ปกรณ์ นิลประพันธ์
ร่าง
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ….
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
เหตุผล
โดยที่ผู้บริโภคได้แก่ประชาชนทุกคนของประเทศที่บริโภคสินค้าหรือบริการต่าง
ๆ ในชีวิตประจำวัน การคุ้มครองผู้บริโภคจึงเป็นภารกิจที่ครอบคลุมถึงประชาชนทุกคน
ยิ่งสินค้าและบริการมีความหลากหลายมากขึ้นเท่าใด
การคุ้มครองผู้บริโภคก็ยิ่งต้องขยายออกไปกว้างขวางมากขึ้นเท่านั้น แม้ปัจจุบันรัฐจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรงอยู่แล้ว แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและอัตรากำลัง
รวมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติราชการทำให้การดำเนินภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาครัฐฝ่ายเดียวนั้นเกิดผลสัมฤทธิ์ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้นประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคมีความตื่นตัวในการคุ้มครองสิทธิของตนเองมากขึ้น
มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานและมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
คุ้มครอง และเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภคโดยไม่แสวงหากำไรเพิ่มมากขึ้น สมควรส่งเสริมให้องค์กรเหล่านี้รวมตัวกันเป็นสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความเข้มแข็ง
อันเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐในด้านต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริม คุ้มครอง และเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภค
การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
การศึกษา วิจัย วิเคราะห์ ทดสอบ หรือทดลอง คุณภาพ ความปลอดภัย
และความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ
และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไปเพื่อให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และสมควรกำหนดให้สภาองค์กรดังกล่าวมีอำนาจให้บริการรับรองคุณภาพหรือความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยรวม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่าง
พระราชบัญญัติ
สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ….
...........................................
...........................................
............................................
.........................................................................................................................................
..........................................
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
.........................................................................................................................................
..........................................
“ผู้บริโภค”
หมายความว่า ผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“สิทธิของผู้บริโภค” หมายความว่า
สิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
“สภาองค์กร”
หมายความว่า สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับของสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกของสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า
คณะกรรมการสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
“พนักงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของสภาสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
“พนักงานเจ้าหน้าที่”
หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การจัดตั้ง
มาตรา
๕ ให้จัดตั้งสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทยขึ้น
มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
ให้สภาองค์กรเป็นนิติบุคคล
(๑) ส่งเสริม คุ้มครอง
และเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภค
(๒)
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน
หรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ ทดสอบ หรือทดลอง
คุณภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไป
คุณภาพ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต่อสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไป
(๔)
รับรองคุณภาพหรือความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการ
(๕) ร่วมมือกับหน่วยงาน
องค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
(๖)
เป็นตัวแทนของสมาชิกในการประสานนโยบายและดำเนินงานระหว่างสมาชิกกับรัฐ
(๗)
ควบคุมดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและกิจการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของสภาองค์กร
(๘) ปฏิบัติกิจการอื่น
ๆ ตามแต่จะมีกฎหมายระบุให้เป็นหน้าที่ของสภาองค์กร
(๑)
ประกอบวิสาหกิจ เข้าดำเนินการในการประกอบวิสาหกิจของบุคคลใด เข้าถือหุ้น
เป็นหุ้นส่วนหรือร่วมทุนในการประกอบวิสาหกิจกับบุคคลใด
(๒) ดำเนินการด้วยประการใด
ๆ อันเป็นการทำลายการแข่งขันทางการค้าอันพึงมีตามปกติวิสัยของการประกอบวิสาหกิจ
(๓)
ดำเนินการด้วยประการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบบเศรษฐกิจของประเทศ
(๔)
ให้กู้ยืมเงินหรือให้เงินแก่สมาชิกหรือบุคคลอื่นใด
เว้นแต่เป็นการให้กู้ยืมเพื่อเป็นการสงเคราะห์พนักงานหรือครอบครัวของพนักงานตามข้อบังคับ
หรือเป็นการให้เพื่อการกุศลสาธารณะ
(๕)
กีดกันหรือขัดขวางมิให้ผู้ใดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิกได้ตามพระราชบัญญัติและข้อบังคับเข้าเป็นสมาชิก
หรือให้สมาชิกออกจากสภาองค์กรโดยขัดต่อพระราชบัญญัติหรือข้อบังคับ
(๖)
แบ่งปันผลกำไรหรือรายได้ให้แก่สมาชิก
(๗)
ดำเนินการทางการเมือง
มาตรา
๘ ให้สภาองค์กรมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
และมีสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นได้ตามความจำเป็น
การจัดตั้งสำนักงานสาขาตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา
๙ สภาองค์กรอาจจัดให้สมาชิกที่สถานที่ตั้งในเขตท้องที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มสมาชิกเดียวกัน
หรือจะจัดกลุ่มสมาชิกตามในรูปแบบอื่นก็ได้
การจัดกลุ่มสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ
(๑)
ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงของสมาชิก
(๒)
ค่าบริการในการรับรองคุณภาพหรือความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการ
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้
(๔)
เงินรายได้อื่น ๆ
มาตรา
๑๑ ห้ามบุคคลใดนอกจากสภาองค์กรใช้ชื่อที่เป็นภาษาไทยว่า
“สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย” หรืออักษรต่างประเทศที่แปลหรืออ่านว่า“สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศไทย”
หมวด ๒
สมาชิก
กรรมการ และพนักงาน
(๑) สมาชิกสามัญ
(๒) สมาชิกสมทบ
สมาชิกทั้งสองประเภทมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา
๑๓ สมาชิกสามัญของสภาองค์กรต้องเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม คุ้มครอง
หรือเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภคโดยไม่แสวงหากำไร
มาตรา
๑๔ สมาชิกสมทบของสภาองค์กรต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริม คุ้มครอง
หรือเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภคในราชอาณาจักรตามที่กำหนดในข้อบังคับโดยไม่แสวงหากำไรไม่น้อยกว่าสามปีติดต่อกัน
(๒) เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริม
คุ้มครอง หรือเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภคในราชอาณาจักรตามที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา
๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งจำนวนไม่เกินสิบห้าคนประกอบด้วยกรรมการซึ่งที่ประชุมสมาชิกสามัญเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกสามัญ
ให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นประธานสภาองค์กรคนหนึ่ง
รองประธานสภาองค์กรไม่เกินสามคน และเลขาธิการสภาองค์กรคนหนึ่ง
การแต่งตั้งตำแหน่งอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ
(๑)
เป็นพนักงานของสภาองค์กร
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๓)
เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมืองหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ
ในพรรคการเมือง
(๔)
เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๕) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
เว้นแต่ในความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)
ที่ประชุมใหญ่สภาองค์กรมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุม
(๔)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
(๕)
รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๓๓
มาตรา
๑๙ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้คณะกรรมการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในภายในหกสิบวัน
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้นั้นจะเหลือน้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนตามวรรคหนึ่ง
อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา
๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามมาตรา
๓๓ ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินกิจการของสภาองค์กรต่อไปเท่าที่จำเป็นจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้มีการประชุมสมาชิกสามัญ
เพื่อให้มีคณะกรรมการชุดใหม่ตามมาตรา ๑๕ ภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงจนเหลือจำนวนน้อยกว่าที่จะเป็นองค์ประชุมตามมาตรา
๒๒
ให้กรรมการที่เหลืออยู่กระทำการในนามของคณะกรรมการต่อไปได้แต่เฉพาะการจัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกตั้งหรือแต่งตั้งผู้แทนสมาชิกสามัญเป็นกรรมการแทนตามมาตรา
๑๙ และการจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา
๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและดำเนินงานของสภาองค์กร
ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาองค์กร และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาองค์กร และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของสมาชิก การรับสมัคร คุณสมบัติ วินัย การลงโทษสมาชิกและการพ้นจากสมาชิกภาพ รวมทั้งการอุทธรณ์
(๒)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการ
(๓)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมและดำเนินกิจการของคณะกรรมการและการประชุมใหญ่สภาองค์กร
(๔)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของสำนักงานสาขาสภาองค์กรตามมาตรา
๘
(๕)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการจำแนกกลุ่มสมาชิกตามมาตรา ๙ ตลอดจนกิจการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
(๖)
ออกข้อบังคับกำหนดค่าลงทะเบียน ค่าบำรุง
และค่าบริการที่จะพึงเรียกเก็บจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก
(๗)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบัญชีและการเงินของสภาองค์กร
(๘)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การกำหนดตำแหน่ง
อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินบำเหน็จ รางวัลพนักงาน รวมทั้งระเบียบ วินัย
การลงโทษและการร้องทุกข์ของพนักงาน
(๙)
ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงาน ตลอดจนครอบครัวของบุคคลดังกล่าว
หรือผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงาน
(๑๐)
ออกระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องอื่นใดที่จำเป็นต่อการดำเนินงานภายในเกี่ยวกับกิจการของสภาองค์กร
(๑๑)
ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการส่งเสริม คุ้มครอง
และเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภค
(๑๒)
เสนอแนะให้ความเห็นและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
คุ้มครอง และเผยแพร่สิทธิของผู้บริโภค
การกำหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่สภาองค์กร
มาตรา
๒๒ การประชุมของคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา ๑๕
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้ประธานสภาองค์กรเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานสภาองค์กรไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานสภาองค์กรเป็นประธานในที่ประชุมตามลำดับ
ถ้าประธานและรองประธานสภาองค์กรไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกสามัญคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้ามีการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใด
