วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

“ทำไมน้ำไม่ไหลลงเขื่อน” ปกรณ์ นิลประพันธ์

ช่วงนี้เป็นหน้าฝน ฝนตกทีไรรถติดทุกที เมื่อยแล้วเมื่อยอีกกว่าจะถึงบ้าน ให้หวนคิดถึงตอนเป็นเด็ก  ฝนตกที่ไรเป็นต้องกระวีกระวาดออกไปรองน้ำใส่ตุ่มไว้กินเพราะประปาเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนยังไม่ทั่วถึงและมีคุณภาพอย่างทุกวันนี้ 

ที่ผู้เขียนชอบงานนี้เพราะได้เล่นน้ำฝนด้วยนี่แหละ มันสนุกมากเลยขอบอก เย็นสบาย จำได้ว่าวันไปฟังผลสอบตอนจบ . 6 ผู้เขียนกับเพื่อนเล่นบอลพลาสติกท่ามกลางสายฝนกันจนฝนหยุด แล้วจึงแยกย้ายกันไปตามทาง แต่เด็กเดี๋ยวนี้พ่อแม่ไม่อยากให้โดนฝนเท่าไร กลัวลูกจะป่วยไข้ไม่สบายไปเสีย เลยอดเล่นน้ำฝนส่วนใหญ่ จึงไม่รู้ว่ามันสนุกยังไง 

ยิ่งในสวนนะ ฝนตกทีไร ปลาหมอจะแถกขึ้นมาบนถนน บนคันสวน ให้จับไปทำอาหารกินเป็นประจำ เอาไปเผานะ หอมมาก เนื้อเหลือง  จิ้มน้ำปลากินกับข้าวสวยร้อน  ก็มีความสุขมากมายแล้ว ไม่มีฟู้ดดิลิเวอรี่อย่างเดี๋ยวนี้

สะดุ้งตื่นเพราะรถคันหลังบีบแตรไล่จึงทำให้ได้ยินข่าววิทยุ เขาประกาศว่าช่วงนี้ฝนตกหนักทั่วทุกภาคของประเทศด้วยอิทธิพลของพายุอะไรสักอย่าง มีน้ำท่วมขังรอการระบายอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ พัทยาเองที่เป็นพื้นที่ติดทะเลก็ท่วมขังแบบมิดหลังคารถเมื่อฝนตก ท่วมขังบ่อยจนกระทั่งหลายคนเริ่มชิน รู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ฝนตกก็เลี่ยงทางนั้นเสียก็แล้วกัน 

รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง ว่างั้น

ที่สะกิดใจผู้เขียนมากก็คือข่าวบอกว่าแม่ฮ่องสอนก็ท่วม ทางขึ้นดอยอินทนนท์อันเป็นดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทยก็ท่วม ไล่เรื่อยลงมาจนสุโขทัย และทางการก็ประกาศว่าพี่น้องแถว  ภาคเหนือตอนบนทั้งลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำยมต้องระมัดระวังน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก หลายพื้นที่ท่วมหนัก ชาวบ้านร้านตลาดอพยพไม่ทัน ได้รับความเดือดร้อนเสียหายกันไปตาม ๆ กัน ยิ่งในช่วงโควิดนี่น้ำท่วมยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบากหนักเข้าไปอีก รัฐเองก็ต้องใช้งบประมาณในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนจากเหตุน้ำท่วมน้ำแล้งสลับกันไปอย่างนี้จำนวนมากทุกปี นักวิชาการเขาถึงบอกว่า climate change และการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้คิดในองค์รวมนี่ “ไม่ยั่งยืน” และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมทั้งสังคมรุนแรง ยิ่งประเทศยากจนยิ่งหนัก เพราะงบประมาณก็น้อยอยู่แล้ว จะเจียดที่ไหนมาจ่าย ปัญหาก็จะบานปลายไปที่ระบบการเมืองการปกครองด้วย

