วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แอบบ่น 1

ความเห็นทางวิชาการ:
(1) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอันเป็นสากลนั้น "ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้นจะเป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือไม่ก็ตาม - ว่าง่าย ๆ คือต้องมีการพิสูจน์กันในศาลจนปราศจากข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยได้กระทำความผิด และศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าผู้นั้นกระทำความผิดแล้ว จึงจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในฐานะเป็น "ผู้กระทำความผิด" ได้
(2) แต่กระบวนการยุติธรรมของบ้านเมืองเราออกจะแปลกประหลาดอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อใดที่เจ้าพนักงานจับตัว "ผู้ต้องสงสัย" ว่ากระทำความผิดได้ ก็จะนำบุคคลนั้นมาแถลงข่าวอย่างเอิกเริก ไม่ว่าจะเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือความผิดที่ต้องมีการพิสูจน์ว่าบุคคลนั้นกระทำความผิดจริงหรือไม่เนื่องจากไม่มีผู้พบเห็นการกระทำความผิด นอกจากนี้ มักมีการยืนยันจาก "ผู้แถลงข่าว" ซึ่งก็มักจะเป็น "ผู้มีอำนาจสูงสุด" ในองค์กรนั้นอยู่เสมอว่าถูกตัวแน่นอน คนนี้กระทำความผิดแน่นอน ไม่มีแพะ ...
(3) ผู้เขียนสงสัยว่าถ้า "เจ้าพนักงาน" คนที่ "มีอำนาจสูงสุด" ในองค์กรปราศจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ใน "หลักกฎหมายอาญาและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" เช่นนี้เสียแล้ว ชาวประชาจะมั่นใจได้อย่างไรว่าองค์กรที่ท่านบังคับบัญชาอยู่นั้นจะใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องตามหลักนิติรัฐ .. และถ้าชาวประชาไทยเองยังไม่มั่นใจ .. คนอื่นเขาจะมั่นใจหรือจ๊ะหนู ๆ จ๋า ... เห็นทีต้องยัดหูฟังเพื่อฟังเพลงสุนทราภรณ์ให้สบายใจตาม "หลักการ" เสียแล้ว ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น