ในช่วงปี ค.ศ. ๒๐๐๘
ประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภาคการเงินการธนาคาร ซึ่งต่อมายังได้ลุกลามไปยังภูมิภาคต่าง
ๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตนี้ รัฐบาลหลายประเทศออกมาตรการกำกับกิจการการเงินการธนาคารจำนวนมาก
อีกทั้งดำเนินนโยบายลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับธนาคารเองก็ดำเนินนโยบายการให้สินเชื่อที่มีความรัดกุมและระมัดระวังมากขึ้น
ทำให้ในด้านหนึ่ง กิจการขนาดเล็กและกิจการเกิดใหม่ (startup)
ถูกกีดกันออกจากตลาดทุนดั้งเดิม อีกด้านหนึ่ง ประชาชนทั่วไปลดความสนใจในการลงทุนในตลาดทุนเดิม
เนื่องจากได้ผลประโยชน์น้อยลง ด้วยเหตุนี้ กิจการจำนวนมากจึงหันหน้าไปพึ่งพาแหล่งทุนบนอินเทอร์เน็ต
ประจวบกับประชาชนทั่วไปก็กำลังแสวงหาวิธีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนแบบเดิม ๆ เป็นเหตุให้กิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า
“การระดมทุนมวลชน (crowdfunding)” เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปีที่ผ่านมา
การระดมทุนมวลชนคืออะไร???
องค์การระหว่างประเทศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
(International
Organization of Securities Commission: IOSCO) ให้ความหมาย “Crowdfunding”
ไว้ว่าเป็น
“การใช้เงินจำนวนน้อยซึ่งได้รับจากปัจเจกบุคคลหรือองค์กรจำนวนมาก
ผ่านทางเว็บออนไลน์ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการ กิจการ หรือการกู้เงินส่วนตัว
และสิ่งจำเป็นอื่น”[๑]
ลักษณะสำคัญของการระดมทุนมวลชนจึงมี
๓ ประการ กล่าวคือ
(๑) มีผู้ออกทุนจำนวนมาก
(๒) ผู้ออกทุนแต่ละคนให้เงินจำนวนน้อย
(๓) เงินทุนดังกล่าวจัดหาและได้รับผ่านอินเทอร์เน็ต
การระดมทุนมวลชนรูปแบบนี้มีลักษณะพิเศษสำคัญบางประการที่ต่างจากการระดมทุนอื่น
กล่าวคือ การระดมทุนประเภทนี้มักใช้เพื่อสนับสนุนโครงการใดโครงการหนึ่ง
ทุนที่ต้องการจึงมีจำนวนไม่มากนัก ประกอบกับเป็นการระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมากได้อย่างกว้างขวางและโดยสะดวก
ทำให้การระดมทุนประเภทนี้มักเป็นการระดมทุนในระยะสั้น
หากจัดประเภทตามลักษณะของผลตอบแทนที่ได้รับ
การระดมทุนมวลชนอาจแบ่งได้เป็น ๔ รูปแบบ ได้แก่
๑. การระดมทุนมวลชนประเภทการบริจาค
(donation-based
crowdfunding)
ซึ่งผู้ออกทุนจะไม่ได้รับผลประโยชน์ประการใดเป็นการส่วนตัวจากการออกทุนนั้น
ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ด้านการเงินหรือสิทธิประโยชน์อื่น
โดยมากการระดมทุนประเภทนี้มักเป็นการระดมทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมสาธารณะ
การกุศล หรือเพื่อสร้างสินค้าสาธารณะบางอย่าง
๒. การระดมทุนมวลชนประเภทรางวัล (reward-based crowdfunding) ซึ่งผู้ออกทุนจะได้รับผลประโยชน์เป็นสินค้าสำหรับบริโภค
(consumption
goods) หรือสิทธิอันเกี่ยวเนื่องกับสินค้าบริโภคจากการออกทุนนั้น
ตามเงื่อนไขที่ผู้ขอรับทุนกำหนด โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินที่เกิดจากการลงทุน
อาทิ ได้รับผลิตภัณฑ์ฟรี ได้รับสิทธิในการซื้อผลิตภัณฑ์ก่อน หรือได้รับส่วนลดในการซื้อผลิตภัณฑ์
เป็นต้น
๓. การระดมทุนมวลชนประเภทกู้ยืม (debt-based crowdfunding; crowd lending) ซึ่งผู้ออกทุนจะสนับสนุนเงินสำหรับกิจการหรือโครงการให้แก่ผู้ต้องการเงินทุนในรูปแบบการให้กู้ยืมเงิน
ซึ่งส่วนมากมักไม่จำเป็นต้องมีการวางหลักประกัน โดยผู้ที่ต้องการเงินทุนจะต้องชำระต้นเงินคืน
