วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ความท้าทายของระบบราชการ โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์

บ้านเรานั้นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดคือองค์กรราชการ หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกกันว่าระบบราชการ

องค์กรราชการนี้มีโครงสร้าง หน้าที่ และอำนาจที่ชัดเจน มีบุคลากรจำนวนมาก และเป็นองค์กรที่ใช้จ่ายเงินมากที่สุดของประเทศ  ดังนี้ องค์กรราชการจึงมีส่วนอย่างสำคัญในการพัฒนาประเทศ

แน่นอน เมื่อมีโครงสร้างขนาดใหญ่ ระบบริหารจัดการภายในย่อมมีความซับซ้อน การขยับขับเคลื่อนในแต่ละเรื่องจึงทำได้ค่อนข้างช้า เพราะมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามมากมายเพื่อความเป็นเอกภาพของระบบ 

ที่น่าสนใจก็คือแทบจะไม่มีการทบทวนกฎระเบียบเหล่านี้ให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเลย เคยปฏิบัติกันมาอย่างไร ก็ปฏิบัติสืบเนื่องกันต่อ ไปอย่างนั้น เพราะความคุ้นชินที่ปฏิบัติกันมานมนาน และความกลัวที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความกลัวว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วจะทำให้ความลงตัวหรือความสบายในการปฏิบัติหน้าที่ (comfort zone) ที่ตนเคยมีอยู่ต้องหายไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบที่ใช้กับองค์กรราชการเองและกฎระเบียบที่ใช้กับพี่น้องประชาชนผู้รับบริการ

และเมื่อมีบุคลากรจำนวนมาก ก็ย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดีเหมือนกับองค์กรอื่น แต่คนไม่ดีซึ่งมีจำนวนไม่มากนี่แหละที่ทำให้คนดี ในระบบราชการส่วนใหญ่ รวมทั้งตัวระบบเอง ต้องพลอยเสียชื่อเสียงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือทุจริต หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่เรียกกันว่าทำราชการเป็นงานไซด์ไลน์หรือไม่ก็นั่งอยู่ที่ทำงานแต่ไม่ทำอะไรนอกจากหายใจทิ้งไปวัน

ส่วนการใช้จ่าย ถ้าการใช้จ่ายของระบบราชการมีความทันสมัยและเปิดเผยโปร่งใส ก็จะช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด ทั้งยังช่วยลดการทุจริตและประพฤติมิชอบได้ด้วย

สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนต่อองค์กรราชการที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ของประเทศ กลับลดน้อยถอยลงไปเรื่อย จนบางท่านถึงกับออกปากว่าองค์กรราชการปัจจุบันเป็น Unchanged agent หรือองค์กรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสียมากกว่า

รัฐธรรมนูญ 2560 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์กรราชการเป็นอย่างมาก มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาการศึกษา กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายในอนาคตที่องค์กรราชการกำลังเผชิญหน้าอยู่เงียบ ๆ แต่รุนแรง 2 ประการ 

ประการแรก ได้แก่ Disruptive Technology ซึ่งทำให้บริบทของโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก ที่ระบบราชการอย่างน้อยต้องตามให้ทันเพื่อให้การให้บริการแก่พี่น้องประชาชนเป็นไปโดยมีข้อมูลรองรับชัดเจน ต้องรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในยุคดิจิทัล รวมทั้งมีการเปิดเผยผลการดำเนินงาน ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้รับทราบ และมีส่วนร่วมในด้านต่าง  

อีกประการหนึ่ง ได้แก่การเข้าสู่ Ageing society อย่างเต็มตัวของประเทศไทย เพราะการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยจะมีผลกระทบด้านต่าง มากมาย ทั้งสภาพครอบครัว สภาพสังคม การจ้างงาน การสาธารณสุข ฯลฯ องค์กรราชการจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ โครงสร้าง อัตรากำลัง และวิธีทำงานอย่างไร จะทำงานร่วมกับท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครอย่างไร เรื่องนี้มาแบบเงียบ แต่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรราชการในอนาคตอย่างมากในไม่ช้า เช่นเดียวกับที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ในขณะนี้

เหล่านี้คือความท้าทายที่องค์กรภาครัฐต้องร่วมกันคิดอ่านหาทางรองรับไว้ เพื่อให้ผู้คนในสังคมในอีกสิบปีหรือยี่สิบปีข้างหน้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

ก็อยากชวนคิดครับ.







วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

เรียนรู้การศึกษา โดย ดร.นุสรา สุขวิบูลย์*


                ขณะนี้เราอยู่ในศตวรรษที่ ๒๑ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับศตวรรษที่ ๒๐ นับตั้งแต่เทคโนโลยีถูกเริ่มนำมามาใช้ในศตวรรษที่ ๒๐ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต (internet) เครือข่ายสังคม (social network) ในรูปแบบของเว็บไซต์ เป็นต้น ในขณะที่การศึกษาของประเทศไทยหรืออีกหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ยังใช้ระบบการศึกษาของศตวรรษที่ ๒๐ อยู่ ทำให้หลายๆ ประเทศหรือหลายๆ องค์กรที่เกี่ยวกับการศึกษาเร่งปรับปรุงระบบการศึกษาให้สอดรับกับศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ในขณะที่ ประเทศฟินแลนด์ซึ่งปฏิรูปการศึกษามาตั้งแต่ปี .. ๑๙๗๐ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในทางการศึกษา (Equity and Equal Education) โดยการศึกษาที่มีความเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ มิใช่ให้เอกชนแข่งขันกันจัดการศึกษา แต่เป็นการแข่งขันแบบฉันท์มิตรมากกว่าการขับเคี่ยวเพื่อให้ประชาชนเลือกใช้บริการในโรงเรียนที่ตนเห็นว่าดีที่สุด ฟินแลนด์พยายามสร้างความยุติธรรมในการศึกษา (Justice of Learning) [๑]และผลลัพธ์ของการปฏิรูปการศึกษานั้นทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกหันมาปรับปรุงระบบการศึกษาของตน โดยใช้ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เป็นแม่แบบ นอกจากนั้น ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ (Partnership for 21st century Skills) ห้องวิจัยการศึกษาเขตภาคเหนือตอนเหนือ (NCREL) และกลุ่มเมทิรี (Metiri Group) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สภาผู้นำแห่งชาติเพื่อการศึกษาเสรีและสัญญาของอเมริกา (LEAP) สมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE) ศูนย์บริการทดสอบทางการศึกษา (ETS) เป็นต้น [๒] ได้กำหนดกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

                ทั้งนี้ เค้าโครงบทความนี้จะอธิบาย . นิยามของคำว่า การศึกษา ก่อน ซึ่งเริ่มจากนิยามของกฎหมายประเทศไทย แนวคิดปรัชญา ความหมายตามพจนานุกรมและความหมายทั่วๆ ไป . วัตถุประสงค์ของการศึกษา (Objective) . วิธีวิเคราะห์ปัญหา (Methodology) . นโยบาย (Policy) . ปัญหา (Problems) และ๖. แนวทางแก้ปัญหา (Solution) . สรุป (Conclusion)

๑.     นิยาม (Definition)
เมื่อพิจารณานิยามคำว่า การศึกษา ตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .. ๒๕๔๒[๓] ซึ่งบัญญัติไว้หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ประกอบกับนิยามการศึกษาตามแนวคิดปรัชญาสากลที่นิยามความหมายการศึกษา (Education) ไว้ว่า การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัย จิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้พื่อตนเองและสังคมมีความพร้อมที่จะประกอบอาชีพการงานได้[๔] ในขณะที่ พจนานุกรมอ๊อกฟอร์ด[๕]ได้นิยามคำว่า Education ไว้หมายความว่า กระบวนการให้และรับการแนะนำอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย และนิยามทั่วๆ ไปของการศึกษา (Education) คือ โปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และสามารถทำสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาไม่อาจทำเองได้ หากปล่อยไปตามมีตามเกิด[๖]

