วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

‘Responsibility to Protect’ (R2P) : Syria case by Panwa Nilprapunt

‘Responsibility to Protect’ (R2P) : Syria case

Panwa Nilprapunt

 

Introduction

 

For the past eleven years, the Syrian civil war and its consequences have been among the worst crises of the twenty-first century. Beginning in March 2011 as a part of the Arab Spring, the war has since turned into a series of sporadic conflicts between the armies under President Bashir Al-Assad, their oppositions, Islamist groups, and various foreign forces in battlefields across Syria and neighbouring countries. Given its scale and duration, the impacts of war have been staggering: with the United Nations High Commissioner for Refugees identifying 5.6 million Syrian refugees while also estimating that 83 civilians have been killed daily since 2011 ([UNCHR] 2022, n.d.); additionally, over 14.6 million Syrians are also in need of assistance, according to the Office for the Coordination of Humanitarian Affairs ([UNOCHA] n.d.). And yet, the lack of international intervention to end the conflict also puts to question the integrity of the principle of Responsibility to Protect (R2P), with many observers seeing the war as marking the ‘death’ of the R2P (Al-Oraibi 2021; Nasser-Eddine 2012). With events such as the Ukraine war representing the emergence of conflicts worldwide, the failure of the R2P to address the humanitarian disaster in Syria is becoming more relevant than ever.

Accordingly, this essay will examine the factors that inhibit the effectiveness of the R2P in resolving the Syrian conflict and its viability in the changing global order. To this end, it will begin by first establishing what R2P and its core components are, with references to the mainstream International Relations (IR) theories such as Liberalism, Realism and Constructivism, prior to comparing it to the empirical context. Through this process, it argues that in addition to issues specific to Syria, the doctrine’s effectiveness is also hindered by the distrust stemming from its historic ambiguities concerning the use of forces and regime change. These findings thus lead the essay to conclude that R2P itself faces many caveats and that, unless rigorous efforts are made to address the existing limitations, its prospect as a global norm remains grim.

 

What is R2P? An appraisal

 

The history and components of the R2P

 

While the peacekeeping operation may have long been an apparatus of the United Nations, the R2P is a relatively new concept. Driven by atrocities committed in places like the Balkans and Rwanda, a trend began to emerge in the 1990s on the need to focus on human security. This culminated in the 2001 report by the International Commission on Intervention and State Sovereignty (‘the Commission’) which, in the words of Constructivist IR theorists, marked the moment R2P ‘entered the ‘norm-life cycle’’ (Ralph 2018, p. 17).  In it, the Commission assigned states the ‘responsibility to protect’ their citizens from atrocities while also stating that the international community has the obligation to intervene if they fail to do so (Chandler 2004; ICISS 2001). The endorsement of the Commission’s suggestions during the 2005 World Summit Outcome (WSO) thus resulted in the formal recognition of the R2P, whilst subsequent UN resolutions and publications also cemented its position as a tool to address humanitarian issues (Bellamy & Williams 2011).

 

Consequently, the observation of the history of the R2P helps us discern its core elements and how it is supposed to function. In particular, the Commission and the WSO identified four types of atrocities that would necessitate its mobilisation, namely genocide, war crime, ethnic cleansing and crimes against humanity (ICISS 2001; United Nations General Assembly [UNGA] 2005, p. 30). Previous UN Secretary-General Ban Ki-Moon also outlined in his report three pillars of the doctrine: including the duty of states to safeguard their people from atrocities; the need for the international community to assist in state-building; and the rights to intervene, which are similar to the Commission’s proposals (UNGA 2009, p. 2). Nevertheless, Basaran (2014, p. 195) also finds that measures of the R2P are varied, ranging from issuing warnings to the application of military force, with the UN Security Council deciding when and how to use it. Given its objective, this essay will put an emphasis on the third pillar, the responsibility to intervene, in explaining how the failure to impose it led to the R2P’s downfall in Syria.

 

R2P in the literature: The debates

 

Despite its recency, R2P has been extensively studied; yet the survey of the literature also reveals that its efficacy remains a divisive topic. On the one hand, advocates of the R2P generally view its integration into the UN’s framework with optimism. These include Evans (2012), who sees the intervention in Libya as representing its emergence as a global norm; Bellamy (2015), who hopes that its deployments can build consensus on its application; and Thakur (2015, p. 13), who describes the R2P as promoting ‘international solidarity’.  Conversely, Heinze and Steele (2013) view the doctrine’s success in formulating a universal approach to atrocity crimes as nonetheless limited; whilst Hehir (2013) cites the cases of selective interventionism since the 1990s as the evidence of R2P’s incoherency and detachment from the realities of humanitarian intervention. Meanwhile, some studies have taken to identifying structural problems that they see as limiting the R2P’s effectiveness, though they also object to the idea that the concept is doomed to fail (Paris 2014).

 

Given the myriad of opinions, the use of IR theories is likely to help better our understanding of the views concerning the R2P. In the first place, the R2P’s foundation highlights its roots in Liberalism, with the Commission stating that their idea is, in the words of Chandler (2004, p. 62): ‘not based on power of Realpolitik, but morality’. This notion is further reinforced by supporters of the R2P, whose arguments about the role of states as moral agents also reflect the Liberalist belief in the international order and its rights to intervene in addressing global challenges such as human security (Chandler 2004; Doyle 2011). By comparison, several R2P critics and their focus on the conflict between sovereignty and interventionism represent a realist view of international relations which, according to Basaran (2014), see national interests as more important to states than humanitarian concerns.  Alternatively, some academics’ view of R2P also reflects the Constructivist IR approach, which perceives its development as demonstrating how the acceptance or rejection of norms can influence their implementation in international politics (Ralph 2018). The following section of this essay will therefore assess the extent these IR perspectives correspond to the reality in Syria.

 

R2P in Syria: An empirical assessment

 

In order to understand why R2P has failed in Syria, it is necessary to examine the occasion where it was effectively endorsed; the 2011 intervention in Libya, for instance, represents the most well-known application of the doctrine. Analysing the events preluding the decision to intervene via Resolution 1973, Bellamy and Williams (2011) found that there was already a clear threat of atrocities, with Gaddafi describing his plan to exterminate the people in the rebel-held cities ‘like cockroaches’ (Barker 2011). Many researchers also reveal how Libya’s geopolitical context was also suitable, as its isolation from other Arabs states and the international community helped eliminate any ties that could have prevented collective actions (Zifcak 2012). Additionally, they also found that the adoption of Resolution 1973 was possible only due to the consensus between the regional actors and the Council members that intervention was necessary, with Russia and China opting to abstain (Paris 2014; Zifcak 2012). Thus the experiences from the Libyan intervention show that certain conditions must be satisfied to justify the use of R2P.