และอาจต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออกทุนตามเงื่อนไขที่กำหนด
การระดมทุนประเภทนี้อาจมีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ เชิงการกุศล
หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะก็ได้
๔. การระดมทุนมวลชนประเภทลงทุน (investment-based crowdfunding) ซึ่งผู้ออกทุนจะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กิจการหรือโครงการ
โดยเจ้าของกิจการหรือโครงการจะเสนอส่วนแบ่งของผลกำไร ผลตอบแทน หรือความเป็นเจ้า
ที่เกิดจากการลงทุนนั้นให้แก่ผู้ออกทุน ในหลายกรณี
การระดมทุนประเภทนี้จึงมักมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร และอาจเกี่ยวข้องกับการออกหลักทรัพย์
(securities) แก่บุคคลจำนวนมาก
กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีหน้าตาอย่างไร
การระดมทุนมวลชนผ่านอินเทอร์เน็ตสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบกิจการและนักลงทุนที่เข้าไม่ถึงตลาดทุนดั้งเดิม
แต่ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงของการระดมทุนประเภทนี้ก็ยังมีอยู่มาก กล่าวคือ
นอกจากจะมีความเสี่ยงค่อนข้างมากจากข้อมูลที่ไม่สมมาตรระหว่างผู้ลงทุนกับผู้ประกอบการ
อันส่งผลให้เกิดการฉ้อโกงหรือการไม่ชำระเงินคืนได้ง่ายแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่บุคคลกลาง
(platform) จะปิดตัวลงหรือข้อมูลถูกโจมตีหรือขโมย
ทำให้ไม่สามารถติดตามเงินลงทุนคืนได้ นอกจากนี้ สิทธิหรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ
ที่ได้รับจากการระดมทุนยังขาดสภาพคล่อง (liquidity)
เนื่องจากยังไม่มีตลาดรองเพื่อรองรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิทธิหรือหลักทรัพย์ที่ได้มาได้
ปัญหากฎหมายที่ตามมาจากการระดมทุนมวลชนมีขอบเขตค่อนข้างกว้าง
ตั้งแต่ประเด็นที่เกี่ยวกับตลาดการเงิน เช่น การกำกับดูแลกิจการ การเปิดเผยข้อมูล
ภาษี การคุ้มครองผู้ลงทุน ไปจนถึงการกระทำความผิดทางอาญาอย่างการฉ้อโกง การสวมรอย
หรือการฟอกเงิน เป็นต้น ปัจจุบัน มีประเทศจำนวนไม่มากเท่านั้นที่ตรากฎหมายขึ้นเพื่อกำกับดูแลการระดมทุนมวลชนผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นการเฉพาะ
สำหรับประเทศที่ยังไม่มีการตรากฎหมายเป็นการเฉพาะ หลายประเทศได้พยายามใช้กรอบกฎหมายเกี่ยวกับการเงินที่ตนมีอยู่ในการกำกับดูแลกิจกรรมดังกล่าว
ในที่นี้ ได้จำแนกการกำกับดูแลตามกฎหมายตามบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. บุคคลกลาง
(platform)
บุคคลกลางคือคนที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ออกทุนกับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุน
ซึ่งโดยมากบุคคลกลางนี้มักเป็นเว็บไซต์ที่เป็นให้บริการด้านการระดมทุน เมื่อพิจารณาจากกลไกการระดมทุนจะพบว่า
กิจกรรมที่บุคคลกลางต้องกระทำนั้นมีความซับซ้อนมาก เช่น การเปิดรับเงินทุนจากประชาชน
การเก็บรักษาเงินทุน และการจ่ายเงินต่อให้ผู้ประกอบการ หรือในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมหรือการลงทุน
บุคคลกลางเหล่านี้อาจทำหน้าที่ประเมินโครงการหรือ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกทุนแก่ผู้ลงทุน หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการใดแทนผู้ลงทุนก็เป็นไปได้ และในกรณีที่มีการออกหลักทรัพย์ ก็อาจเกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ เป็นต้น