. วัตถุประสงค์ (Objective)
ทฤษฎีการศึกษา[๗]ได้กำหนดหน้าที่การศึกษาไว้ ประการ คือ . การผลิตกำลังคน (Manpower) . การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) . การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) กระบวนทรรศน์ใหม่ของการศึกษาไทยซึ่งทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ควรมี คือ ทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ และทักษะทางวิชาการ (Hard Skills) ได้แก่ 3Rs ประกอบด้วย อ่านออก (Reading) เขียนได้ (WRiting) คิดเลขเป็น (ARithmetics) และ 8Cs ซึ่งประกอบด้วย ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ (Cross – cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) [๘]ความมีเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) และทักษะการใช้ชีวิต(Life Skills) เนื่องจากความสำเร็จในชีวิตไม่ได้มีแต่แค่ในตำราเท่านั้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการคิดด้วยระบบสเต็มศึกษา (Stem Education) การเข้าถึงการศึกษา ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ความมีประสิทธิภาพของระบบการศึกษา ทั้งนี้ การจัดระบบการศึกษาควรต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือจิตวิทยาพัฒนาการด้วย เด็กปฐมวัยก่อน ขวบ โรงเรียนไม่ควรใช้การอ่าน การเขียน และการคิดเลขเป็นตัวชี้วัดความสามารถเด็ก เนื่องจากเป็นความคาดหวังที่ผิดปกติไปจากพัฒนาการตามปกติของเด็ก

อย่างไรก็ดี มีการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยการประเมินความพร้อมสู่วิทยาลัยและการทำงาน (College and Work Readiness Assessment หรือ CWRA) ซึ่งผู้ได้รับการประเมินต้องใช้ทักษะหลายอย่าง ทั้งการคิดเชิงวิพากษ์ การใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการเขียนเพื่อสื่อสาร การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ The Programme for International Student Assessment (PISA) ของ OECD โดยประเมินความสามารถของนักเรียนที่ใกล้จบการศึกษาภาคบังคับว่านักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากโรงเรียนไปใช้ทำอะไรบ้าง ไม่ใช่ทำได้แค่ผลิตซ้ำสิ่งที่เรียนมาการประเมินจะครอบคลุมทั้งด้านการอ่าน ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ได้วัดแค่ความเชี่ยวชาญตามหลักสูตร แต่รวมถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ นอกจากนั้นมีการประเมินความรู้พื้นฐานไอซีทีระดับ Key Stage 3 แบบทดสอบนี้นอกจากประเมินทักษะด้านไอทีของนักเรียนแล้ว ยังรวมถึงความสามารถในการใช้ทักษะดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาอันซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยการค้นคว้า การสื่อสาร การจัดการข้อมูล และการนำเสนอ แต่ปัจจุบัน[๙]นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกำลังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาวิธีประเมินผลจากการปฏิบัติในโลกเสมือนหลากหลายรูปแบบ (http://www.lemasa.co.za/virtual-assessment-centres-e-valuation%E2%84%A2) ซึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความถูกต้องน่าเชื่อถือของการวัดทักษะทางปัญญาและจิตวิทยาสังคมที่ซับซ้อนได้

. วิธีวิเคราะห์ปัญหา (Methodology)
โดยวิธีเศรษฐศาสตร์การศึกษา ( Economics of Education ) [๑๐] เป็นการวิเคราะห์ถึงคุณค่าของการศึกษาในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือวิเคราะห์ว่าการศึกษามีส่วนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร ซึ่งปัจจุบันถือว่า การปรับปรุงคุณภาพของแรงงานที่มีผลใหญ่หลวงต่อการเจริญเติบโตของภาวะเศรษฐกิจและการปรับตัวของตลาดแรงงาน ก็มีความเกี่ยวพันอย่างมากด้านมาตรการทางเศรษฐศาสตร์กับการศึกษา มีความสัมพันธ์กันในเชิงเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาอันเกี่ยวกับการลงทุน การผลิต การแจกจ่าย เป็นต้น และถือว่าการศึกษาเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งเพื่อสร้างคนให้มีคุณภาพ ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การวิเคราะห์ปัญหา SWOT (Strengths Weakness Opportunities and Threats Analysis)[๑๑] ต้องผ่านการตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน โดยรูปแบบที่จะใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี (Political, Economic, Social, and Technology (PEST) Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกระดับมหภาค

แนวคิดของ McKinsey 7S นั้นใช้สำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบ (Systems) รูปแบบ (Style) บุคลากร (Staff) ทักษะ (Skills) และคุณค่าร่วมกัน (Shared values) อันเป็นการวิเคราะห์เพื่อให้เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยงานในแง่มุมต่าง เป็นต้น หากแต่ราชการไทยนั่งเทียนเขียน SWOT ซึ่งไม่ใช่การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ แต่เป็นเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องจริง การเขียน SWOT analysis ของหน่วยราชการไทยจึงไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง สถาบันอุดมศึกษาของไทย โดยเฉพาะของรัฐนั้น เวลานี้มาถึงจุดวิกฤติที่จะต้องล้มหายตายจากไปในอีกไม่ช้า แต่ก็ยังไม่กล้าเผชิญความจริง ที่จะทำ SWOT Analysis กันแบบตรงไปตรงมาแล้วจะปรับตัวให้อยู่รอดได้อย่างไร หากนำเสนอความจริง

. นโยบาย (policy)
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (.. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) สำหรับเป็นเครื่องมือในการกำกับทิศทางการปฏิบัติงานของกระทรวงศึกษาธิการและส่วนราชการหน่วยงานในสังกัด โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (.. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) และยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ซึ่งได้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์  และกลยุทธ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาประเทศได้ทั้งมิติความมั่นคง มติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบกับมาตรา ๕๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. ๒๕๖๐ บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา ๒๕๘ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.. ๒๕๖๐ บัญญัติ ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่างๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้ ... . ด้านการศึกษา () ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาร่างกาย จิตใจวินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย () ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา ๕๔ วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้() ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู () ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่...

อันสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ .. ๒๕๖๐๒๕๖๔ซึ่งประกอบไปด้วย ๑๐ ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ ๒๐ ปี หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาคือ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์[๑๒] ทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังมีปัญหาในด้านคุณภาพคนในแต่ละช่วงวัย โดยผลลัพธ์ทางการศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต่ำ การพัฒนาความรู้และทักษะของแรงงานไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ดังนั้น การพัฒนาคนเพื่อให้มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีขึ้น คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น แนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับนี้คือ

. ปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และความพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัยและจิตสาธารณะ

. พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า อาทิ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาทักษะทางสมองและสังคมอย่างเหมาะสม เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

. ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิ ปรับระบบบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีการจัดการทรัพยากรร่วมกันให้มีขนาดและจำนวนที่เหมาะสม ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และมีชีวิต.... ผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง อาทิกำหนดมาตรการดูแลครอบครัวที่เปราะบาง และส่งเสริมสถาบันการศึกษาให้เป็นแหล่งบริการความรู้ทางวิชาการที่ทุกคนเข้าถึงได้ กล่าวได้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคนและสามารถศึกษาได้ทุกที่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต

การเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายประชากรร้อยละสี่สิบที่มีรายได้ต่ำสุดสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของรัฐและมีอาชีพ อาทิ ขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยให้การดูแลนักเรียนที่ครอบคลุมตั้งแต่การสร้างรายได้ครัวเรือน สนับสนุนค่าเดินทางไปยังสถานศึกษา ให้ทุนการศึกษาต่อระดับสูง... การที่รัฐสนับสนุนด้านการศึกษาเป็นการลงทุนด้านมนุษย์ (Human Capital)’ โดยระบบการศึกษาที่ดีจะช่วยเติมทุนมนุษย์ ทั้งเรื่องทักษะ ความสามารถ ทำให้เก่งขึ้น เราก็จะมีรายได้ มีค่าตอบแทน ยิ่งมีการเรียนเยอะๆ สังคมก็จะยิ่งมีความสามารถในการทำอะไรมากขึ้นไปด้วย เพราะทุนมันอยู่กับมนุษย์ทุกคน[๑๓]

นอกจากนั้นการสนับสนุนการศึกษายังสอดคล้องกับข้อ ๒๘[๑๔] และ ๒๙[๑๕] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child 1989) [๑๖] และthe Universal Declaration of Human Rights (UDHR) เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นประธานการประชุมการประชุม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๑ มีการสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการปฐมวัย .. ....[๑๗] แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีงบประมาณลงทุนด้านการศึกษาสูงกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปีแต่กลับพบว่ายังมีเด็กเยาวชนมากกว่า ๖๗๐,๐๐๐ คน ไม่อยู่ในระบบการศึกษาเพราะความยากจน