 

Consequently, the observation of what helped R2P to succeed in Libya also explains why it has failed in Syria, as many of the prerequisites are either absent or rendered inoperable due to various geopolitical reasons. Chief among them is the split within the UNSC, with Russia and China have been vetoing every proposal to employ military intervention since the beginning of the conflict in 2011, much to the dismay of Western observers (Akbarzadeh & Saba 2019). This divide becomes especially relevant when considering the Council members’ interests within the region: including Russia whose possession of a naval base in Syria and status as the country’s major weapon supplier influence its decision to recognise the Assad regime while also rejecting any call for its dissolution (Averre & Davies 2015; Bellamy 2022; Treisman 2012). Syria's capable militaries and deep ties to the politics of the Middle East, moreover, also prevent regional actors: including organisations such as the Arab League and its neighbours like Turkey and Iran, from leading an effort to stop the conflict and subsequently inhibit actions from the wider global community (Evans 2012; Lynch 2012). Hence the presence of these underlying elements adds credence to the realist criticisms that national interests can prevent the R2P from achieving its intended purposes.

 

Apart from geopolitics, the conflicting views on the ambiguity of the R2P and its limits also appear to be driving the reluctance to employ it in Syria. Specifically, many observers – including even advocates of the R2P – have noted how previous applications of the doctrine have resulted in regime change and excessive collateral damages, with civilian casualties from NATO’s bombing in Libya and domestic instability following the fall of the Gaddafi regime serving as a particular example (Evans 2012; Paris 2014; Zifcak 2012). These issues have led states in the Global South to question its motives: including the former president of South Africa who reversed his country’s support of Resolution 1973 (Mbeki 2011); similarly, China and Russia have also stated their objections against the use of R2P to challenge territorial sovereignty and trigger regime changes in fear of repeating the events in Libya (Akbarzadeh & Saba 2019; Averre & Davies 2015; Gegout & Suzuki 2020). On the other hand, supporters of the R2P in the Global North are also responsible for confirming this suspicion by declaring government transition as a part of the R2P, including the demand by the United States for Assad’s resignation (Ukman & Sly 2011). Hence this inconsistency in how R2P should be applied and its consequences, argued Paris (2014), makes the concept appear hypocritical and unsuitable for real-world practices.

 

In general, the analysis of the causes behind R2P’s failure in Syria shows that, despite its optimism, the doctrine itself remains a practically flawed concept. The fact that geopolitics has acted to alter and constrain the course of the R2P, for instance, undermines the hope that its application would be enforced by international institutions and civil society, whose powers have failed to prevent states from prioritising their national interests over the prevention of atrocities. In the meantime, the way R2P’s implementation is obstructed by its divisive definitions also limits its progress in being accepted in spite of its early success. Adding to these issues are the limited circumstances that can justify the R2P’s mobilisation, with the lack of threat of atrocities by the regime having prevented the concept from being invoked during the early stage of the conflict (Zifcak 2012). Put simply, the Syrian war provides ample testimonies of R2P’s weaknesses as a global norm, with the international community’s inability to organise effective responses even after the use of chemical weapons by the Assad government only serves to confirm its ineffectiveness (Akbarzadeh & Saba 2019; Nahlawi

2016).

 

Conclusion

 

In order to evaluate the success of R2P as a global norm, this essay has been employing relevant theories and case studies from Syria to determine the doctrine’s capacity to stop and prevent atrocities. However, what emerges from its analysis appears to go against the expectations of both the designers and well-wishers of the R2P. Instead, evidence suggests that the concept – at least in its current iteration – suffers from inflexibility, ambiguity in meanings, and other shortcomings that prevent it from realising its potential while also damaging its reputation in the eyes of the global community. Ultimately, unless multilateral efforts are made to lay out a widely accepted definition and to strengthen its credibility, the ability of R2P to address humanitarian issues and conflicts is likely to remain limited for the foreseeable future.

 

References

Al-Oraibi, M 2021, ‘‘Responsibility to Protect’ Is One More Casualty of the Syrian War’, Foreign Policy, 14 June, viewed 2 November 2022, https://foreignpolicy.com/2021/06/14/syria-war-un-security-council-responsibility-to-protect-r2p-humanitarian-intervention-assad-russia-human-rights-civilians/

Akbarzadeh, S & Saba, A 2019, ‘UN paralysis over Syria: the responsibility to protect or regime change?’, International Politics (Hague, Netherlands), vol. 56, no. 4, pp. 536–550.

Averre, D & Davies L 2015, ‘Russia, humanitarian intervention and the Responsibility to Protect: the case of Syria’, International Affairs, vol. 91, no. 4, pp. 813–834.

Barker, A 2011, ‘Raging Gaddafi orders forces to ‘capture the rats’’, ABC News, 23 February, viewed 4 November 2022,  https://www.abc.net.au/news/2011-02-23/raging-gaddafi-orders-forces-to-capture-the-rats/1953788

Basaran, HR, 2014, ‘Identifying the Responsibility to Protect’, The Fletcher Forum of World Affairs, vol. 38, no. 1, pp. 195–212.

Bellamy, AJ & Williams, PD 2011, ‘The new politics of protection? Côte d’Ivoire, Libya and the responsibility to protect’, International Affairs (London), vol. 87, no. 4, pp. 825–850.

Bellamy, AJ 2015, ‘The Responsibility to Protect Turns Ten’, Ethics & International Affairs, vol. 29, no. 2, pp. 161–185.

Bellamy, AJ 2022, Syria Betrayed: Atrocities, War, and the Failure of International Diplomacy, Columbia University Press, New York, NY.

Chandler, D 2004, ‘The responsibility to protect? Imposing the “Liberal Peace”’, International Peacekeeping (London, England), vol. 11, no. 1, pp. 59–81.

Doyle, MW 2011,, ‘International Ethics and the Responsibility to Protect’, International Studies Review, vol. 13, no. 1, pp. 72–84.

Evans G 2012, ‘Responsibility while Protecting’, Project Syndicate, 27 January, viewed 6

November 2022, https://www.project-syndicate.org/commentary/responsibility-while-protecting-2012-01

Gegout, C & Suzuki, S 2020, ‘China, Responsibility to Protect, and the Case of Syria: From Sovereignty Protection to Pragmatism’, Global Governance, vol. 26, no. 3, pp. 379–402.

Hehir, A 2013, ‘The Responsibility to Protect as the Apotheosis of Liberal Teleology’, in A Hehir & R Murray (eds), Libya, the Responsibility to Protect and the Future of Humanitarian Intervention, Palgrave Macmillian, London.

Heinze, EA & Steele, BJ 2013, ‘The (D)evolution of a Norm: R2P, the Bosnia Generation and Humanitarian Intervention in Libya’, in A Hehir & R Murray (eds), Libya, the Responsibility to Protect and the Future of Humanitarian Intervention, Palgrave Macmillian, London.

