post evaluation of legislations so as to make all laws and regulations to be compliance with the dynamic world.  The review shall be conducted with close consultation with stakeholders and the report of such review shall be disclosed to public and shall also be tabled to both the Council of Ministers and the both Houses for consideration in accordance with public participation and open government doctrine.  A Minister who fails to comply with the duties under Sunset Law shall be regarded as willful omission of the performance of his official duty and shall be the ground for recall from office under the organic law on Counter Corruption Commission and shall also be the ground for criminal liability under section 157 of the Penal Code.  Moreover, the Sunset Law requires all government agencies to take and publish an English translation of all laws and regulations under their responsibilities to create investors’ friendly environment and transparency.

[37]                 In addition to the enactment of the Licensing Facilitation Act and the Sunset Law as I have mentioned, the present Government is going to improve the Regulatory Impact Analysis or RIA to comply with the Good Regulatory Practice or GRP of ASEAN and APEC and to strengthen capacity of officials in doing RIA so as to improve quality of legislation, to ease of doing business and to make business-friendly environment in Thailand.
  
[38]                 The LRC fully wish that if the Licensing Facilitation Act, the Sunset Law and the RIA have been implemented in full force with strong support and collaboration of both public and private sectors, the national competitiveness of Thailand shall be better than the present position.  The LRC is going to use the ranking of Thailand on 3 pillars; that are, the ease of doing business, burden of government regulations and corruption in both WEF and IMD indexes as the key performance indicators for the achievement of the 3 measures as I have mentioned.  We expect that in 2016, the related ranking should be lifted up at least 2 levels from the existing stance and 4 levels in 2017.

[39]                 His Excellency, Ladies and Gentlemen, this is the summary of the Licensing Facilitation Act, what the existing Royal Thai Government has done for the past 6 months and what are we are going to do.  I fully wish that the information I’ve just presented may be beneficial for you.  I would like to thank you once again for your concentration.  Lastly, please accept my deeply apology that I am unable to finish my speaking on time.  Thank you.


************


วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความโปร่งใสในราคาประหยัด

                                                                                        ปกรณ์ นิลประพันธ์


                   เป็นที่ยอมรับกันว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ทั้งยังเป็นที่ยอมรับกันด้วยว่าอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชน  ดังนั้น ผู้เขียนจึงเชื่อโดยสุจริตว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชน "เป็นใหญ่อยู่แล้ว" โดยตัวของระบบเอง 

                   เมื่อประชาชนเป็นใหญ่ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องยึดประชาชนเป็น "ศูนย์กลาง" เสมอ หรือที่เรียกกันโก้ ๆ เพื่อให้ได้ฟีลลิ่งแบบฝรั่งว่า People centre นั่นแหละ

                  อย่างไรก็ดี ประชาชนนั้นมีจำนวนมากและมีความหลากหลาย การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเขาจึงถือหลักเสียงข้างมากของประชาชนเป็นเกณฑ์ว่าจะเดินไปในทิศทางใด แต่โดยที่ประชาชนล้วนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การดำเนินการตามเสียงข้างมากจึงต้องคำนึงถึงความต้องการหรือความเห็นของเสียงข้างน้อยด้วย ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้ "การมีส่วนร่วมของประชาชน" เป็น "แก่น" ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการที่จะทำให้ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและผู้ใช้อำนาจบริหารทราบว่าเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเขาต้องการอะไร  ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงเป็นการปกครองที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมเสมอ การที่นักวิชาการบางท่านแบ่งประชาธิปไตยออกเป็นแบบมีส่วนร่วมกับแบบไม่มีส่วนร่วมนั้น ผู้เขียนจึงไม่เห็นพ้องด้วย 

                 อนึ่ง การที่ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเสมอเป็นพื้นฐานทึ่ทำให้เกิดหลักคิดสำคัญต่อไปว่าการปกครองในระบบนี้ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของ "เหตุผล" ที่มีการถกแถลงของประชาชนว่าฝ่ายใดมีเหตุผลดีกว่ากัน และต่างฝ่ายต่างต้องยอมรับในเหตุผลของฝ่ายอื่นด้วยบนพื้นฐานที่ว่าทุกคนในสังคมมีความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน แต่ทั้งนี้ เหตุผลที่ว่านี้ต้องไม่เป็นกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่ของรัฐ ตลอดจนความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย

                 เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวระบอบประชาธิปไตยเองจึงเรียกร้องให้ประชาชนต้องเป็นผู้มี "วุฒิภาวะ" หากประชาชนไร้ซึ่งวุฒิภาวะ ระบอบประชาธิปไตยจะไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้เลย และจะทำลายตัวเองในที่สุด ดังจะเห็นได้ในหลายประเทศที่ประชาชนซึ่งขาดวุฒิภาวะและไร้เหตุผลลุกฮือขึ้นเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยโดยไม่ทราบว่าประชาธิปไตยคืออะไร มีการใช้กำลังเข้าเข่นฆ่าล่าสังหารกันอย่างน่าสมเพช

                สำหรับประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นโดยส่วนตัวว่าเรายอมรับว่าประชาชนเป็นใหญ่อยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากบทบัญัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บัญญัติสืบต่อกันมาโดยตลอดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่สิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ายังขาดหายไปคือการมีส่วนร่วมของประชาชน ประเด็นของผู้เขียนคือ เราไม่จำเป็นต้องทำให้ประชาชนเป็นใหญ่อีก เพราะใหญ่กว่านี้ไม่มีอีกแล้ว แต่ที่ยังขาดอยู่คือจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างแท้จริงได้อย่างไร??

                หลายปีมาแล้วที่เราเห็นว่าจำเป็นต้องสร้างองค์กรที่เป็นของภาคประชาชนขึ้นเพื่อประกันว่าประชาชนจะได้มีพื้นที่ในการตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัดการใช้อำนาจขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

                ในทัศนะของผู้เขียน การกำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบภาคประชาชนเช่นว่านี้เป็นเพียง "ทางเลือกหนึ่ง" ที่จะทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัดการใช้อำนาจขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทางเลือกนี้ได้ก่อให้เกิด "คำถาม" ตามมามากมายว่าองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่มุ่งหมายไว้หรือไม่? เราได้ "คนดี" มาทำหน้าที่นี้แทนประชาชนจริงหรือไม่? เพราะคนดีนี่มันแล้วแต่ว่าคนดีของใคร (ซึ่งในทางตำราเรียกให้ยากว่าเป็นเรื่องอัตวิสัย) ต้นทุนที่ใช้ในการจัดตั้งและบริหารจัดการองค์กรเหล่านี้คุ้มค่ากับผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่? ใครจะเป็นผู้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กรเหล่านี้?  หากองค์กรเหล่านี้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่คาดหมายไว้ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยบิดเบือน จะจัดการองค์กรเหล่านี้อย่างไร?

                ผู้เขียนจึงขอเสนอ "ทางเลือก" ที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยโดยไม่ต้องลงทุนสร้างองค์กรมหัศจรรย์ใด ๆ ขึ้นใหม่ต่อท่านผู้อ่าน โดยผู้เขียนเห็นว่า หากเราต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน สิ่งสำคัญที่สุดน่าจะได้แก่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ "เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ" ที่เป็นพื้นฐานและหลักฐานในการบริหารราชการแผ่นดินและการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้มากที่สุดและสะดวกทึ่สุด โดยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ใช้เงินแผ่นดินต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินต่อสาธารณะ ถ้าไม่ทำ ให้มีความผิดทางวินัย แพ่ง และอาญาด้วย

               ประเทศเสรีประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วเขาใช้วิธีการนี้อย่างแพร่หลาย แต่เขาเรียกหลักการนี้ว่า Open government doctrine แม้กระทั่งสหภาพโซเวียตในอดีตก็นำหลักการนี้ไปใช้ ท่านผู้อ่านที่เกิดทันปี 1985 คงเคยได้ยินนโยบาย "กลาสนอสท์" ของอดีตประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ

               ผู้เขียนเห็นว่าหากประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ง่ายและสะดวก การมีส่วนร่วมในการเสนอแนะ การตรวจสอบติดตาม และการประเมินผลการบริหารราชการแผ่นดินของประชาชนก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องตั้งหน่วยงานอะไรขึ้นมาอีกให้สิ้นเปลือง และไม่ต้องคิดระบบกำกับองค์กรใหม่ ๆ ให้วุ่นวายสมอง ทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่าข้อเสนอนี้จะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินมีความโปร่งใสในราคาประหยัด (Transparency at low cost) และไม่ซับซ้อน ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้

              ที่สำคัญร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขาก็บรรจุหลักการนี้ไว้ด้วยแล้วในมาตราร้อยต้น ๆ แต่ไม่เห็นมีใครสนใจจะอภิปรายกันเลยทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องของ "หลักการสำคัญ" ที่จะสร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดิน การป้องกันมิให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น และการลดความเหลื่อมล้ำอันเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย! 

             แปลกดีไหมขอรับ???