นอกจากนี้ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการยังพบว่ามีนักเรียนยากจนในระบบการศึกษามากกว่าสองล้านคนที่ครอบครัวมีรายได้ต่อคนต่อเดือนต่ำกว่า ,๐๐๐ บาท จึงเป็นที่มาของการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีกองทุนสำหรับแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพของครู โดยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระ พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า กอปศ.ได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานของกองทุนเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักการจัดงบประมาณแบบใหม่ คือ แก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ต้นทาง ลงทุนให้เพียงพอ ลงทุนอย่างฉลาดและโปร่งใสและลงทุนร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน[๑๘]

วัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา ๕๔ วรรคหก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู เงินและทรัพย์สินของกองทุนจะถูกนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับและเข้าถึงการศึกษาและพัฒนาอย่างเสมอภาคและทั่วถึงเด็กปฐมวัยจะได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสจะได้รับความช่วยเหลือให้สามารถเรียนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสจะได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึงตนเองในการดำรงชีวิตได้ ครูและสถานศึกษาจะได้รับการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนซึ่งมีพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกันสามารถรู้และพัฒนาความถนัดตามศักยภาพของตนได้[๑๙] (ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา .. .... อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

กฎหมายอีกฉบับที่เกี่ยวกับการศึกษาได้แก่ร่างพระราชบัญญัติการปฐมวัย .. .... เป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการเด็ก ที่ว่า หากเด็กได้รับการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ ขวบ กล่าวคือตลอดช่วงอายุปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่สมองเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพสูงที่สุด การที่เด็กได้รับสารอาหารที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาตลอดช่วงอายุปฐมวัยและได้รับการดูแลพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาก็สามารถเรียนได้ดี แต่หากเด็กไม่ได้รับการดูแลที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและตลอดช่วงปฐมวัย จะก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ กล่าวคือเด็กจะมีพัฒนาการล่าช้า มีปัญหาในการเรียน เด็กอาจไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กเหล่านี้จะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ เนื่องจากอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้อนุญาตทำงานได้และเป็นแรงงานที่มีทักษะต่ำ เยาวชนส่วนหนึ่งอาจกระทำความผิดตามกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ต้องเข้าไปอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากไม่สามารถช่วยพัฒนาประเทศได้แล้วยังก่อให้เกิดภาระแก่สังคม และหากเด็กเหล่านี้มีครอบครัวโดยยังไม่มีความพร้อม เด็กที่เกิดมากับบุคคลเหล่านี้ก็จะตกอยู่ในวังวนวัฎจักรแย่ๆ เหมือนเดิม ยิ่งเพิ่มปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีความพร้อมมากกว่าในการเลี้ยงดูเด็กด้วยวิธีที่เหมาะสมกับเด็กที่ขาดโอกาสในสังคมจะยิ่งมากยิ่งขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะขยายฐานมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น รัฐยังต้องช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้อีกเมื่อบุคคลเหล่านี้มีอายุสูงขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ ดังนั้น หากรัฐรีบช่วยเหลือและสนับสนุนตั้งแต่ต้นก่อนที่จะเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นโดยรัฐสนับสนุนด้านการเงินเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเข้ารับการอบรมตั้งแต่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ที่จะหายไปหากต้องเข้ารับการอบรมการเพิ่มจำนวนครูพี่เลี้ยง การพัฒนาอบรมครูพี่เลี้ยงและครูอนุบาลให้มีคุณภาพโดยสถาบันอบรมคุณภาพ การเพิ่มจำนวนวันลาหลังคลอดให้สอดคล้องกับ ILO[๒๐] คือ ลาคลอดอย่างน้อย ๑๔ สัปดาห์ (ประเทศไทยลาคลอดได้ เดือน) บริษัทควรจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กโดยรัฐช่วยสนับสนุน[๒๑] เป็นต้น เพื่อที่ประเทศไทยจะได้มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่สร้างภาระแก่ครอบครัว สังคม ประเทศและโลก ดังนั้น การที่รัฐนำภาษีมาช่วยเหลือพัฒนาเพื่อให้มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ จะดีกว่านำภาษีมาแก้ไขปัญหาอันเกิดจากทรัพยากรมนุษย์ที่ด้อยคุณภาพ

ประเทศไทยใช้แนวคิดแบบรัฐราชการศึกษา กล่าวคือ การจัดการศึกษาเป็นของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงจากบนลงล่าง ในการกำหนดนโยบาย อุดมการณ์ความต้องการ การสั่งการคำสั่ง รวมทั้งเรื่องอื่น ที่รัฐต้องจัดการทั้งหมด กลุ่มบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเอกชน ชุมชน ประชาชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสัดส่วนน้อยมาก รัฐบาลร้อยละเจ็ดสิบหก ภาคเอกชนร้อยละสิบเจ็ดท้องถิ่นร้อยละห้า ภาคประชาชนร้อยละสอง ซึ่งทุกเรื่องนั้นจะถูกผูกโยงด้วยกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ และข้อระเบียบบังคับ หลักสูตร การเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการศึกษาแบบรัฐราชการศึกษาจะใช้งบประมาณส่วนใหญ่แปดสิบเปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องของค่าตอบแทน เงินเดือน ค่าวิทยฐานะ  แต่งบพัฒนาผู้เรียนลงไปสู่ผู้เรียนแทบจะน้อยมากไม่ถึงสามเปอร์เซ็นต์ โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนแทบทุกด้าน จากการที่รัฐมองว่าการศึกษาเป็นหน้าที่สำคัญของรัฐ รัฐบาลที่ดีจึงมีหน้าที่ในการวางนโยบายในระดับมหภาคที่ถูกต้องเพื่อให้ประเทศสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การสร้างสรรค์สร้างสาธารณูปโภคเพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างสบาย มีมหาวิทยาลัยที่คิดใหม่ สร้างโอกาสไปสู่อนาคต มิใช่มหาวิทยาลัยที่หลงใหลอยู่กับความยิ่งใหญ่[๒๒] เป็นเพียงแค่สถานที่ที่ให้คนมาแสวงหาฐานันดรเท่านั้น ทำให้เกิดชนชั้นและฐานะทางสังคมแตกต่างกันไปตามระดับของการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาไม่ควรมีผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจคอยผลักดันอยู่เบื้องหลัง ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์การศึกษาและสังคมอย่างแท้จริง

รัฐควรเปลี่ยนการศึกษาที่เป็นภาระ (load) ทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นพลัง (energy) ทางเศรษฐกิจ โดยการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ศักยภาพ เป็นคนไทยที่มีกัมมันตะ (active) ฉลาด เป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา มีความขยัน ทำงานเป็น สร้างรายได้จากกิจกรรมและนวัตกรรมทางเศรษฐกิจมีฐานะที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะทางอารมณ์ที่ดี ไม่ใช่การศึกษาที่ก่อให้เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัว แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่สามารถสร้างสัมมาชีพที่มีรายได้มากกว่ารายจ่ายกล่าวคือ การศึกษาที่ไม่ช่วยให้หลุดพ้นจากความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้[๒๓]

ในขณะที่นโยบายการศึกษาหลักของประเทศฟินแลนด์ คือ การเสริมสร้างความเสมอภาคทางการเรียนรู้ ได้แก่ การปรับงบอุดหนุนโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการจริงของแต่ละโรงเรียน การทำให้การศึกษาพิเศษเป็นบริการที่ทุกคนเข้าถึงและหยืดหยุ่นได้ เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การทำให้บริการด้านสุขภาพและสวัสดิภาพเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนทุกแห่งและพร้อมให้บริการเด็กทุกคนในทุกๆ วัน การรับประกันว่าโรงเรียนจะใช้หลักสูตรที่สมดุลซึ่งช่วยพัฒนาพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และบุคลิกภาพที่แตกต่างของนักเรียนอย่างเสมอกันเป็นการผนวกคุณภาพกับความเสมอภาคเข้าด้วยกัน เพราะการเลือกโรงเรียนและกลไกตลาดที่เกี่ยวข้องมีแต่จะไปส่งเสริมให้เกิดการแบ่งแยกกันเสียมากกว่า[๒๔]