International Commission on Intervention and State Sovereignty 2001, The Responsibility to Protect, ICISS, https://www.globalr2p.org/resources/the-responsibility-to-protect-report-of-the-international-commission-on-intervention-and-state-sovereignty-2001/

Lynch, M 2012, ‘No Military Option in Syria’, Foreign Policy, 17 January, viewed 5 November 2022, https://foreignpolicy.com/2012/01/17/no-military-option-in-syria/

Mbeki, T 2011, ‘International Law and the Future of Africa’, Address at the AGM of the Law Society of the Northern Provinces, Sun city, South Africa, 5 November, viewed 6 November 2022, https://www.unisa.ac.za/static/corporate_web/Content/tmali/speeches/2011/law-society_mbeki_8Nov2011.pdf

Nahlawi, Y 2016, ‘The Responsibility to Protect and Obama’s Red Line on Syria’, Global Responsibility to Protect, vol. 8, no. 1, pp. 76–101.

Nasser-Eddine, M 2012, ‘How RTP failed Syria’, Flinders Jourunal of History and Politics, vol. 28, pp. 16–30, https://core.ac.uk/download/pdf/81291402.pdf

Paris, R 2014, ‘The “Responsibility to Protect” and the Structural Problems of Preventive Humanitarian Intervention’, International Peacekeeping (London, England), vol. 21, no. 5, pp. 569–603.

Ralph, J 2018, ‘What Should Be Done? Pragmatic Constructivist Ethics and the Responsibility to Protect’, International Organization, vol. 72, no. 1, pp. 173–203.

Thakur, R 2015, ‘R2P’s “Structural” Problems: A Response to Roland Paris’, International Peacekeeping (London, England), vol. 22, no. 1, pp. 11–25.

Treisman, D 2012, ‘Why Russia protects Syria’s Assad’, CNN, 3 February, viewed 6 November 2022, http://edition.cnn.com/2012/02/02/opinion/treisman-russia-syria

Ukman, J & Sly, L 2011, ‘Obama: Syrian President Assad must step down’, Washington Post, 18 August, viewed 5 November 2022, https://www.washingtonpost.com/blogs/checkpointwashington/post/obama-syrian-president-assad-must-step-down/2011/08/18/gIQAM75UNJ_blog.html

United Nations High Commissioner for Refugees 2022, Presentation of the report on civilian deaths in the Syrian Arab Republic, UNHCR, viewed 2 November 2022, https://www.ohchr.org/en/statements/2022/06/presentation-report-civilian-deaths-syrian-arab-republic

United Nations High Commissioner for Refugees n.d., Syria Regional Refugee Response, online database, viewed 2 November 2022, https://data.unhcr.org/en/situations/syria#_ga=2.237255879.675785648.1661436428-1333671916.1621433288

United Nations General Assembly 2005, World Summit Outcome, UNGA, https://www.un.org/en/development/desa/population/migration/generalassembly/docs/globalcompact/A_RES_60_1.pdf

United Nations General Assembly 2009, Report of the Secretary-General: Implementing the Responsibility to Protect, https://www.un.org/ruleoflaw/blog/document/report-of-the-secretary-general-implementing-the-responsibility-to-protect/

United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs n.d., Syrian Arab Republic, UNOCHA, viewed 2 November 2022, https://www.unocha.org/syria

Zifcak, S 2012, ‘The responsibility to protect after Libya and Syria’, Melbourne Journal of International Law, vol. 13, no. 1, pp. 59–93, https://law.unimelb.edu.au/__data/assets/pdf_file/0004/1687243/Zifcak.pdf

 

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565

Cost of Climate Change โดยนางสาวเกล็ดฟ้า เหาะสูงเนิน*

          นับตั้งแต่ช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 1800 โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียส ซึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 2011-2020) เป็นช่วงที่โลกร้อนขึ้นมากที่สุด [1] ผู้คนจำนวนมากมักมองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลเพียงทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริง อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ปัจจุบันเราได้เห็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม คลื่นความร้อน คลื่นพายุซัดฝั่ง การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ล้วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคมในทุกมิติ

          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ การผลิตน้ำและอาหาร ผลิตภาพของแรงงาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน (climate refugees) ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อแต่ละประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะแม้ว่าประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศส่วนมากจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (คิดเป็นร้อยละ 70) [2] แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุดกลับเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีความพร้อมในระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ทำให้คนรายได้น้อยปรับตัวได้ยากกว่า

          หากย้อนกลับไปช่วงน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปี 2011 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของทั้งประเทศสูงถึง 4.6 หมื่นล้าน USD [3] และเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลกลางสหรัฐฯได้เปิดเผยว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณประมาณปีละ 2.2 ล้านล้าน USD ต่อปี ไปกับการรับมือกับภาวะโลกร้อน [4] ขณะที่ USAID ประเมินว่าประเทศไทยมีต้นทุนจากสภาพภูมิอากาศจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้าน USD ต่อปีจนกว่าจะถึงปี 2030 [5] ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและเป็นต้นทุนทางสังคมที่ผู้เสียภาษี (taxpayers) และผู้บริโภค (consumers) ต้องแบกรับจากงบประมาณที่ภาครัฐหรือภาคธุรกิจใช้ไปในการประกันความเสี่ยง เช่น การประกันความเสียหายจากน้ำท่วม การประกันพืชผลทางการเกษตร การประกันสุขภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับภัยพิบัติ รวมถึงการใช้งบประมาณเพื่อวิธีการต่างๆในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          การมองปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันจึงไม่ควรมองจากเฉพาะมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ควรมองด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Impact and Risk Analysis) ได้กลายมาเป็นกระบวนการสำคัญในหลายประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ในอนาคต เช่นในกรณีเกิดภัยพิบัติร้ายแรง รัฐบาลต้องจัดทำสิ่งสาธารณูโภคพื้นฐานและดูแลกลุ่มเปราะบาง ผู้ประกอบธุรกิจต้องหาวิธีการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานให้สะดุดลงน้อยที่สุด ผู้บริโภคอาจต้องใช้ความรอบคอบมากขึ้นในการตัดสินใจบริเวณที่จะอยู่อาศัยและทำประกันภัยพิบัติแก่อสังหาริมทรัพย์ [6]

           University of California at Berkeley ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ต้นทุนจากภาวะโลกร้อนที่สูงที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกาคือต้นทุนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อุณภูมิร้อนจัด สอดคล้องกับในประเทศสเปนและประเทศโปรตุเกส ที่มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนถึง 2,000 คนภายในเดือนเดียว (สิงหาคม 2022) ความเสี่ยงสำคัญอีกประการคือผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่เป็นไปตามฤดูกาล (crop failure) เพราะอาจนำไปสู่วิกฤตด้านความมั่นคงทางอาหาร (food security) ในอนาคต สำหรับในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา United Nations Environment Program (UNEP) คาดการณ์ว่าร้อยละ 54 ของงบประมาณรัฐบาลจะเป็นต้นทุนด้านการปรับตัว (adaptation costs) โดยเฉพาะการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อรับมือกับอุทกภัยและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างกำแพงกันคลื่น (seawall) การพัฒนาระบบขนส่งทางรางเพื่อช่วยลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวก็นับเป็นต้นทุนที่นำมาคำนวณด้วย [7]

