วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

“การออม” ปกรณ์ นิลประพันธ์

หลักการดำรงชีพ 4 ประการตามศาสนาพุทธ ปรากฏอยู่ในทีฆนิกาย กูฏทันตสูตร :

1. เป็นคนมีความชำนาญงาน ทำงานมีประสิทธิภาพ เอาจริงเอาจัง ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ รู้งานลึกซึ้ง (อุฏฐานสัมปทา)


2. รู้จักเก็บรักษาโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานตามวิถีทางที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (อารักขสัมปทาน)


3. คบหาคนดี คือผู้มีความประพฤติดีงาม เป็นมิตร จะได้ห่างไกลจากความชั่ว (กัลยาณมิตตตา)


4. รู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ให้ได้สัดส่วนกับรายได้ ไม่ใช้จ่ายมากเกินไปหรือน้อยเกินไป (สมชีวิตา)


หลักนี้เวลาเรียนหนังสือ เราก็ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง ว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์


ในส่วนที่เกี่ยวกับ “การออม” ในทีฆนิกาย สิงคาลกสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสกับสิงคาลมาณพว่า ควรแบ่งโภคทรัพย์เป็น 4 ส่วน ใช้สอยหนึ่งส่วน ประกอบการงานสองส่วน อีกส่วนหนึ่งที่เหลือเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อแบ่งได้ดังนี้ก็จะ “มีพอ” ไม่ใช่ “พอมี”


ก็ใช้แค่ 25% ส่วนอีก 50% ใช้ประกอบการงาน (ซึ่งก็จะได้รายได้เพิ่มเข้ามา มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่กรณี) อีก 25% เก็บไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน มันก็จะ “มีพอ”


จะไม่พอได้อย่างไร เมื่อใช้ 25% จาก 100% ของรายได้!!!


ธรรมะเหล่านี้ เราเรียนกันมา จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ซึ่งโดยมากมักจะจำไม่ได้ หรือที่พอจำได้ก็มักจะไม่เข้าใจ


เมื่อไม่เข้าใจจึงเกิดการใช้จ่ายเกินตัว คือใช้สอยมากเกินไป ไม่นำไปประกอบการงาน หรือเอาไปลงทุนในทางที่มีความเสี่ยงสูง หรือลงทุนในทางที่ไม่ชอบไม่ควร และไม่มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายฉุกเฉิน


จุดเริ่มต้นของการออมจึงได้แก่ “การลดค่าใช้จ่าย” ต้องคิดให้ดีก่อนใช้จ่ายจึงจะออมได้ และแน่นอน ต้องมี “วินัยในการใช้จ่าย” ด้วย โดยเฉพาะในสังคมบริโภคนิยมอย่างปัจจุบัน

เช่นนี้ วินัยการเงินจึงจะเกิด 


การออมอย่างยั่งยืนจึงจะเกิด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น