เริ่มไปไกลแล้ว กลับมาเข้าเรื่องน้ำท่วมภาคเหนือบ้านเราต่อดีกว่า ผู้เขียนเข้าไปดูข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในเวปไซต์  https://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html  กลับปรากฎว่าเขื่อนในภาคเหนือมีน้ำไหลลงเขื่อนไม่มากนัก ทำให้มีน้ำใช้การได้จริงน้อยจนน่าเป็นห่วง เขื่อนในภาคอื่นก็เจอสถานการณ์เดียวกัน ปีหน้าจะเหลือน้ำพอใช้ทั้งปีหรือเปล่าก็ไม่รู้

คำถามคือทำไมน้ำไหลลงเขื่อนน้อยทั้ง  ที่น้ำท่วมขังไปทั่วแทบทุกจังหวัดอย่างนี้ ที่สงสัยก็เพราะจุดที่สร้างเขื่อนแต่เดิมนั้นก็เป็นจุดรับน้ำอยู่แล้ว ทำไมน้ำไม่ไหลไปลงเขื่อน ดันผ่าไหลไปทางอื่นให้ชาวบ้านเดือดร้อน

ผู้เขียนเห็นว่าการโทษดินฟ้าอากาศแปรปรวนอย่างเดิม ๆ คงไม่อาจอธิบายเรื่องนี้ได้ตรงประเด็นนัก คงต้องมาดูตัวเองด้วยว่าเรามีส่วนที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อนด้วยหรือเปล่า กลับมาดูข่าวทีวีที่บ้านกี่ที่กี่ที่ก็เห็นน้ำท่วมพัดผ่านถนนหลวงอย่างแรง ไหลเป็นน้ำตกเชียว และทำให้ถนนขาดเป็นช่วง  การสัญจรไปมาถูกตัดขาดชั่วคราว เลยแอบมาคิดว่าตอนสร้างถนนที่ผ่าน  มาเราดูฮวงจุ้ยทางน้ำไหลด้วยหรือเปล่าเพราะดูเหมือนว่าถนนจะกลายเป็นเขื่อนที่คอยกั้นน้ำให้ไหลไปในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้ และนี่เป็นเหตุที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อนที่สร้างไว้หรือเปล่า

นี่ยังไม่รวมเสรีภาพในการ “ถมที่” ของเราทุกคนด้วยนะที่ทำให้ความสูงต่ำของพื้นที่ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างบ้านของผู้เขียนเองนี่ถ้าดูเส้นชั้นความสูงของพื้นที่ (contour line) ตามแผนที่ของทางราชการเขาบอกว่าอยู่ที่ระดับ 1.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บังเอิญเป็นสวนเก่ามีบางส่วนที่ยังไม่เคยถม เลยสันนิษฐานเอาเองว่าสวนตรงที่ไม่ได้ถมนั่นแหละคือ 1.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พอไปวัดเทียบกับส่วนที่ถมขึ้นมา พบว่าถมสูงกว่า 3 เมตร

เมื่อไปเทียบกับถนนปัจจุบัน ปรากฏว่าพื้นถนนปัจจุบันถมขึ้นมาสูงกว่าสวนเก่าที่ใช้เป็นจุดยึดโยงในการเปรียบเทียบถึงสองเมตรแก่  ทีเดียว ซึ่งถนนปัจจุบันนั้นปรับปรุงมาหลายครั้งมาก ทำถนนแต่ละครั้งมันก็สูงขึ้นเรื่อย  บ้านเก่าของผู้เขียนเองก็เคยโดน จากบ้านสองชั้น เขามาทำถนนเสียสูงลิ่ว ชั้นสองสูงเสมอถนน ชั้นล่างกลายเป็นห้องใต้ดินไปเลย เวลาฝนตกน้ำก็มาขังในบ้านเรา เลยต้องถมที่ให้สูงกว่าถนน เฮ้อ!

ที่เล่ามาก็เพียงแต่จะชวนคิดครับว่าปัจจัยที่ทำให้น้ำไม่ไหลลงเขื่อน แล้วท่วมขังไปจนหาทิศทางไม่ได้ รวมทั้งน้ำแล้งด้วยนั้น จะไปโทษดินฟ้าอากาศอย่างเดียวแบบเดิม  คงไม่ได้ มันคลาสสิคเกินไป เราคงต้องมาทบทวนทิศทาง “การพัฒนาเมือง” เสียใหม่ไปพร้อม  กันด้วย 

เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่าง “ยั่งยืน” ได้จริง  ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น