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกทุนแก่ผู้ลงทุน หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการใดแทนผู้ลงทุนก็เป็นไปได้ และในกรณีที่มีการออกหลักทรัพย์ ก็อาจเกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ เป็นต้น
ปัจจุบัน
ประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการระดมทุนประเภทกู้ยืมและประเภทลงทุน
โดยมีลักษณะของการกำกับดูแล เช่น
· การอนุญาตประกอบกิจการ เนื่องจากในกรณีการระดมทุนประเภทกู้ยืมและลงทุน
บุคคลกลางดำเนินกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทลงทุนหรือผู้ประกอบกิจการเครดิต แทบทุกประเทศจึงกำหนดให้ธุรกิจประเภทนี้ต้องขออนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายจากหน่วยงานผู้กำกับดูแลก่อน
บุคคลกลางที่ได้รับอนุญาตแล้วย่อมสามารถดำเนินกิจการได้เต็มที่ตามที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ดี โดยที่ลักษณะของการระดมทุนมวลชนมักเป็นการระดมทุนจำนวนน้อยให้แก่บริษัทเกิดใหม่
หากมีเงื่อนไขบังคับการขออนุญาตที่ซับซ้อนก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ทั้งบุคคลกลางและผู้ประกอบกิจการ
ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการระดมทุนมวลชน บางประเทศจึงกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อผ่อนคลายเงื่อนไขการขออนุญาตไว้ในกฎหมาย
เช่น มาตรา ๓๐๔ (b) แห่ง Jumpstart Our Business
Startups Act (JOBS Act) ของสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้เว็บไซต์ผู้หาทุนไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนายหน้า
(broker)
หากเว็บไซต์นั้นไม่ดำเนินกิจกรรมที่กฎหมายและคณะกรรมการหลักทรัพย์กำหนด เช่น
ไม่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน ไม่ชี้ชวน
ให้ผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในเว็บไซต์ของตน ไม่จ่ายค่าตอบแทนสำหรับการชี้ชวน ไม่ทำการจัดการหลักทรัพย์หรือเงินทุน เป็นต้น
ให้ผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในเว็บไซต์ของตน ไม่จ่ายค่าตอบแทนสำหรับการชี้ชวน ไม่ทำการจัดการหลักทรัพย์หรือเงินทุน เป็นต้น
· การกำหนดคุณสมบัติ บางประเทศอาจกำหนดคุณสมบัติของบุคคลกลาง เพื่อประกันธรรมาภิบาลหรือเพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์เฉพาะของกฎหมาย
เช่น คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอิตาลี (CONSOB)
ได้ออกกฎเพื่อกำกับดูแลการระดมทุนประเภทลงทุนให้สามารถกระทำได้เฉพาะผ่านทางเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนแก่บริษัทด้านนวัตกรรมเท่านั้น
อีกทั้งเว็บไซต์ประเภทนี้จะต้องดำเนินกิจการโดยธนาคารหรือบริษัทลงทุน
และมีผู้จัดการที่มีประสบการณ์ด้านกฎหมายหรือเศรษฐกิจอย่างต่ำ ๒ ปี[๒]
หรือในกรณีของฝรั่งเศส ที่นอกจากจะกำหนดคุณสมบัติที่ค่อนข้างเข้มงวดแล้ว
ยังกำหนดให้บุคคลกลางต้องทำประกันทางภัย (civil insurance) ด้วย[๓]
เป็นต้น
· รูปแบบการประกอบกิจการ แม้การระดมทุนประเภทบริจาคและรางวัลอาจไม่ต้องกระทำผ่านบุคคลกลาง
แต่สำหรับประเภทกู้ยืมหรือลงทุนนั้น แทบทุกประเทศกำหนดให้ต้องมีคนกลางเสมอ
เพื่อให้รัฐสามารถเข้ากำกับดูแลกิจกรรมได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้
บางประเทศอาจมีการกำหนดรูปแบบธุรกิจเพื่อป้องกันการฉ้อโกงหรือเพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรม
เช่น คณะกรรมการหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกากำหนดรูปแบบการระดมทุนว่าต้องเป็นแบบ all-or-nothing[๔]
กล่าวคือ ต้องมีการตั้งจำนวนเงินเป้าหมายของโครงการที่ต้องการระดมทุน
และเงินทุนที่ได้รับจากผู้ลงทุนจะถูกส่งให้ผู้ประกอบการเฉพาะเมื่อระดมเงินได้ถึงจำนวนที่ตั้งไว้แล้วเท่านั้น
หากไม่ถึงเป้าหมายดังกล่าว บุคคลกลางมีหน้าที่ต้องส่งเงินคืนให้แก่ผู้ออกทุน
เป็นต้น
· การกำหนดหน้าที่ กฎหมายอาจมีการกำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ที่บุคคลกลางต้องกระทำหรือห้ามกระทำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการให้ความรู้แก่ผู้ออกทุน
อาทิ สำหรับการระดมทุนประเภทลงทุนของสหรัฐอเมริกา JOBS Act
กำหนดให้บุคคลกลางมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงแก่ผู้ลงทุน
และจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความเข้าใจในความเสี่ยงจากการลงทุนให้ผู้ลงทุนตอบด้วย[๕]
เป็นต้น
๒. ผู้ประกอบกิจการ
ผู้ประกอบกิจการคือผู้ที่ต้องการหาทุนเพื่อดำเนินกิจการหรือทำโครงการ
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ผู้ประกอบการที่ได้ประโยชน์จากการระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตมักเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน
โดยเฉพาะบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้
โดยมากประเทศที่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตจึงพยายามจำกัดแหล่งทุนในอินเทอร์เน็ตไว้ให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือการระดมทุนขนาดเล็ก
โดยพยายามลดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เมื่อเทียบกับการระดมทุนผ่านตลาดทุนทั่วไป
ซึ่งกฎเกณฑ์เหล่านี้อาจมีลักษณะ เช่น
· การกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการ บางประเทศอนุญาตให้ผู้ประกอบการหรืออุตสาหกรรมบางประเภทเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงการระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ตัวอย่างเช่น JOBS
Act
กำหนดให้บริษัทที่ระดมทุนต้องมีสัญชาติสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หรือกรณีของอิตาลีที่อนุญาตเฉพาะบริษัทเกิดใหม่ประเภทนวัตกรรม
(innovative
startup)
เท่านั้นที่สามารถระดมทุนประเภทลงทุนได้ โดยกฎหมายกำหนดคุณสมบัติที่ค่อนข้างเคร่งครัด[๖]
เช่น บริษัทต้องมีสัญชาติอิตาลี มีเฉพาะบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของ
ก่อตั้งขึ้นยังไม่เกิน ๔๘ เดือน มีเงินทุนหมุนเวียนไม่เกิน ๕ ล้านยูโร
สร้างผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมประเภทนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีระดับสูง อยู่ใต้บังคับกฎหมายภาษีของอิตาลี
มีสัดส่วนการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาในระดับที่กำหนด และครอบครองสิทธิบัตรในสาขาที่กำหนด
เป็นต้น
· การกำหนดจำนวนเงินที่อาจระดมได้ เนื่องจากปกติผู้ประกอบการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจะไม่สามารถระดมทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไปได้
อีกทั้งการระดมทุนมวลชนมีขึ้นเพียงเพื่อเติมเต็มช่องว่างการหาทุนให้แก่บริษัทขนาดเล็ก
ประเทศส่วนมากที่มีกฎหมายเพื่อการนี้จึงมักกำหนดจำนวนเงินขั้นสูงที่สามารถระดมได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
เช่น สหรัฐอเมริกากำหนดจำนวนเงินขั้นสูงไว้ที่ ๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อ ๑๒ เดือน[๗]