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เรียกว่า “social cost of carbon” จุดประสงค์ของตัวเลขนี้มีขึ้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการตัดสินใจ กฎระเบียบ นโยบาย รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลใช้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักวิจัยที่เสนอแนวคิดนี้คำนวณว่าประชาชนจะต้องจ่ายเงิน 185 USD ต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน ในขณะที่รัฐบาลโอบามาประเมินตัวเลขได้ 51 USD และรัฐบาลทรัมป์ประเมินว่าการปล่อยคาร์บอน 1 ตันสู่ชั้นบรรยากาศมีต้นทุนเพียง 7 USD เท่านั้น [8] อย่างไรก็ตามการประเมินค่าตัวเลขนี้ให้ไม่ต่ำจนเกินไปก็น่าจะเป็นการทำให้รัฐบาลตื่นตัวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low-emissions economy) เพื่อลดต้นทุนจากภาวะโลกร้อนในระยะยาว ด้วยการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานสะอาด เช่น พลังงานหมุนเวียนและพลังงานไฮโดรเจน [9] การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติและอุณหภูมิที่สูงขึ้น การออกมาตรการจูงใจให้เอกชนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะมาตรการด้านราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) อย่างระบบภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme : ETS

หากพูดถึงเรื่องการเก็บ Carbon Tax มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ภายใต้นโยบาย Green Deal เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในสหภาพยุโรป อาจทำให้มีผู้โต้แย้งว่าถึงอย่างไรบริษัทต่างๆก็สามารถผลักภาระในการจ่ายภาษีคาร์บอนไปให้ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีผู้ให้บริการน้อยรายอย่างไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง เรื่องนี้เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว หากรัฐบาลสามารถจัดโครงสร้างภาษีคาร์บอนให้เกิดความเป็นธรรมได้ เช่นในรัฐ British Columbia ของประเทศแคนาดา ผู้บริโภคที่จ่ายเงินซื้อสินค้าจะได้รับส่วนแบ่ง (dividend) เพื่อเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าหรือค่าน้ำมันที่สูงขึ้นจากภาษีคาร์บอน ถือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง เพราะอาจเลือกที่จะเก็บเงินส่วนนี้แทนการจ่ายภาษีคาร์บอน [10]

ปัจจุบันประเทศต่างๆเริ่มหันมาใช้วิธีการลดความเสี่ยงแบบเชิงรุก (proactive risks mitigation) ควบคู่ไปกับนโยบายที่ช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะการฟื้นฟูภายหลังจากที่เกิดภัยพิบัติขึ้นแล้วและการเพิกเฉยไม่ทำอะไรมีต้นทุนที่สูงกว่ามาก เช่นในประเทศเยอรมนี รัฐบาลต้องการช่วยลดค่าครองชีพและหาแนวทางสำหรับการบรรลุเป้าหมาย Net-Zero Nation จึงทดลองจำหน่ายตั๋วขนส่งสาธารณะเพียง 9 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 330 บาท) ให้กับประชาชน 52 ล้านคนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมที่ผ่านมา ผลที่ได้คือสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยานพาหนะได้ถึง 1.8 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของมลพิษทางอากาศในประเทศ [11] อีกกรณีที่น่าสนใจคือประเทศสิงคโปร์ เพื่อลดผลกระทบจากคลื่นความร้อน (urban heat effect) ที่ทำให้ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนเครื่องปรับอากาศต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดในอาเซียน รัฐบาลจึงได้เริ่มโครงการ Cooling Singapore ในปี 2017 เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด (multi-disciplinary research) ในการลดความร้อนของเกาะ เช่นการปลูกต้นไม้บนดาดฟ้าอาคาร การออกแบบอาคารให้ช่องลมผ่านได้ การวางระบบหล่อเย็นขนาดใหญ่ในย่านธุรกิจ และรัฐบาลยังมีแผนที่จะปลูกต้นไม้ให้ได้ 1 ล้านต้นภายในปี 2030 [12]

          หันกลับมามองที่ประเทศไทย ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงสิบปีกว่าปีที่ผ่านมาทำให้สังคมถูกเบี่ยงเบนความสนใจและให้ความสำคัญกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งที่ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก [13] แม้ว่ารายได้ของประเทศจะมาจากภาคอุตสาหกรรม แต่ประชากรกว่าร้อยละ 40 ยังคงทำงานอยู่ในภาคการเกษตรและประมงที่ต้องพึ่งพาสภาพอากาศเป็นหลัก ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง จึงไม่จำกัดเพียงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นต้นทุนทางสังคมด้วย โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานจากสังคมชนบทมาสู่สังคมเมือง รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศไทย การทะลักเข้ามาของคนจำนวนมาก นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงอาชญากรรม การค้ายาเสพติด และโรคติดต่อร้ายแรง ยังส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานภายใน ระบบสาธารณสุขและการศึกษาของประเทศ [14]

          ในระดับระหว่างรัฐ ประเทศไทยมีต้นทุนด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิรัฐศาสร์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องให้ความสำคัญจากเหตุสองประการ คือ การเพิ่มจำนวนของแรงงานผิดกฎหมายซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นที่จับตามองจากสังคมระหว่างประเทศในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการจัดการทรัพยากรในแม่น้ำโขงร่วมกันระหว่างประเทศในแม่น้ำโขงตอนล่าง (ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม) และประเทศจีนในกรอบคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) [15] ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคในฐานะหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง (Mekong-U.S. Partnership) ซึ่งในแง่หนึ่งอาจทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเท่าเทียมและมีองค์ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น แต่อีกแง่หนึ่งก็อาจทำให้ปัญหาที่มีอยู่เดิมนั้นซับซ้อนมากขึ้นอีก

          จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครอบคลุมทุกมิติ และเป็นต้นทุนที่สูงมากที่ทุกคนจะต้องร่วมกันจ่าย การเห็นประเทศต่างๆร่วมกันแสดงจุดยืนในเวทีอย่าง COP26 หรือร่วมกันบรรลุข้อตกลง Paris Agreement เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการตระหนักถึงความสำคัญและกำหนดเป้าหมายเพื่อลดภาวะโลกร้อน แต่การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะต้องอาศัยเจตจำนงทางการเมือง (political will) ของแต่ละรัฐบาลในการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสร้างคุณค่าใหม่ร่วมกัน ให้คนสังคม เพื่อให้การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ไปพร้อมกัน

---------------------------------------------

* นักพัฒนาระบบราชการปฏิบัติการ (โครงการ นปร.) สำนักงาน ก.พ.ร. ฝึกปฏิบีติงาน ณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

References

[1] UN Thailand, ‘Climate Change’ <https://thailand.un.org/en/173511-climate-change> accessed 2 September 2022

[2] EPA, ‘Global Greenhouse Gas Emission Data’ (EPA, 2014)                                                                   <https://www.epa.gov/ghgemissions/global-greenhouse-gas-emissions-data> accessed 4 September 2022