ทุก ปี ฟินแลนด์จะทบทวนนโยบายการศึกษาโดย National Education and Research Development Plan Outlines และกระทรวงศึกษาธิการของฟินแลนด์จะรับนโยบายการศึกษาที่พิจารณาทบทวนแล้วไปดำเนินการ นโยบายการศึกษามุ่งเน้นความเท่าเทียมและความเสมอภาคในการศึกษา เทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับประถมศึกษา รวมถึงการจัดระบบการศึกษา ทุนการศึกษา หลักสูตรและการจ้างครู มาตรการป้องกันความล้มเหลวของโรงเรียนฟินแลนด์ประสบความสำเร็จมาก โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครูไว้ว่าต้องจบการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์ในทางวิจัยและผ่านการฝึกอบรมการสอนทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วย คุณสมบัติการเป็นครูดังกล่าวรวมถึงการเป็นครูระดับปฐมวัยด้วย ทั้งนี้ หน่วยงานท้องถิ่น (เทศบาล) เป็นผู้สนับสนุนเงินเพื่อฝึกอบรมพัฒนาครู (Continuing professional development) ทุกปี ปีละอย่างน้อย วัน เมื่อมีครูที่มีคุณภาพที่สามารถสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพได้แล้ว ผลลัพธ์ก็มักจะได้นักศึกษาที่มีคุณภาพด้วย และส่งผลดีต่อประเทศ ครูจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติมากในฟินแลนด์ รัฐจึงให้เงินเดือนตอบแทนครูค่อนข้างสูง นอกจากครูแล้วโรงเรียนในประเทศฟินแลนด์ยังมีผู้นำโรงเรียน (school leader) มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหาร การบริหารจัดการการเงิน เกี่ยวกับการศึกษา เช่น การประเมินผลการดำเนินงานของครูและเจ้าหน้าที่โรงเรียน และการสอนหนังสือ โดยผู้นำโรงเรียนจะถูกแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจทางการศึกษาในระดับท้องถิ่น ผู้นำโรงเรียนมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ จบการศึกษาระดับปริญญาโทละมีประกาศนียบัตรการบริหารการศึกษา (Certificate in Educational Administration) และมีประสบการณ์ในการสอน แต่ไม่จำเป็นต้องมีประกาศนียบัตรจากโรงเรียนสอนการเป็นผู้นำ[๒๕]

. ปัญหา (Problems)
. รัฐจัดการและควบคุมดูแลเรื่องต่าง เอง ทำให้เกิดระบบอนุรักษ์นิยม ประเพณีนิยม คิดติดกรอบ ตามปัญหาสังคมและโลกไม่ทัน คิดแบบเก่า วิธีการคิดแบบ รัฐราชการศึกษาอยู่อย่างมั่นคงแข็งแรง ไม่มีใครกล้าเปลี่ยนแปลง วูบวาบบ้างตามกระแสการเมือง รัฐมนตรีที่ผลัดกันเข้ามาช่วงสั้น รัฐราชการศึกษานอกจากเติบโตในส่วนกลางแล้วยังขยายตัวไปยังภูมิภาค จังหวัด เขต อย่างไม่มีขอบเขต เป็นโครงสร้างหลักที่ล้มเหลว ปฏิรูปได้ยากยิ่ง[๒๖]
. ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเผชิญกับปัญหาภาระงานล้นมือจากโครงการต่าง ๆที่ได้รับมอบหมายจากส่วนกลางและ เจอความกดดันของการประเมินจากภายนอก จากการสำรวจครูในโครงการครูสอนดีของ สสค. ในปี ๒๕๕๗ พบว่า ครูกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ ต้องการอิสระในการทำงานและการบริหารจัดการมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ และงานที่กินเวลาของครูมากที่สุด ลำดับแรก คือ การเตรียมเอกสารเพื่อรับการประเมิน การประกวดแข่งขันระหว่างโรงเรียนและการเข้าร่วมฝึกอบรม จึงเป็นไปได้ยากมากที่ครูจะใช้เวลาอย่างเต็มที่เพื่อออกแบบการสอนและติดตามดูแลนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจหลักของการจัดการศึกษา
. หลักสูตรครูและหลักสูตรการศึกษาที่ยังไม่ปรับให้สอดรับกับทักษะแห่งอนาคตใหม่ คือ ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills)[๒๗] ทำให้นักเรียนที่จบมาใหม่กลับมีความล้าสมัย เนื่องจากความรู้ที่ได้รับเป็นความรู้สำหรับศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นความรู้ที่ล้าหลังไปแล้ว ทำให้แรงงานตลาดไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ทันท่วงทีกับสถานการณ์โลกที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
. เมื่อนักเรียนจบการศึกษาก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยกลับพบว่า ระบบการศึกษาไม่ได้เตรียมทรัพยากรมนุษย์รุ่นใหม่เหล่านี้ให้พร้อมสำหรับตลาดงาน เกิดความลักลั่นทั้งในเชิงปริมาณ เช่น ขาดแคลนคนจบอาชีวะ แต่คนจบปริญญาตรีล้นตลาด และมีปัญหาในเชิงคุณภาพ เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการหลายแห่งต้องลงทุนในการฝึกอบรมให้กับพนักงานใหม่ บริษัทที่ไม่สามารถทำได้ก็ต้องประสบภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ถึงแม้ ผู้ประกอบการจะมีไอเดียที่ชัดเจนว่าต้องการทักษะและความรู้ใดจากเด็กจบใหม่ ก็แทบไม่มีช่องทางให้ร่วมออกแบบระบบการศึกษาได้เลย[๒๘]
. ฐานคิดของพ่อแม่ส่วนใหญ่ยังถูกกำหนดโดยตลาดงานในศตวรรษที่ ๒๐ ที่เน้นเนื้อหาเป็นหลัก (content-based) เน้นการท่องจำ ขณะที่ในศตวรรษที่ ๒๑ ความรู้ต่างๆ เข้าถึงง่ายมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี ความสามารถในการแข่งขันจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าใครจำข้อมูลได้มากที่สุดแต่ใครจะนำข้อมูลนั้นไปวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ได้มากกว่ากัน ทักษะการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาซับซ้อนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง หากผู้สอนเปลี่ยนฐานคิดเช่นนี้แล้วการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง[๒๙]
. เพราะทัศนคติและมุมมองของ การศึกษาที่ดีแตกต่างกัน แนวทางที่เลือกใช้ก็ไปคนละทิศทาง ผลลัพธ์จึงยังห่างไกลจากสิ่งที่ควรเป็น
. อีกทั้งเรื่องของจำนวนการรับนักศึกษาเข้าศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยยังถือว่าเกินกว่าความสามารถในการฝึกหัดครู ทำให้มีนักศึกษาจำนวนมาก แต่ทรัพยากรไม่เพียงพอ ดังนั้นศักยภาพและคุณภาพของครูที่ออกมานั้นจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
. แม้ได้รับการศึกษา แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว กลับไม่มีความรู้อย่างที่ควรจะเป็น
. หลักสูตรที่หลงลืมภูมิสังคมหรือรากเหง้าของสังคมไทยและหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นวิชาการและหนักเกินไป (Curriculum Overload) ทำให้เด็กไม่สามารถใช้ชีวิตที่สมดุลได้เนื่องจากต้องเรียนวิชาการอยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาการทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่การเรียน บางครั้งการเรียนที่หนักมากเกินไปทำให้การนอน การออกกำลังกายไม่เพียงพอ หรือไม่มีเวลาทำกิจกรรมอื่น เนื่องจากความกดดันจากระบบการศึกษาที่หนักมากทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ความหลงผิดว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาและการทดสอบจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา การเน้นควบคุมสั่งการจากส่วนกลาง และความเข้าใจกลไกการเรียนรู้ที่ผิดพลาด การสอนเพื่อสอบ ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ โรงเรียนกลายเป็นสถานที่กวดวิชาให้นักเรียนทำข้อสอบได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การฉ้อโกงในการทดสอบที่มีครูและโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้โรงเรียนของตนมีคะแนนสูง นอกจากนั้นหลักสูตรที่หลงลืมภูมิสังคมหรือรากเหง้าของสังคมไทย
๑๐. การทุจริตของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่ว่าจะเป็น กรณีผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยและพรรคพวกรับเงินแป๊ะเจี๊ย เพื่อแลกกับการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐[๓๐] หรือกรณีทุจริตเงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เป็นต้น
๑๑. การศึกษาของประเทศตกต่ำ คุณภาพไม่ดี คะแนน PISA และ O-NET ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบในแทบทุกวิชา เรากำลังเผชิญปัญหาเด็กเกิดน้อยลง แต่คุณภาพด้อยลงแทบทุกด้าน ในขณะที่ ผลการเรียนของนักเรียนแทบไม่มีผลต่อการประเมินครูเลย[๓๑]
๑๒. สภาพการแข่งขันทางการศึกษาแม้จะเป็นแรงผลักให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆเร่งพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรตั้งต้นของแต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถและปริมาณของบุคลากรการศึกษา งบประมาณ เงินทุน เทคโนโลยี สถานที่ ความมีชื่อเสียง ฯลฯ ส่งผลให้โอกาสพัฒนาคุณภาพการศึกษาย่อมแตกต่างกันด้วย โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก ย่อมไม่มีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาคุณภาพมากนัก
๑๓. เนื่องจากความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีสูงขึ้น และการพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ต้องหาเลี้ยงตนเอง มีอิสระในการบริหารและเปิดหลักสูตรเพื่อหาผู้เรียนเข้าเรียนให้ได้จำนวนมาก สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบระยะยาวคือ มีบัณฑิตจบเป็นจำนวนมากเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่สามารถรองรับได้หมด โดยกลุ่มแรงงานระดับอุดมศึกษาที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่จบจากสาขาที่ตลาดแรงงานต้องการ จะถูกผลักสู่แรงงานนอกระบบ หรือหาทางออกโดยเรียนต่อระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจก่อเกิดภาวะแรงงานระดับปริญญาโทและเอกไม่มีคุณภาพและล้นตลาดตามมาเช่นกัน[๓๒]
๑๔. การสอนทักษะการคิดและทักษะทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ สภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขัน ทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนได้เท่าที่ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังมุ่งสอนให้ผู้เรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนป้อนความรู้มากกว่าการคิดสิ่งใหม่ ประกอบกับครูผู้สอนมีภาระงานมากจนส่งผลต่อการพัฒนาบุคคลในด้านอื่น เช่น การพัฒนาเชิงสังคม รวมถึงการพัฒนาทักษะทางอารมณ์นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอนทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องทางการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และทักษะทางสังคมของผู้เรียนลดลงด้วย
๑๕. การสอนคุณธรรมจริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้ผู้คนต่างมุ่งแข่งขัน และพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการและประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการ จนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม
๑๖. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบากเนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัว
๑๗. สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ดังนี้
) ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่นขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลไม่เกี่ยวกับตนเอง
) คนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
) สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้กับผู้มีอิทธิพลได้หากควบคุมไม่ดี
) ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำเป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น[๓๓]
๑๘. สถาบันกวดวิชาที่สะท้อนความอ่อนแอหรือความล้มเหลวของสถาบันการศึกษาหลักการศึกษาที่ภาครัฐหรือภาคเอกชนจัดให้ไม่อาจสนองความต้องการแก่นักเรียนได้เพียงพอทำให้นักเรียนต้องเรียนเสริมเพิ่มเติมจากสถาบันกวดวิชา
๑๙. การประเมินผลการศึกษานักเรียนโดยจัดลำดับนักเรียน ไม่ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใด นอกจากทำให้นักเรียนที่ไม่สามารถทำคะแนนตามหลักสูตรแกนกลางได้สูงๆ เกิดความท้อแท้และไม่อยากเรียนหนังสือ ก่อให้เกิดปัญหาเด็กเรียนไม่เก่งถูกทอดทิ้ง ครูจะให้ความสำคัญแต่กับเด็กเก่ง เพราะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับครูและโรงเรียน ในขณะที่เด็กทุกคนคือ ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศ

ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยหลักและอาจมีประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำปัญหาและแนวทางการแก้ไขดังกล่าวข้างต้นไปพิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทยและควรนำไปใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน กำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย  ทั้งนี้ ความก้าวหน้าทางการศึกษาขึ้นอยู่กับจุดยืนที่ชัดเจนของผู้นำประเทศ กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม

. แนวทางแก้ปัญหา (Solution)
.. การทำให้ระบบการศึกษาสั่นสะเทือน (Disrupt)t ที่เกิดจากความร่วมมือของผู้เล่นใหม่และผู้เล่นเก่าจากทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่การปฏิรูป (Reform) โดยภาครัฐ
.. การพัฒนาระบบการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังขึ้นอยู่กับสุขภาพอนามัยที่ดีของเด็กๆ หากสถาบันครอบครัวได้รับการดูแลที่ดีจากภาครัฐจะส่งผลให้สามารถช่วยพัฒนาระบบการศึกษาได้ นอกจากนั้นรัฐต้องสนับสนุนให้การศึกษามีนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้นได้และสามารถตอบสนองต่อตลาดแรงงานอย่างแท้จริง[๓๔]
.. การพัฒนาครูของประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทั้งกระบวนการและอย่างเป็นระบบ โดยการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่เข้าสู่วิชาชีพ[๓๕] การปรับปรุงหลักสูตรคณะศึกษาศาสตร์สำหรับการผลิตครูรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบการสอน โดยหลักสูตรนักศึกษาครูจำเป็นที่ต้องมีการปรับปรุงโดยเฉพาะวิชาการสอนและวิชาเอกให้สามารถบูรณาการ (Integrate) เข้าด้วยกันในสัดส่วนที่มากขึ้นเช่น ถ้านักศึกษาเลือกเรียนเอกวิชาคณิตศาสตร์ วิชาการสอนจะต้องเป็นการสอนคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ให้นักศึกษานำเอากระบวนการสอนกับวิชาเอกมาประยุกต์ใช้เอง ที่สำคัญต้องทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้มากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้คุรุสภาต้องเข้ามาดูแล จัดการ และควบคุมการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ให้เป็นไปตามแผนด้วย[๓๖]
กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างแรงจูงใจว่านักศึกครูจะมีสถานะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง (Professional) โดยประเทศไทยอาจศึกษาวิธีการพัฒนาครูของประเทศจีน ซึ่งนำไปใช้ที่มหานครเชี่ยงไฮ้ได้ผลดีมาแล้ว  ทั้งนี้ ครูยุคใหม่ต้องพัฒนาศักยภาพการเป็นครูที่มีคุณภาพเพราะมิฉะนั้นแล้วอาชีพครูจะถูกแทนที่ด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและสมองกลอัจฉริยะ (Robotic Autonomous Systems (RAS) and Artificial Intelligent (AI)
.. พัฒนาสื่อการสอน การทดสอบและการประเมินผล โดยระบบการประเมินครูควรเชื่อมโยงกับผลการเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ควรพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนควบคู่ไปด้วย
.. กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบคุณภาพของผู้เรียน ผลการสอบไม่ว่าจะเป็น การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน Ordinary National Education Test (O-net) ที่จัดสอบโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ การจัดทดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ (V-net) ส่วนมากอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละสี่สิบห้า จากคะแนนเต็มร้อย ถ้าเป็นการเรียนตามปกติก็ถือว่าสอบตก ซึ่งแน่นอนว่าระดับคุณภาพการศึกษายังไม่เป็นที่พอใจ ผลจากการที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำมาเป็นเวลานาน นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวของการศึกษาไทยที่ไม่สามารถยกระดับการศึกษาของเด็กให้สูงขึ้นได้และไม่สามารถรักษาเด็กแต่ละชั้นเรียนให้คงอยู่ในสถานศึกษาได้
ซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและผู้ปกครองจะต้องนำเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้ แต่ความเป็นจริงหน่วยงานที่รับผิดชอบยังปล่อยให้เด็กเหล่านี้เติบโตขึ้นมาโดยไม่ได้รับการศึกษา และพบว่าเด็กเหล่านี้ส่วนหนึ่งกลายเป็นเด็กด้อยคุณภาพเร่ร่อน มั่วสุม จนบางคนเผชิญปัญหาอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ถ้าตกจากระบบนานนับ ๑๐ ปีและไม่ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือไม่ได้รับการฝึกอบรมอีกเลยจนอายุถึง ๑๘ ปี ในที่สุดก็จะกลายเป็นแรงงานหรือคนทำงานทักษะต่ำ ทำงานรับจ้าง รายได้ต่ำวนเวียนในวัฏจักรของความยากจน บางคนอาจจะมีครอบครัวตั้งแต่วัยเด็กตกอยู่ในวงจรแห่งความยากจนเป็นผู้มีรายได้น้อย สูญเสียอนาคตเป็นจำนวนมาก นับเป็นความสูญเปล่าที่ยังไม่ได้แก้ไขให้สำเร็จ จำเป็นต้องทำให้เด็กที่มีจำนวนเกิดน้อยลงแต่สามารถทำคุณประโยชน์ให้แก่ตัวเอง ครอบครัวและประเทศชาติได้
การลดความสูญเสียของแรงงานกลุ่มนี้ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) หรือวิทยาลัยสารพัดช่าง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในอดีตถึงปัจจุบันการเติมความรู้ให้กับเด็ก (จำนวนประมาณ ล้านคนที่อยู่ในสังกัดของ กศน.) ที่ยังสนใจการศึกษาอยู่ แม้จะได้นักเรียนที่มีคุณภาพไม่ทัดเทียมกับเด็กนักเรียนภาคปกติ การที่ประเทศไทยมีเด็กเกิดน้อยลงอยู่แล้ว แต่ยังปล่อยให้เด็กต้องออกจากโรงเรียนก่อนวัยอันควรเช่นนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้น เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กศน. และหรือหน่วยงานประชารัฐจะต้องจัดฝึกอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุกคนได้มีโอกาสเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้แรงงานเหล่านี้ซึ่งมีจำนวนนับแสนคนสามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ขาดแคลนได้
.. เด็กวัยเรียนทุกคนต้องได้เรียนและระหว่างเรียนต้องรักษาอัตราคงอยู่ทุกชั้นเรียนให้ได้ใกล้เคียงกับร้อยละร้อย
.. เก็บตกเด็กวัยเรียนทุกคนให้ได้เรียนและหรือฝึกฝีมือแรงงาน เด็กและเยาวชนที่พ้นวัยเรียนรวมทั้งผู้ที่ตกจากระบบมาก่อนให้พวกเขาทุกคนมีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะประกอบสัมมาอาชีพได้ทุกคน และรัฐควรจะต้องสอดส่องดูแลแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
.. ต้องสร้างผู้จบการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือของภาครัฐกับมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการต่างๆ ในการสำรวจความต้องการแรงงานจากฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อที่สถาบันการศึกษาจะได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาให้ทันกับความต้องการตลาดแรงงาน รวมทั้งรัฐควรดูแลกำลังคนที่เป็นแรงงานในระบบและนอกระบบให้ได้รับการคุ้มครองด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
.. หลักสูตรครูและหลักสูตรการศึกษาต้องปรับให้สอดรับกับทักษะแห่งอนาคตใหม่ คือ ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) รวมถึงการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะทางอารมณ์การปรับการเรียนการสอนให้สอดรับกับโลกอนาคต คือ เน้นการสอนที่น้อยลงแต่ให้นักเรียนได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Learning) ทำให้การศึกษามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น[๓๗] โดยแนวทางทักษะการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้
) สิ่งแวดล้อม เนื่องจากสภาพแวดล้อมถูกทำลายไปมากแล้วและต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างแหล่งด่วน หลักสูตรควรมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกนัยหนึ่งคือ สอนจิตสำนึกให้รักโลกนอกจากรักตัวเองและประเทศชาติแล้ว
) เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น Bio-technology, Artificial Intelligence, etc. ดังนั้น ระบบการศึกษาต้องตามให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น การที่สถาบันการศึกษาต่างหันมาใช้เทคโนโลยีช่วยในการสอนมากขึ้น เช่น EDTech (Education Technology)  เช่น Google Apps for Education เป็นแพตฟอร์มที่มีแอพพลิเคชั่น Google classroom ซึ่งสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะ
) การเงินที่มีการพึ่งพากันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศระดับภูมิภาคก่อให้เกิดการแบ่งปันในทางเศรษฐกิจ (Shared Economy) และสร้างมูลค่าระดับโลกแต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทั่วโลกได้เช่นกัน เช่น ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ หรือความปลอดภัยในเศรษฐกิจระบบดิจิทัล (Digital Economy) การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล หลักสูตรการเรียนการสอนควรให้ความสำคัญกับเรื่องการเงิน การบริหารจัดการทางการเงิน ธุรกิจการเงินควบคู่กับเทคโนโลยีด้วย (Financial Technology) เป็นต้น
) รูปแบบสังคมที่เปลี่ยนไปมาก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นการเรียนการสอนต้องปรับให้สอดรับกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย (cross culture)
) กระบวนการเรียนรู้ต้องควบคู่ไปกับระบบหลักสูตร แบ่งกลุ่มตามวัยและตามโครงงาน ดังนี้
. ระดับประถมศึกษายึดตามโครงงานฐานกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เล่นตามความต้องการของตนเอง รวมทั้งเสริมสร้างคุณธรรมเรื่องความมีวินัย ความรับผิดชอบการแสดงออก จิตอาสา จิตสาธารณะ เป็นต้น แบ่งออกเป็น . กลุ่มทักษะ คือ
.) ทักษะวิชาการ ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์
.) ทักษะการเรียนปนเล่น การลงมือปฏิบัติตามโครงงานที่ร่วมกันคิดค้น การเรียนกลุ่มนี้ทำให้ผู้เรียนได้ทราบความต้องการของตนเอง ได้เล่นในสิ่งที่ตนชอบซึ่งจะเป็นพื้นฐานในวัยอื่น
. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยึดตามโครงงานฐานประดิษฐ์ สอดแทรกเนื้อหาที่มากขึ้น เช่น ประดิษฐ์หุ่นยนต์หรือสิ่งของ การเรียนกลุ่มนี้ทำให้ผู้เรียนกล้าคิดนอกกรอบกล้าลองผิดลองถูก มีความกล้าที่จะทำบางสิ่งบางอย่างได้ด้วยตนเอง
. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายยึดตามโครงงานฐานวิจัย เป็นการคิดฐานวิทยาศาสตร์ วิจัย STEM (Science Technology Engineering and Mathematics Education) มากยิ่งขึ้น การเรียนกลุ่มนี้ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม คณิตศาสตร์ วิจัย ศิลปะ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษาไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม
. ระดับอุดมศึกษา ยึดตามโครงงานฐานนวัตกรรม เป็นการนำความรู้มาต่อยอดตั้งแต่การทำกิจกรรม นักประดิษฐ์ นักวิจัย มาสร้างคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศในระดับสูงได้ ดังนั้น ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านระบบหลักสูตร เนื้อหาสาระของหลักสูตรแกนกลาง ไม่จำเป็นต้องมี กลุ่มสาระ มีเพียงแค่ กลุ่ม ดังเช่น
กลุ่ม . ภาษาและเทคโนโลยี
กลุ่ม . STEM การศึกษา
กลุ่ม จิตตปัญญา (Spiritual)
กลุ่ม สัมมาอาชีวะ
โดยเนื้อหาทางวิชาการจะเพิ่มมากขึ้นตามช่วงวัยโดยบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่นและลดการเรียนรู้ในห้องเรียน โรงเรียนไม่ใช่สถานศึกษาที่แปลกแยกจากชุมชนหรือจากสถานประกอบการ ต้องผสมผสาน บูรณาการ เชื่อมโยง การมีองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาต่อยอดกับภูมิปัญญาสากลมีวัตถุประสงค์ของชาติรวมทั้งมีวัตถุประสงค์ของท้องถิ่นเพิ่มเติม ส่วนการวัดและประเมินผลในบางระดับที่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริงก็เพียงพอแล้ว
.๑๐. รัฐต้องเปลี่ยนแนวคิดของสังคมเกี่ยวกับการศึกษาสายอาชีพหรืออาชีวศึกษาว่า เป็นการศึกษาที่มีคุณค่าไม่น้อยกว่าการศึกษาสายสามัญ เพื่อป้องกันผู้จบการศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่ไม่มีคุณภาพและมีปัญหาการจ้างงานที่ไม่ตรงกับความสามารถที่แท้จริง อาชีวศึกษาเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่มีความหลากหลายตามความถนัดและความสนใจของเด็กแต่ละคน ดังต่อไปนี้
) อาชีวะแบบสัมมาอาชีวะ กล่าวคือ การสืบเสาะแสวงหาอาชีพหรือสิ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษ มีการสะสมองค์ความรู้ มีต้นทุนทางสังคม ไม่ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำไปต่อยอดได้ การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (Entrepreneur) SMES วิสาหกิจชุมชน OTOP SMART FARMER เป็นต้น
) ทวิภาคีระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ให้ความสำคัญกับภาคเอกชนตามที่ตลาดต้องการ ผู้เรียนตัดสินใจเข้าสู่การมีงานทำ รายได้ สวัสดิการบนระบบหลักสูตรที่ออกแบบร่วมกัน เรียนทฤษฎี วัน ปฏิบัติ วัน ในสถานประกอบการ เป็นต้น
) อาชีวอุดมศึกษา คือการต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม งานวิจัยสร้างนวัตกรรม สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชภัฏ ในการสร้างวิจัย สร้างนวัตกรรม สร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ประเทศ รัฐต้องมองด้วยสายตาที่กว้างไกล ต้องลดบทบาทของตัวเอง เลิกทำตัวเป็นรัฐผู้กำหนด ควรเป็นการพัฒนาจากล่างขึ้นบน[๓๘]
.๑๑. กระจายอำนาจทั้ง ด้านคือด้านวิชาการ บริหารงานบุคคล งบประมาณและบริหารทั่วไปให้สถานศึกษาอย่างแท้จริง ให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ให้ครูมีอิสระในการสอน ให้ครูและโรงเรียนคิดโครงการเอง สอนเอง อย่าให้รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการ สำนักศึกษานิเทศก์ หรือบุคคลอื่นๆจากส่วนกลาง สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด หรือเขตพื้นที่การศึกษาคิดโครงการให้ ซึ่งการที่จะทำอย่างนี้ได้ ต้องให้สถานศึกษามี อกคศ ของสถานศึกษาเองส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กและไม่สามารถยุบรวมได้ ก็กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานศึกษาเหล่านั้นใช้สถานศึกษาร่วมกันได้ รัฐบาลต้องหาครูดี ครูเก่งให้โรงเรียน ต้องทำให้นักศึกษาครูและครูมีคุณภาพสูง มีกระบวนการผลิตครูที่มีมาตรฐานสูง เพราะนักศึกษาที่ดีๆ และเก่งๆ ของประเทศชั้นนำทั้งหลายเลือกเรียนครูเพราะเขาเห็นว่า เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีส่วนในการช่วยสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ชาญฉลาด (Human Intelligence) รัฐต้องช่วยส่งเสริมให้วิชาชีพครูเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง (professional) ให้ได้ การพัฒนาครูให้เก่งมีศักยภาพอาจใช้วิธีการที่ประเทศจีน ริเริ่มใช้ได้ผลมาแล้ว . มหานครเชี่ยงไฮ้ นำมาปรับใช้กับการพัฒนาครูของประเทศไทย[๓๙] การศึกษาควรเป็นการการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง (Self-Transformation) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในองค์กร (Organizational Transformation) และเกิดการเปลี่ยนขั้นพื้นฐานทางสังคม (Social Transformation)[๔๐] ในท้ายที่สุด
.๑๒. ปัญหาการทุจริตนอกจากต้องพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมแล้วเห็นควรสร้างระบบการดำเนินงานที่โปร่งใสโดยนำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น การนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการบริหารจัดการกองทุน
.๑๓. สร้างสังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้และเปิดกว้างทางความคิด
.๑๔. สถาบันกวดวิชาควรเป็นแหล่งให้ความรู้เสริม ไม่ใช่กลายเป็นแหล่งการศึกษาหลักแทนสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
การศึกษาของฟินแลนด์เป็นการศึกษาแบบ Inclusive Education ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ระบบและโครงสร้างการศึกษา วัฒนธรรมการศึกษาและวีธีการเรียนการสอนได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อความสำเร็จของนักเรียนทุกคน[๔๑] การประเมินการศึกษาของฟินแลนด์ (Evaluation and Assessment)[๔๒] จะเป็นไปเพื่อดูผลการเรียนนักเรียนและดูว่านักเรียนได้รับความเสมอภาคในการศึกษาหรือไม่ การประเมินมี ส่วนด้วยกัน คือ