อิตาลีกำหนดไว้ที่ ๕ ล้านยูโรต่อ ๑๒ เดือน[๘] เป็นต้น
นอกจากนี้ กฎหมายอาจกำหนดข้อยกเว้นอื่นสำหรับการระดมทุนมวลชนจำนวนน้อยก็ได้ อาทิ การได้รับยกเว้นจากการจัดทำและการอนุมัติหนังสือชี้ชวน
เป็นต้น
· การกำหนดหน้าที่
หน่วยงานกำกับดูแลอาจกำหนดหน้าที่พื้นฐานบางประการแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการระดมทุนมวลชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้ลงทุน
โดยเฉพาะหากเกี่ยวข้องกับการระดมทุนประเภทลงทุน ตัวอย่างเช่น
ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดลักษณะของข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยจำแนกตามจำนวนเงินที่ต้องการระดมทุน
เช่น หากต้องการระดมทุนไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐจะไม่ต้องเปิดเผยงบดุลที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี
หากเป็นการระดมทุนตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ถึง ๕๐๐,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐ งบการเงินจะต้องได้รับการตรวจสอบจากนักบัญชีอิสระ แต่หากเกิน ๕๐๐,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐจะต้องเปิดเผยงบการเงินที่ถูกสอบบัญชีแล้ว เป็นต้น[๙]
๓. ผู้ออกทุน
ผู้ออกทุนคือผู้ที่ให้เงินเพื่อสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ
ซึ่งผู้ออกทุนจำนวนมากเป็น
ผู้ออกทุนรายย่อย ซึ่งอาจขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงมากนัก และอาจไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะรับความเสี่ยงได้ในกรณีที่เกิดการผิดนัดหรือเหตุไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเหตุนี้ กฎหมายของประเทศต่าง ๆ จึงมุ่งให้ความสำคัญในการคัดกรองผู้ออกทุนในการเข้าสู่ตลาดการระดมทุนมวลชน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องอาจมีลักษณะ ดังนี้
ผู้ออกทุนรายย่อย ซึ่งอาจขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงมากนัก และอาจไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะรับความเสี่ยงได้ในกรณีที่เกิดการผิดนัดหรือเหตุไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเหตุนี้ กฎหมายของประเทศต่าง ๆ จึงมุ่งให้ความสำคัญในการคัดกรองผู้ออกทุนในการเข้าสู่ตลาดการระดมทุนมวลชน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องอาจมีลักษณะ ดังนี้
· การกำหนดคุณสมบัติ ในการระดมทุนมวลชนประเภทลงทุน
แม้ประเทศส่วนมากจะไม่มีกฎหมายกีดกันผู้ลงทุนบางประเภทไว้โดยตรง
แต่หลายกรณีก็มีการแบ่งประเภทผู้ออกทุนเป็นผู้ออกทุนทั่วไปและผู้ลงทุนอาชีพ
โดยกฎหมายอาจกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติต่อผู้ลงทุนทั้งสองประเภทให้แตกต่างกัน อาทิ
กรณีของประเทศออสเตรเลีย การระดมทุนจำนวนน้อย
ที่มีเป้าหมายเฉพาะผู้ลงทุนอาชีพหรือผู้ที่มีสินทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กำหนดจะไม่ต้องจัดทำหนังสือชี้ชวน[๑๐] หรือกรณีของสหราชอาณาจักร ที่กำหนดจรรยาบรรณไว้ว่าห้ามบุคคลกลางติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป สามารถติดต่อได้เฉพาะผู้ลงทุนอาชีพเท่านั้น[๑๑] นอกจากนี้ ในบางกรณี คุณสมบัติของผู้ลงทุนก็ถือเป็นเงื่อนไขของการระดมทุนมวลชน เช่น คณะกรรมการหลักทรัพย์ของอิตาลีกำหนดให้ตราสารทางการเงินที่ออกในกระบวนการระดมทุนมวลชนจะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ ๕ ถือครองโดยผู้ลงทุนอาชีพ จึงจะถือได้ว่าการระดมทุนมวลชนนั้นสำเร็จลงได้[๑๒] หากมีไม่ถึงร้อยละ ๕ ก็ต้องหาผู้ลงทุนเพิ่มจนกว่าจะครบจำนวน