[3] OpenDevelopment Thailand, ‘Climate Change’ (ODM, 12 February 2018)                                      <https://thailand.opendevelopmentmekong.net/topics/climate-change/#ref-340-9> accessed 2 September 2022

[4] Emma Newburger, ‘Climate change could cost U.S. $2 trillion each year by the end of the century, White House says’ (CNBC, 4 April 2022) <https://www.cnbc.com/2022/04/04/climate-change-could-cost-us-2-trillion-each-year-by-2100-omb.html> accessed 2 September 2022

[5] John Talberth, Climate Change in the Lower Mekong Basin: An Analysis of Economic Values at Risk (USAID Mekong ARCC, 2014)

[6] Sanjay Patnaik, ‘What is climate risk and why does it matter?’ (Brookings, 1 September 2022) <https://www.brookings.edu/blog/up-front/2022/09/01/what-is-climate-risk-and-why-does-it-matter/> accessed 2 September 2022

[7] UNOPS, Infrastructure for climate action (UNOPS 2021)

[8] Dino Grandoni and Brady Dennis, ‘Cost of climate change far surpass government estimates, study says’ (The Washington Post, 1 September 2022)                                                                         <https://www.washingtonpost.com/climate-environment/2022/09/01/costs-climate-change-far-surpass-government-estimates-study-says/> accessed 3 September 2022

[9] Deloitte, ‘Deloitte Report: Inaction on Climate Change Could Cost the US Economy $14.5 Trillion by 2070’ (Deloitte, 25 January 2022) <https://www2.deloitte.com/us/en/pages/about-deloitte/articles/press-releases/deloitte-report-inaction-on-climate-change-could-cost-the-us-economy-trillions-by-2070.html> accessed 4 September 2022

[10] Andrew Moseman and Christopher Knittel, ‘Will companies pass on the cost of a carbon tax to consumers’ (Climate Portal, 11 January 2022) <https://climate.mit.edu/ask-mit/will-companies-pass-cost-carbon-tax-consumers> accessed 4 September 2022

[11] Tom Crowfoot, ‘How are the world’s biggest emitters cutting down? 5 climate change stories to read this week’ (World Economic Forum, 2 September 2022)                                                     <https://www.weforum.org/agenda/2022/09/climate-change-latest-stories-02-september?> accessed 4 September 2022

[12] Faris Mokhtar, ‘This Is How Singapore Keeps Its Cool as the City Heats Up’ (Bloomberg, 2 December 2020) <https://www.bloomberg.com/news/features/2020-12-01/singapore-climate-change-reducing-heat-takes-trees-and-technology> accessed 4 September 2022

[13] ADB, The Economics of Climate Change in Southeast Asia: A Regional Review (ADB 2009)

[14] Danny Mark, ‘Climate Change in Thailand: Impact and Response’ (2011) CSEA <DOI: 10.1353/csa.2011.0132> accessed 5 September 2022

[15] Ibid

         

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Personalization ปกรณ์ นิลประพันธ์

Customization อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ก้าวกระโดดไปมาก จากการตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนขนาดใหญ่ เป็นการตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการแตกต่างหลากหลาย เรื่อยมาจนถึงการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล ทั้งความต้องการในด้านดีและด้านมืด ทำให้สังคมมีลักษณะ Personalisation ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม และอาจถึงขนาดไม่เข้าใจว่าประโยชน์ส่วนรวมคืออะไร


ลักษณะเช่นนี้ ในทัศนะผม ทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องทำเป็นพื้นฐานเพื่อส่วนรวมจะทำได้ยากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปกครองโดยใช้ระบบการปกครองแบบใด เพราะการแก้ปัญหาส่วนรวมจะกระทบต่อประโยชน์ส่วนตัวของปัจเจกเสมอในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจะมีการต่อต้านมากกว่าสนับสนุนเพราะ personalisation จะทำให้ ”รู้สึก” ว่าการกระทำต่าง ๆ กระทบต่อ comfort zone และ benefit ที่ตนมีอยู่ ลักษณะการแก้ปัญหาในช่วงที่เทคโนโลยีเริ่มก้าวหน้ามาก ๆ จึงเน้นที่ “การให้เพิ่ม” แทนที่จะเป็นการ “เผชิญหน้า”กับสาเหตุของปัญหา และจัดการกับต้นตอของปัญหา 


กรณีปัญหาปากท้อง “การให้เพิ่ม” เพื่อเติมสิ่งที่ผู้คนเรียกร้องจึงเป็น “ทางออกที่ง่ายที่สุด” ที่ทำกันในนานาประเทศ และเมื่อมีการเรียกร้องเพิ่ม ก็ให้เพิ่มเข้าไปอีก คนก็จะเสพติดการเรียกร้อง ขณะที่ละเลยการเพิ่มศักยภาพในการทำมาหาได้ของตนเองซึ่งตนต้องลงทุนลงแรงพัฒนา โปรแกรมการเพิ่มทักษะ/ความสามารถในการทำงานที่เรียกหรู ๆ ว่า up-skill หรือ re-skill จึงไม่ประสบความสำเร็จ อาจมองได้ง่าย ๆ ว่าต้นทุนในการพัฒนาตนเองสูงกว่าต้นทุนหรือแรงที่ต้องใช้ในการเรียกร้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องออกไปตากแดดตากฝนให้เหนื่อยยาก เรียกร้องโวยวายให้เป็นประเด็นใน social network ก็พอแล้ว


กรณีสังคม เมื่อ personalisation ให้ความสำคัญกับตนเอง ความสนใจ “คนอื่น” จึงน้อยลง คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ “อารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว” เป็นลำดับแรก เพราะ “ไม่เห็นต้องแคร์ใคร” อยากทำอะไรก็ทำตามใจ นับวันยิ่งตามใจตนเองมาก นั่นยิ่งทำให้เรื่อง “ส่วนรวม” กลายเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ แต่หากจะทำอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง จะมีการยกประโยชน์ส่วนรวมมาเป็น “ข้ออ้าง” เพื่อสนับสนุนข้ออ้างประกอบการเรียกร้องเพราะมัน “ดูดี ดูมีเหตุผล”


กรณีสิ่งแวดล้อม การพูดถึง climate change ดูเหมือนจะเป็น “คำนิยม” ที่พูดแล้วทำให้ตัวเองดูดี เป็นการตอบสนอง personalisation ของตนในทางหนึ่ง สร้างความนิยมให้แก่ตนในอีกทางหนึ่งด้วย แต่การ “ลงมือทำ” เป็น “อีกเรื่อง” เพราะไม่มีใครรู้หรอกว่าฉันทำอะไร การรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมจึงมักเป็นการสร้างภาพลักษณ์ 


ถ้าเอาจริง ๆ งานอีเว้นท์เพื่อรณรงค์ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ควรต้องมีตัววัดว่าสอดคล้องกับหลัก zero waste ไหม มีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไหม งานนี้มี carbon emission เท่าไร แล้วมีคนทำตามกี่มากน้อย ไม่ใช่ออกข่าวแล้วจบ


