วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

“หมวด 1 สำคัญมากมาย แต่ไม่มีใครอ่าน” ปกรณ์ นิลประพันธ์

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่สำคัญที่สุดนั้น อยู่ในหมวด บททั่วไป 

บททั่วไปนี้เปรียบเสมือนร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมหลักการอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติในหมวดอื่นต่อ ๆ ไปจะเป็นการระบุหลักการในรายละเอียดของแต่ละเรื่อง 

น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีคนทำความเข้าใจบททั่วไปของรัฐธรรมนูญ โดยมากจะพุ่งตรงไปที่เนื้อหาสาระในรายละเอียด หยิบแต่ละคำ แต่ละวรรคมาพูด ไม่ปะติดปะต่อกัน และไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดความสับสนกันอยู่เนือง 

อย่างบทบัญญัติมาตรา 98(6) ที่ว่า ผู้เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล ห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง … ถ้าไม่คำนึงถึงบททั่วไป ก็จะพูดไปได้ว่าก็รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนว่าศาลไทยนี่  ดังนั้น ใครก็ตามที่ "เคย" ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลประเทศใด ๆ ในโลกนี้ ล้วนต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งทั้งนั้น 

จริง ๆ ถ้าไปอ่านบททั่วไปตามหมวด ก็จะเกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพราะมาตรา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” และหมวด 10 ของรัฐธรรมนูญก็ว่าด้วย ศาล” ในรายละเอียดอย่างชัดเจน ว่าหมายถึงศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

ดังนั้น ศาล” ตามรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ศาลที่ไหนในโลกก็ได้ แต่ต้องเป็น ศาลไทย” ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 10 ศาล เท่านั้น

ส่วนการที่มาตรา 98(7) บัญญัติห้ามมิให้ผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เป็นผู้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น 

เมื่อศาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการตามมาตรา 98(6) ประกอบมาตรา วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญหมายถึงศาลไทย และมาตรา วรรคสองบัญญัติว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม” ซึ่งเป็นไปตามหลัก Solus populi suprema lex esto หรือความผาสุกของประชาชนคือกฎหมายสูงสุด ที่ซิเซโร (Cicero) ว่าไว้ในหนังสือ De Legit  ดังนั้น กฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับก็คือ  กฎหมายไทย

เมื่อเป็นเช่นนี้ การลงโทษจำคุกผู้กระทำความผิดตามมาตรา 98(7) จึงต้องเป็นไปตาม กฎหมายไทย” ด้วย ไม่ใช่ถูกจำคุกตามกฎหมายที่ใด ๆ ในโลกก็ได้

ยิ่งเรื่องนี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการสมัครับเลือกตั้งอันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ยิ่งต้องตีความโดยเคร่งครัด ไม่ใช่ตีความแบบขยายความ เพราะจะให้ผลเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

สำหรับลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (9) และ (10) ซึ่งต่อเนื่องกัน ก็ต้องตีความตามหลัก ejusdem generis อันเป็นหลักการตีความกฎหมายอันเป็นสากล สรุปง่าย ๆ ได้ว่า หากบทบัญญัติของกฎหมายมีถ้อยคำต่อเนื่องกันหรือเรียงลำดับกัน การตีความลำดับถัด ๆ ไป หรือลำดับสุดท้าย ต้องมีความหมายทำนองเดียวกับคำหรือลำดับที่มีมาก่อน เพราะเป็นความเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน  เพราะฉะนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามมาตรา 98(9) และ (10) จึงหมายถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งของ ศาลไทย” และกฎหมายนั้นก็ต้องเป็น กฎหมายไทย

และนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญจึงเรียงลำดับ (6)(7)(9) และ (10) ...

มันไม่ใช่ แบบกฎหมาย” อย่างที่พูดกันเพรื่อไป แต่เป็น ตรรกะ” ในการเขียนกฎหมาย ... ไม่ใช่นึกอยากเขียนอะไรก็เขียน

ทั้งนี้ การใช้และการตีความกฎหมายนั้นต้องเป็นกลางปราศจากอคติทั้งปวงด้วย 

หาไม่แล้ว การใช้และการตีความกฎหมายจะเบี่ยงเบนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริง และจะสร้างความสับสนขึ้นในสังคม อันเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์

ความสำคัญของหมวด บททั่วไปยังมีอีกมาก 

ถ้ามีเวลาจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น