ที่มีเป้าหมายเฉพาะผู้ลงทุนอาชีพหรือผู้ที่มีสินทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กำหนดจะไม่ต้องจัดทำหนังสือชี้ชวน[๑๐] หรือกรณีของสหราชอาณาจักร ที่กำหนดจรรยาบรรณไว้ว่าห้ามบุคคลกลางติดต่อกับผู้ลงทุนทั่วไป สามารถติดต่อได้เฉพาะผู้ลงทุนอาชีพเท่านั้น[๑๑] นอกจากนี้ ในบางกรณี คุณสมบัติของผู้ลงทุนก็ถือเป็นเงื่อนไขของการระดมทุนมวลชน เช่น คณะกรรมการหลักทรัพย์ของอิตาลีกำหนดให้ตราสารทางการเงินที่ออกในกระบวนการระดมทุนมวลชนจะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ ๕ ถือครองโดยผู้ลงทุนอาชีพ จึงจะถือได้ว่าการระดมทุนมวลชนนั้นสำเร็จลงได้[๑๒] หากมีไม่ถึงร้อยละ ๕ ก็ต้องหาผู้ลงทุนเพิ่มจนกว่าจะครบจำนวน
· การกำหนดจำนวนเงินขั้นสูง เนื่องจากการลงทุนในการระดมทุนมวลชนมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก
บางประเทศจึงกำหนดจำนวนเงินสูงสุดที่ผู้ลงทุนรายหนึ่งสามารถลงทุนได้ในระยะเวลาหนึ่ง
เช่น JOBS
Act
ของประเทศสหรัฐอเมริกาแบ่งผู้ออกทุนตามจำนวนสินทรัพย์และรายได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่
ผู้มีสินทรัพย์หรือรายได้ต่อปีต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐ และผู้มีสินทรัพย์หรือรายได้ต่อปีสูงกล่าว ๑๐๐,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับกลุ่มแรกนั้นสามารถออกทุนในการระดมทุนมวลชนประเภทลงทุนได้ไม่เกินปีละ ๒,๐๐๐
ดอลลาร์สหรัฐหรือไม่เกินร้อยละ ๕ ของรายได้ต่อปีหรือสินทรัพย์ ส่วนกลุ่มที่สองสามารถออกทุนได้ไม่เกินร้อยละ
๑๐ ของรายได้ต่อปีหรือสินทรัพย์ของตน[๑๓]
เป็นต้น
ส่งท้าย
การระดมทุนมวลชนเป็นกิจกรรมที่เพิ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่นานมานี้
แต่กิจกรรมดังกล่าวก็ได้เป็นแหล่งทุนสำคัญให้แก่ธุรกิจในหลายประเทศ ปัจจุบัน หลายประเทศยังคงอยู่ในช่วงสะสมประสบการณ์เพื่อสร้างระบบกฎหมายที่ครอบคลุมการระดมทุนรูปแบบนี้
อย่างไรก็ดี จะต้องไม่ลืมว่า แม้การระดมทุนประเภทนี้จะดูมีความเสี่ยงมาก
แต่ก็มีจุดเด่นอยู่ที่ความสะดวกและมีพลวัต
กฎหมายที่ออกมาจะต้องรองรับลักษณะเช่นนี้ได้ มิใช่เพียงแต่จะควบคุมให้ตลาดของมวลชนอยู่ภายใต้เงื้อมมือของรัฐผู้มีหน้าที่กำกับดูแลเพียงเท่านั้น
*****************
[๒]โปรดดู Regulation on the
Collection of Risk Capital on
the Part of Innovative Start-ups via Online
Portals (Reg. 18592/2013)
[๓]Ordinance 2014-559 of May 30, 2014 on Participatory
Financing, art. 1 §2 at L. 547-5
[๔]17 C.F.R. §240.15c2-4
[๕]JOBS Act §4A (a)(3), (4)
[๖]Decree Law No. 179/2012, art.25
[๗]78 Fed. Reg. 66427, at 66430
[๑๐]Corporations Act 2001, §706
[๑๑]Conduct of Business Sourcebook, 4.12.6-8
[๑๒]Reg. 18592/2013, art.24
[๑๓]JOBS Act, §302 (a)
สวัสดี คุณกำลังมองหาสินเชื่อรวมหนี้, สินเชื่อไม่มีหลักประกัน, สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อจำนอง, สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อนักศึกษา, สินเชื่อส่วนบุคคล, เงินร่วมลงทุน ฯลฯ ! ฉันเป็นผู้ให้กู้เอกชน ฉันให้สินเชื่อแก่บริษัทและบุคคลทั่วไปด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและสมเหตุสมผลที่ 2% ส่งอีเมล์ไปที่: christywalton355@gmail.com
ตอบลบ