เมื่อ personalisation เป็นกระแสหลัก การทำงานหรือการทำนโยบายที่เป็นโครงสร้างเพื่อวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นงานที่ไม่มีใครอยากทำ เพราะเห็นผลช้า ไม่สามารถตอบสนองความต้องการระดับปัจเจกที่มากมายขึ้น แตกต่างหลากหลายมากขึ้นได้ เป็นการทำงานที่ “สวนกระแส” ไปเสียอย่างนั้น ชุดนโยบายเพื่อการสร้างความนิยมจึงเน้นการลด แลก แจกกระหน่ำ โดยไม่สนใจว่าทรัพยากรที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ มีเหตุผลรองรับพอเพียงหรือไม่ เอาเพียงสืบเสาะข้อมูลใน social media ว่าอะไรคือ common desire ของคนกลุ่มใหญ่ แล้วอะไรจะทำให้คนกลุ่มนั้น “ถูกใจ” ได้ ไม่ว่าจะ “ถูกต้อง” หรือไม่ “ยั่งยืน” หรือไม่ 


แต่ในความเห็นผม การอ้างถึงความต้องการของ “ชาวเน็ต” ที่มีการไลค์ การแชร์ คอมเม้น จำนวนมาก ว่าเป็นความต้องการของ “สังคม” นั้นเป็นการ “ชี้นำสังคม” ที่ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะไม่สามารถระบุตัว “ชาวเน็ต” เหล่านั้นได้ (เพราะจำนวนมากก็เป็น bot) และชาวเน็ตก็เน้นอารมณ์ส่วนบุคคลมากกว่าเหตุผลในการวิจารณ์ทำนองตาบอดคลำช้าง จึงเหมือนเป็นการนำ “อารมณ์” ของ “ใครก็ไม่รู้” มาชี้นำสังคม ขณะที่การให้แสดงความคิดเห็นโดยระบุตัวตน แทบไม่มีการแสดงความคิดเห็น ซึ่งโดยมากก็จะอ้างว่าเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย ก็ถ้าแสดงความเห็นอย่างมีเหตุผล ใครเขาจะไปทำอะไรได้ในยุคที่สังคมเปิดกว้างแบบนี้ 


เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์สังคมที่ต่อไปคนมีสติคงจะมีการตั้งคำถามว่า “ความจริงคืออะไรแน่” และสำหรับการที่จะทำให้คนยุคนี้เข้าใจคำว่า “ประโยชน์ส่วนรวม” คงต้องหาเทคนิคใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบ personalisation กันต่อไปเพื่อให้ผู้คนตระหนักว่า “ถ้าสังคมไม่สงบสุข ปัจเจกบุคคลจะมีความสงบสุขได้อย่างไร” อาจนำความขัดแย้งในหลายประเทศที่นำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยจนถึงขั้นกลายเป็นสงคราม มาเป็นกรณีศึกษาอย่างมีสติ


ถึงเวลาตื่นแล้ว.

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เล่าให้ฟัง : หนังสือสำคัญ ปกรณ์ นิลประพันธ์

วันนี้มีประชุมประกาศเรื่องนึง เกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองคุณลักษณะของสินค้าที่รัฐมนตรีเป็นผู้ออก

ประเด็นคือเขาใช้คำว่า “หนังสือสำคัญที่รัฐมนตรีออกให้ …” เลยถามคนร่างว่าใส่คำว่า “สำคัญ” ขยายมาทำไม เจ้าของร่างทำหน้าตาเลิ่กลั่ก ถามต่อไปอีกว่าคุณไม่รู้ได้ไงล่ะ เขียนมาเองกับมือ เขาเลยอ้อมแอ้มตอบมาว่าไม่รู้เหมือนกัน ตัดออกก็ได้ … เป็นงั้นไป

ถามฝ่ายเลขาฯ ก็ปรากฎว่าไม่มีใครรู้ บอกว่าเคยได้ยินว่าใช้กับเอกสารที่เรียกว่า “หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง” หรือ นสล. แต่ก็ไม่เคยสงสัยว่าทำไมมันถึงต้องมีคำว่าสำคัญใส่ไว้ด้วย นับเป็นการเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัย

จริง ๆ พอใช้คำว่าสำคัญ เราจะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงอะไรที่เป็นพิเศษกว่าธรรมดา ใช่ครับ สำคัญแบบนี้เป็นคำวิเศษณ์ (ว)  เช่น ของสำคัญ เรื่องสำคัญ เป็นอาทิ ถ้าภาษาฝรั่งคงจะเป็นคำประเภท superlative degree ประมาณนั้น ซึ่งเวลาพูดว่าอะไรสำคัญ มันก็จะมีการเปรียบเทียบเสมอว่าก็คงมีอะไรที่ไม่สำคัญอยู่ด้วยแหละ อันนี้สำคัญกว่า

อย่างหนังสือสำคัญที่ว่า ผมก็แกล้งถามเขาไปว่า มันมีหนังสือที่รัฐมนตรีออกแล้วไม่สำคัญด้วยหรือ จึงเงอะงะกันไปดังว่า

ถ้าละเอียดอ่อนในภาษาไทยอยู่บ้าง ก็จะทราบว่า สำคัญนั้นไม่ได้มีความหมายว่า “พิเศษกว่าธรรมดา” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะหมายความว่า “เข้าใจ” ซึ่งเป็นคำกริยา (ก) ก็ได้ เป็นต้นว่า สำคัญว่ามีอำนาจ ก็หมายความว่าเข้าใจว่ามีอำนาจ

อีกนัยหนึ่ง สำคัญที่เป็นคำนาม (น) นั้นหมายถึง เครื่องหมาย เครื่องจดจำหรือหลักฐานที่ไว้แสดงกับใครต่อใคร เช่น ให้ไว้เป็นสำคัญ ก็หมายความว่าให้ไว้เป็นเครื่องหมายหรือหลักฐาน  ซึ่งคำว่าหนังสือสำคัญก็จะหมายถึง หนังสือที่เป็นเครื่องหมายหรือหลักฐาน เป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณ อย่าง นสล. ก็คือหนังสือที่เป็นหลักฐานสำหรับที่หลวง เป็นต้น  

ดังนั้น หนังสือสำคัญตามประกาศที่พิจารณากันวันนี้จึงไม่ใช่ในความหมายว่าพิเศษกว่าธรรมดา แต่หมายถึงหนังสือที่เป็นเครื่องหมายหรือหลักฐาน

อันนี้ไม่ใช่กฎหมายเลยนะครับ ภาษาไทยล้วน ๆ คนร่างอาจเรียนเมืองนอกเมืองนามา จึงอาจอ่อนแอนิดหน่อย ไม่ว่ากัน

ก็เล่าสู่กันฟังครับ เผื่อเด็กถามจะได้ถ่ายทอดได้ คนรุ่นผมคงน้อยลงทุกทีแล้ว

ไม่ได้บ่นนะนี่.