. การประเมินนักเรียนระดับในประเทศ ระดับนักเรียนนานาชาติ การประเมินตนเอง และการประเมินโดยบุคคลภายนอกผู้มีอำนาจในการประเมิน ซึ่งการประเมินเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดย The National Board of education จะเป็นผู้ประเมินผลการเรียนในประเทศ ภายใต้แนวทางการประเมินการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยผลการประเมินการศึกษาที่ได้จะนำไปพัฒนาการศึกษาไม่ได้ถูกนำไปจัดลำดับโรงเรียน

. การประเมินโดยโรงเรียน ไม่มีการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน โรงเรียนจะประเมินผลการดำเนินงานของตนเอง แต่อาจได้รับการประเมินจากหน่วยงานภายนอกได้แก่ (The Finnish Education Evaluation Council)

. การประเมินนักเรียนเป็นความรับผิดชอบของครูที่จะประเมินผลการเรียนของนักเรียนนักเรียนเองก็ได้รับการสนับสนุนให้ออกแบบรูปแบบการประเมินผลการเรียนของตนเอง เฉพาะแต่นักเรียนที่เรียนในระดับที่สูงเท่านั้น การประเมินนักเรียนในระดับประเทศสำหรับนักเรียนที่เรียนจบระดับมัธยมปลายครั้งแรก ได้แก่ Marticulation Examination

. สรุป (Conclusion)

การปฏิรูประบบการศึกษาจะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากสถาบันแรกอันเป็นรากแก้วของสังคม คือ สถาบันครอบครัว โดยผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือผู้ใดก็ตามที่รับผิดชอบในการดูแลเด็กเป็นหลักต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง เช่น เด็กควรเริ่มเรียนหนังสือตั้งแต่ ขวบเป็นต้นไป เด็กแรกเกิดจนถึง ขวบควรเล่นอย่างเดียว หากต้องไปโรงเรียนควรเป็นการเรียนผ่านการเล่น เพื่อพัฒนาความพร้อมทุกด้านก่อนจะเริ่มเรียนหนังสืออย่างจริงจัง

ภาครัฐเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบถัดจากสถาบันครอบครัว เช่น กระทรวงศึกษาธิการไม่ควรอนุญาตให้มีการเปิดสอบนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ เพราะนั่นหมายถึง เด็กอนุบาลต้องอ่านออกเขียนได้แล้ว แสดงว่าเด็กเริ่มเรียนหนังสืออย่างจริงจังตั้งแต่อนุบาล ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพัฒนาการเด็กรัฐไม่ควรทอดทิ้งเด็กคนใดไว้ข้างหลัง (No one leave behind) รัฐควรพัฒนาเด็กตามลักษณะเฉพาะหรือตามความสามารถของเด็กแต่ละคน เพราะคนเราแต่ละคนมีความสามารถที่เก่งแตกต่างกันออกไป ตามหลักพหุปัญญา (Multiintelligence) ทรัพากรมนุษย์ที่มีน้อยลงเรื่อยๆ แต่เป็นจำนวนน้อยที่มีศักยภาพ ไม่ใช่มีคนน้อยแถมด้อยคุณภาพอีกต่างหาก

คนในชุมชนควรช่วยเหลือดูแลเด็กในการให้ความรู้และดูแลเรื่องความปลอดภัย ไม่ใช่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก การที่เด็กสามารถเติบโตในชุมชนหรือสังคมที่มีความรู้ ความรักและความเอื้ออารีย์ต่อกัน ความกังวลกับความเป็นอยู่ของสังคมผู้สูงอายุก็จะลดน้อยลง เพราะแม้คนรุ่นใหม่จะมีจำนวนลงแต่เป็นจำนวนน้อยที่มีศักยภาพในการดูแลรับผิดชอบสังคมผู้สูงอายุได้ เป็นจิตสำนึกและหน้าที่ของทุกคนในชุมชนและสังคมที่ต้องช่วยเหลือกันพัฒนาเยาวชนและระบบการศึกษา

ภาคเอกชน เช่น ครูควรถ่ายถอดความรู้ที่มีทั้งหมด เพื่อช่วยต่อยอดความรู้ให้นักเรียนในชั้นเรียน ไม่ควรใช้อำนาจของการเป็นครูในการทำธุรกิจ โดยการเปิดสถาบันกวดวิชา การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เปิดสถาบันการศึกษาแข่งกับภาครัฐ ซึ่งช่วยพัฒนาศักยภาพเยาวชนที่ไม่ใช่ครอบงำความคิดเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท แต่ควรเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ

หากประเทศไทยสามารถสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพและมีจิตจริยธรรมควบคู่กันแล้ว นอกจากประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอันเกิดจากตลาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ประเทศไทยยังมีสังคมที่อยู่กันอย่างสงบสุข เพราะสังคมไทยมีคนที่มีจิตจริยธรรมอยู่ร่วมกัน การพัฒนาประเทศจึงเป็นไปอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง

Education is not the learning of facts, but the training of the mind to think
                                            (Albert Einstein  1879 – 1955)


ë นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, .. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  Master Droit public Spécialité Droit public géneral - Université Paul Cézanne Aix-Marseille III (ฝรั่งเศส), และDocteur en droit ที่ Université Paul Cézanne Aix-Marseille III และ  Visiting Fellowship - Max Planck Institute for Intellectual Property, Competition and Tax Law (เยอรมนี)
[๑] Pasi Sahlberg, “Finnish Lesson 2.0 ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์ วิชยา ปิดชามุก แปล จากเรื่อง Finnish Lessons 2.0 : What Can the World Learn from Education Change in Finland?”, Openworlds Publishing House, ๒๐๑๗, หน้า ๖๗
[๒] James Bellanca and Ron Brandt แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ 21st Century Skills : Rethinking How student Learn พิมพ์ครั้งที่ โดยสำนักพิมพ์ openworlds ธันวาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๑๗๑๔๑
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๗๔ /หน้า /๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
โดยจรูญ-หยูทอง-แสงอุทัย ทำไมการศึกษาไทยถึงล้มเหลว
[๕] https://en.oxforddictionaries.com/definition/education สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑
Education means The process of receiving or giving systematic instructions especially at a school or university
[๖] Ken Robinson and Lou Aronica “Creative schools : the Grassroots Revolution That’s Transforming Education” โรงเรียนบันดาลใจ แปลโดย วิชยา ปิดชามุก โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๙ หน้า ๒๗
[๗] https://www.kroobannok.com/83243  สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ โดย ดร. กมล รอดคล้าย อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา
[๘] https://thepotential.org/category/knowledge/infographic/ สืบค้นข้อมูลวันที่ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คู่มือเลี้ยงเด็กในศตวรรษที่ ๒๑ จะปรับตัวอย่างไรให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่รอด โพสต์วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๑
[๙] Quellmalz, E.S.., & Haertel, G. (2004) Technology supports for state science assessment systems, Washington, DC: National Research Council จากหนังสือ 21st Century Skills : Rethinking How student Learn โดย James Bellanca and Ron Brandt แปลโดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ พิมพ์ครั้งที่ โดยสำนักพิมพ์ openworlds ธันวาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๓๗๑๓๙
[๑๐] https://www.gotoknow.org/posts/516168, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑

[๑๑]https://mgronline.com/daily/detail/9610000021947 สืบค้นข้อมูลวันที่ มีนาคม ๒๕๖๑ “SWOT Analysis : ราชการไทยชอบใช้ผิดๆ หลอกตัวเองไปวันๆ โดย: อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

[๑๓] https://tdri.or.th/2017/01/2017-01-12/ สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑๔] ข้อ ๒๘
. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษา และเพื่อที่จะให้สิทธินี้บังเกิดผลตามลำดับและบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกัน รัฐภาคีจะ
) จัดการศึกษาระดับประถมเป็นภาคบังคับที่เด็กทุกคนสามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
) สนับสนุนการพัฒนาของการศึกษาระดับมัธยมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ จัดการศึกษาให้แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน และดาเนินมาตรการที่เหมาะสม เช่น การนามาใช้ซึ่งการศึกษาแบบให้เปล่าและการเสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินในกรณีที่จาเป็น
) ทาให้การศึกษาในระดับสูงเปิดกว้างแก่ทุกคนบนพื้นฐานของความสามารถ โดยทุกวิธีการที่เหมาะสม
) ทาให้ข้อมูลข่าวสาร และการแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพ เป็นที่แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน
) ดาเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการเข้าเรียนอย่างสม่าเสมอ และลดอัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน
. รัฐภาคีจะดาเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะประกันว่า ระเบียบวินัยของโรงเรียนได้กาหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของเด็ก และสอดคล้องกับอนุสัญญานี้
[๑๕] ข้อ ๒๙
. รัฐภาคีตกลงว่า การศึกษาของเด็กจะมุ่งไปสู่
) การพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ และความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กให้เต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน
) การพัฒนาความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานและต่อหลักการที่วางไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติ
) การพัฒนาความเคารพต่อบิดามารดาของเด็ก เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา และค่านิยมของเด็กนั้นเอง และต่อค่านิยมของชาติที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ และต่อค่านิยมของชาติถิ่นกาเนิดของเขาและต่ออารยธรรมอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากของเขาเอง
) การเตรียมเด็กให้มีชีวิตที่มีความรับผิดชอบในสังคมที่เสรีด้วยจิตสานึกแห่งความเข้าใจกัน สันติภาพความอดกลั้น ความเสมอภาคทางเพศ และมิตรภาพในหมู่มวลมนุษย์ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนชาติ กลุ่มศาสนา ตลอดจนในหมู่คนพื้นเมืองดั้งเดิม
) การพัฒนาความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
. ไม่มีความตอนใดในข้อนี้หรือในข้อ ๒๘ ที่จะได้รับการตีความให้เป็นการก้าวก่ายเสรีภาพของบุคคลและขององค์กรในการจัดตั้งและอานวยการสถาบันทางการศึกษา แต่ทั้งนี้จะต้องเคารพต่อหลักการที่ระบุไว้ในวรรค ของข้อนี้เสมอ และต่อเงื่อนไขที่ว่าการศึกษาที่ให้ในสถาบันเหล่านั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่าที่รัฐได้วางไว้
[๑๖] http://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/crct.pdf, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑๗] http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=50917&Key=news2 สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑๘] http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=9113 สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑๙] บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา .. .... เรื่องเสร็จที่ ๑๖๘๑/๒๕๖๐
[๒๐] http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---dgreports/---dcomm/---publ/documents/publication/wcms_242615.pdf, หน้า สืบค้นข้อมูลวันที่ เมษายน ๒๕๖๑
[๒๑] https://tdri.or.th/2017/05/thinkx2-198/ สืบค้นข้อมูลวันที่ เมษายน ๒๕๖๑
[๒๒] ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ปัญญาอนาคต สำนักพิมพ์ openbooks, หน้า ๒๐๙
[๒๓] ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี การศึกษาเปลี่ยนระเทศไทยประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา, พิมพ์โดยมูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์, ๒๕๕๙ หน้า ๑๖
[๒๔] โปรดดูเชิงอรรถที่ หน้า ๓๕๐
[๒๕] http://www.oecd.org/education/EDUCATION%20POLICY%20OUTLOOK%20FINLAND_EN.pdf   สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ หน้า ๑๐
[๒๖] .ดร.สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง : http://www.kroobannok.com/83544, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๒๘] https://tdri.or.th/2017/09/education-paradigm-shift-1/, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๒๙] https://tdri.or.th/2017/09/education-paradigm-shift-1/, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๐] https://mgronline.com/qol/detail/9610000032528, สืบค้นข้อมูลวันที่ เมษายน ๒๕๖๑
[๓๑] https://tdri.or.th/2013/05/tdri-factsheet-14-2/ สืบค้นข้อมูลวันที่ เมษายน ๒๕๖๑
[๓๒] http://kriengsak.com/node/77, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๓] http://kriengsak.com/node/1040 สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๔] http://siteresources.worldbank.org/EDUCATION/Resources/ESSU/463292-1306181142935/WB_ES_ExectiveSummary_FINAL.pdf, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๕] https://docs.google.com/viewerng/viewer?url=http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/12/report-new-final.pdf&hl=th, หน้า สืบค้นข้อมูลวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๖] https://tdri.or.th/2017/06/education-teacher-reform/, หน้า สืบค้นข้อมูลวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๑
[๓๘] .ดร.สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน การศึกษาไทย กระบวนทัศน์ที่หลงทาง : http://www.kroobannok.com/83544, สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๓๙] ดิเรก พรสีมา ทางออกของวิกฤตการศึกษาไทยภายใต้การใช้อำนาจตาม .๔๔ ของ คสช.http://www.kroobannok.com/83622 สืบค้นข้อมูลวันที่ ๑๕ . ๒๕๖๑
[๔๐] ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี การศึกษาเปลี่ยนระเทศไทยประเทศไทยเปลี่ยนการศึกษา, พิมพ์โดยมูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์, ๒๕๕๙ หน้า ๒๐
[๔๒] http://www.oecd.org/education/EDUCATION%20POLICY%20OUTLOOK%20FINLAND_EN.pdf เข้า สืบค้นข้อมูลวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ หน้า ๑๒