กรรมการผู้นั้นมีสิทธิชี้แจงในเรื่องนั้น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
มาตรา
๒๓ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้ประธานสภาองค์กรเป็นผู้แทนของสภาองค์กร
การดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ
การดำเนินกิจการ
มาตรา
๒๔ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาองค์กรปีละหนึ่งครั้ง
การประชุมใหญ่เช่นนี้เรียกว่าประชุมสามัญ
การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากการประชุมตามวรรคหนึ่ง
เรียกว่าการประชุมวิสามัญ
มาตรา
๒๕ เมื่อมีเหตุจำเป็น
คณะกรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้
สมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสามัญจะทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้เรียกประชุมวิสามัญก็ได้
ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
ในกรณีที่สมาชิกสามัญเป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญตามวรรคสอง
ให้คณะกรรมการเรียกประชุมวิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับหนังสือร้องขอ
มาตรา
๒๖ ในการประชุมใหญ่สภาองค์กร
ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญจึงจะเป็นองค์ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญซึ่งมาประชุม
มาตรา
๒๗ ในการประชุมใหญ่สภาองค์กร
ถ้าสมาชิกสามัญมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เลื่อนการประชุมนั้นออกไปอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้ประธานสภาองค์กรแจ้งวันประชุมครั้งใหม่ให้สมาชิกสามัญทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
การประชุมใหญ่ครั้งใหม่นี้ถ้าเป็นการประชุมที่คณะกรรมการเรียกไม่ว่าจะมีสมาชิกสามัญมาประชุมจำนวนเท่าใดให้ถือเป็นองค์ประชุมได้
แต่การประชุมในครั้งนี้ให้ดำเนินการได้เฉพาะมาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ เท่านั้น
มาตรา
๒๘ ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานของคณะกรรมการในปีที่ล่วงมา
และคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายเสนอต่อที่ประชุมสามัญพร้อมด้วยงบดุลและบัญชีรายได้และรายจ่ายประจำปี
ซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน
และให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมสามัญรับรองแล้ว
มาตรา
๒๙ ผู้สอบบัญชีตามมาตรา
๒๘ นั้น ให้ที่ประชุมใหญ่สภาองค์กรแต่งตั้งจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี
และต้องไม่เป็นกรรมการหรือพนักงาน
ให้ผู้สอบบัญชีได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่ที่ประชุมใหญ่สภาองค์กรกำหนด
หมวด ๔
การกำกับโดยรัฐ
(๑) กำกับดูแลให้คณะกรรมการดำเนินการตามมาตรา
๒๘
(๒)
สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาองค์กร
(๓)
สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสภาองค์กร
และจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการด้วยก็ได้
(๔)
สั่งเป็นหนังสือให้สภาองค์กรหรือกรรมการระงับหรือแก้ไขการกระทำใด ๆ
ที่ปรากฏว่าขัดต่อกฎหมายหรือข้อบังคับ
เมื่อได้สั่งการตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้รัฐมนตรีแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบพร้อมด้วยเหตุผลในการดำเนินการดังกล่าวภายในสามสิบวัน
มาตรา
๓๑ ในการปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา
๓๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานในสำนักงานของสภาองค์กรได้ในระหว่างเวลาทำการ
หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอ
ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา
๓๓ เมื่อปรากฏว่าสภาองค์กรไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา
๓๐ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของสภาองค์กร หรือกระทำการใด ๆ
อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กรรมการคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีเช่นนี้ กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไม่มีสิทธิเป็นกรรมการอีก
มาตรา
๓๔ ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรรมการทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๓๓ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกสามัญของสภาองค์กรจำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน
แต่ไม่เกินสิบห้าคน
เป็นคณะกรรมการชั่วคราวในวันเดียวกันกับวันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรรมการทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง
และให้นำความในมาตรา ๑๕ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง
มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการเพียงเท่าที่จำเป็น
และดำเนินการเรียกประชุมสมาชิกสามัญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชั่วคราว
เพื่อให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ตามมาตรา ๑๕
เมื่อคณะกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว
ให้คณะกรรมการชั่วคราวซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง
บทกำหนดโทษ
มาตรา
๓๖ กรรมการผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๗ หรือกระทำการอันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของสภาองค์กร
และการกระทำนั้นเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ
หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละห้าพันบาทจนกว่าจะเลิกใช้
มาตรา
๓๘ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ชี้แจงหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา
๓๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๙ ในวาระเริ่มแรก
ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดให้องค์กรซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓
สมัครเป็นสมาชิกสามัญของสภาองค์กรภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาองค์กรชุดที่หนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ในการนี้ ให้สมาชิกสามัญแต่ละรายเสนอชื่อผู้แทนได้ไม่เกินรายละสามคน
การเลือกตั้งตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
………………………………………….
นายกรัฐมนตรี