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

CPI ในทัศนะผม : ปกรณ์ นิลประพันธ์

ส่วนตัวผมเห็นอันดับของประเทศไทยใน corruption perception index หรือ cpi ที่ต่ำลงแล้ว ไม่ได้คิดเหมือนคนอื่นที่ว่าประเทศไทยเรามีคอรัปชั่นมากขึ้น

ตรงข้าม ผมกลับเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวทำให้เห็นว่าพี่น้องประชาชนทนไม่ได้กับการทุจริตมากขึ้น และกลไกตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใครหลายคนไม่ชอบนี่แหละ กำลังทำงานอย่างได้ผล เพราะมีกลไกที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเปิดเผยข้อมูลมาก ลองใช้คอมพิวเตอร์ค้นดูก็ได้ จะเห็นว่ามีคำว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผย อยู่ทั่วไปหมด ไม่ได้เขียนเอาไว้ในมาตราเดียวเหมือนฉบับอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะ “ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ” ตามมาตรา 50(10) ด้วย

นอกจากนี้ มาตรา 63 ยังบัญญัติว่า “รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจาก การทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด รวมทั้งกลไกในการส่งเสริม ให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครอง จากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ”

กลไกและมาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ จึงมีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้ประชาชน “ไม่ทน” ต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอีก มีช่องทางร้องเรียนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งการใช้สื่อดิจิทัลต่าง ๆ ในการแสดงออกว่าเขาถูกกระทำการอันเป็นการทุจริตหรือประพฤติมิชอบอย่างไรบ้าง 

ส่วนตัวผมจึงไม่แปลกใจที่อันดับของประเทศไทยใน cpi ต่ำลง และเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะเมื่อก่อนนั้น เราต้องทนอยู่กับเรื่องการทุจริตหรือประพฤติมิชอบเหมือนกับเป็น frog in the broiler เพราะสังคมปิดมาก หลายคนไม่กล้าที่จะแสดงออก เพราะกลัวอำนาจมืดจากผผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ ที่จะมาข่มขู่หรือพยายามปกปิดความชั่วร้ายเอาไว้ แต่เดี๋ยวนี้สังคมเปิดกว้างมากขึ้น เสรีภาพมีมากขึ้น ถึงยังไม่สว่างจ้า แต่ก็ไม่ใช่สังคมมืด ๆ ดำ ๆ อย่างสมัยสามสี่สิบปีก่อน มีช่องทางแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทน

จริง ๆ เรื่อง corruption นี่ไม่ใช่เฉพาะภาครัฐนะครับ corrupt คือ lack of integrity อะไรที่ lack of integrity นี่เขาถือว่าเป็น corruption ทั้งนั้น ไม่เว้นแม้กระทั่งการขับรถที่ไม่เป็นไปตามกฎจราจร ขี่มอเตอร์ไซค์สวนทาง หรือขี่บนฟุตบาทนี่เขาก็เป็น corrupt act อย่างหนึ่ง และพฤติการณ์เหล่านี้เองที่มันจะนำไปสู่การ corruption อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ เข้าใจ โดยเฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง

อย่างนาย เอ ขี่มอเตอร์ไซค์สวนทาง เจ้าหน้าที่จับเข้าก็ต้องดำเนินคดี นาย เอ ไม่อยากถูกดำเนินคดีก็พยายาม “ต่อรอง” โดยขอความกรุณาหรือโดยการเสนอว่าจะให้สินบน เมื่อมีช่องทางการเจรจาแบบนี้เกิดขึ้น มันจึงง่ายที่จะเกิด corrupt act ขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ แต่จริง ๆ corrupt act มันเริ่มตั้งแต่มีการต่อรองที่ว่านั้นโดยนาย เอ แล้วแหละ หรือถ้านาย เอ ไม่เสนอ เจ้าหน้าที่ก็จะอาศัยช่องทางที่นาย เอ ทำผิดในการเรียกรับสินบนเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีนาย เอ … ภาษาเก่าเรียกว่าเจ้าหน้าที่มี “ไถยจิต” หรือ “เถยจิต” ก็เรียก ซึ่งคงเป็นที่มาของคำว่า “ไถ” ในกาลต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อก่อนไม่มีเทคโนโลยี สังคมปิด ทำกันลับ ๆ ล่อ ๆ และไม่มีใครกล้าเปิดเผยเรื่องแบบนี้ กลัวสิครับ กลัวว่าจะถูกเอาคืน แต่พอเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีมาตรการเปิดช่องร้องเรียนมากเข้า เรื่องราวผิด ๆ ต่าง ๆ นาๆ ที่เคยปิดที่เคยเป่ากันได้ง่าย ๆ ก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่โตขึ้นมา ซึ่งนั่นยิ่งทำให้สังคม “เลิกทน” กับการทุจริตและประพฤติมิชอบในทุกรูปแบบทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

หากติดตามดูดี ๆ corruption perception นี่ขยายไปนอกภาครัฐแล้วนะครับ การงุบงิบกันในภาคเอกชนด้วยกันเองก็ไม่น้อย อย่างโครงการที่ต้องแข่งขันกันระหว่างเอกชนนี่ก็มีหลายโครงการที่มี corrupt practice เกิดขึ้นจนเป็นที่กล่าวขานกันในวงการก็หลายเรื่อง ในภาคประชาสังคมก็มี เช่นรับเงินบริจาคจะไปช่วยทำนั่นทำนี่ แต่รับเงินไปแล้วหายไปเลยก็มาก หรือเอาไปใช้ส่วนตัวก็เยอะ เป็นการต้มตุ๋นโดยใช้ความโอบอ้อมอารีของคนในสังคมเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ก็ corrupt เหมือนกันนะครับ เป็นข่าวเป็นคราวโด่งดังก็หลายเคส

ส่วนตัวผมว่า root cause ของเรื่องก็คือ lack of integrity ของคน มันต้องปลูกฝังจิตสำนึกกันเป็นเรื่องเป็นราว ต้องเริ่มต้นกันตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปแก้กฎหมายนั่นเป็นปลายเหตุ ช่วยได้บ้างตรงกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล การนำดิจิทัลมาใช้เพื่อให้สามารถตรวจสอบการดำเนินการต่าง ๆ ได้ อันนี้ทุกรัฐบาลพยายามทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ governance ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน แม้แต่ในภาคประชาชนเอง 

Governance ในภาครัฐและภาคเอกชนนี่ไปไกลแล้วนะครับ สังคมตรวจสอบภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกลไกต่าง ๆ มากมาย  อย่างภาครัฐก็มีการรายงาน การเปิดเผยข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  การตรวจสอบจากองค์กรอิสระ ศาล และจากประชาชน ภาคเอกชนก็ผ่านการรายงานต่อกระทรวงพาณิชย์ หรือต่อสำนักงาน กลต การเปิดเผยข้อมูลในอินเตอร์เน็ต การประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น แต่ภาคประชาสังคมนี่ยังไม่ชัดเจนถึงเกิดกรณีต้มตุ๋นอะไรกันบ่อย ๆ คงต้องช่วยกันคิดครับว่าจะทำให้การดำเนินการของตัวเองเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบอย่างไร

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ว่าอันดับที่เป็นอยู่มันสะท้อนว่าคนไทยไม่ทนต่อ corruption มากขึ้น แต่เราจะโยนภาระให้รัฐฝ่ายเดียวคงจะแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด แต่คงต้องช่วยกันขบคิดและลงมือทำต่อไปว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ corrupt practice ในทุกวงการมันจืดจางลง

แค่นี้ก่อนนะครับ แบตหมดแล้ว


วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565

การเลือกผู้แทนแบบจีน โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

ผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านจีน ได้แต่ติดตามอ่านข่าวสารตามสื่อต่าง  และทราบว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือ CPC ซึ่งเป็น “พรรคอุดมการณ์” (ไม่ใช่พรรคการเมืองอย่างในประเทศประชาธิปไตยเขาจะมีการประชุมใหญ่ครั้งที่ 20 ช่วงครึ่งหลังของปีนี้

การประชุมใหญ่นี่เขาจะทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาลในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และจะกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต รวมทั้งเลือกสมาชิกพรรคกลางใหม่

ผู้เข้าร่วมประชุมนี้มีมากถึงกว่า 2,300 คน ครับ ใหญ่โตมาก เขาให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศกว่า 95 ล้านคน เลือกสมาชิกเข้ามาเป็นผู้แทนมาประชุมกันโดยเขาเริ่มกระบวนการเลือกผู้แทนที่ว่านี้มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน 


จากข้อมูลของสำนักข่าวซินหัวที่ผู้เขียนติดตามเป็นประจำ กระบวนการเลือกผู้แทนของเขานี้ต่างจากเลือกตั้งแบบที่เรารู้จักเยอะมากครับ ผู้เขียนจึงขอเรียกว่าการเลือกผู้แทนน่าจะดีกว่าใช้คำว่าเลือกตั้งเพราะจะสับสนได้ การเลือกผู้แทนของเขานี่ไม่ได้ให้คนทั่วไปเลือก แต่ให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่จะมีสิทธิเลือกครับเพราะเป็นการประชุมพรรค แบ่งเขตเลือกออกเป็น 38 หน่วยเลือกทั้งตามพื้นที่และตามภารกิจเนื่องจากสมาชิกมีหลายประเภทครับ


ที่น่าสนใจมากคือการเลือกผู้แทนสมาชิกนี่เข้มข้นมาก จะมีคณะกรรมการตรวจสอบประวัติผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับการคัดเลือกด้วย ไม่ได้ใช้คะแนนนิยมหรือ Popular vote อย่างการเลือกตั้งบ้านเรา และผู้ซึ่งจะได้รับการเสนอชื่อมาให้เลือกกันนี้ต้องเป็นสมาชิกพรรคซึ่งมีผลงานและความประพฤติโดดเด่น มีคุณธรรมจริยธรรมสูง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป เรียกว่าเขาดู Intregrity ของผู้รับการเสนอชื่อเป็นอันดับแรกสุดครับ นอกจากนี้ก็จะต้องไม่มีประวัติด่างพร้อยใด  และต้องซื่อสัตย์สุจริต 


สมาชิกซึ่งไม่เข้าแก๊ปที่ว่านี้ ไม่ว่าจะความประพฤติไม่ดี ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม หรือทุจริตนี้ ต้องห้ามเสนอเลยนะครับ แถมอาจจะมีบทลงโทษอีกด้วย อย่างในกุ้ยโจวนี่เขามี Negative list สำหรับพวกที่ยังไม่ได้ทำผิดอะไรร้ายแรง เพียงแค่ละเมิดระเบียบวินัยพรรคเขาก็คัดออกแล้ว ไม่เสนอชื่อเลย นับว่าเข้มข้นมาก


อนึ่ง ที่ว่าต้องเลือกสมาชิกพรรคซึ่งมีผลงานและความประพฤติโดดเด่น มีคุณธรรมจริยธรรมสูง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป เขาวางเป็นหลักการนะครับ ส่วนหน่วยเลือกแต่ละหน่วยจะไปกำหนดรายละเอียดให้เข้มข้นยังไงก็สุดแล้วแต่ ขอให้ได้สมาชิกที่มีลักษณะที่ว่านี้มาก็แล้วกัน บางแห่งก็มีเงื่อนไขพิเศษไป เช่น ทิเบตกำหนดว่าสมาชิกซึ่งจะได้รับเลือกต้องมั่นคงในหลักการไม่แบ่งแยกดินแดน ก็ว่ากันไปครับ


สำหรับการเกลี่ยผู้แทนพรรคทั้ง 2,300 กว่าคนนี้ เขายึดหลักว่าจะเกลี่ยให้ได้ครบถ้วนจากทุกภาคส่วนของสังคม ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า all walks of society ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ รวมถึงชนกลุ่มต่าง  ทั้งใหญ่เล็ก และมีความทัดเทียมทางเพศด้วย น่าสนใจมาก คงแบ่งยากน่าดูเหมือนกัน


ส่วนการเลือกนี่เขาห้ามหาเสียงและซื้อขายเสียงเด็ดขาดนะครับ เอาความดีงามมาวัดกัน ไม่ใช่ความนิยมชมชอบ ใครแอบไปหว่านคะแนนนิยมหรือซื้อเสียงนี่ถ้าพรรครู้เข้ามีบทลงโทษด้วย ซินหัวเขาบอก


น่าสนใจมากนะครับกับระบบการเลือกผู้แทนที่ไม่ใช้เรื่องความนิยมชมชอบส่วนตัวหรือ Popular vote ซึ่งผู้เลือกอาจเลือกโดยมีอคติ เช่น ไม่ชอบ  น้อยที่สุด แล้วก็ไม่อยากให้  หรือ  ได้ ก็จะเลือก  โดยไม่ดูเลยว่า    มีคุณงามความดีอะไรบ้างความประพฤติเป็นยังไง 


ถ้าระบอบประชาธิปไตยเอาผลงานหรือคุณงามความดีที่ผ่านมาของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน รวมทั้งความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม มาแบให้ประชาชนรู้บ้างก่อนเลือกตั้งก็น่าจะดีเหมือนกันนะครับ ไม่ต้องเสียเงินค่าหาเสียง ไม่ต้องมาแสดงวิสัยทัศน์หรือโต้คารมกันให้เสียเวลา และคนเลือกน่าจะใช้เหตุผลในการเลือกมากขึ้นด้วย 


ประชาธิปไตยจะได้พัฒนาเป็นประชาธิปไตยแบบ “มีเหตุผล” ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบ “ประชานิยม” เสียที.


วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

เรื่องช้าง ๆ โดย สพ ญ ทิตฏยา จรรยาเมธากุล

ช้างจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและผูกพันกับประวัติศาสตร์ของไทยในหลายมิติ ทั้งด้านการศึกสงคราม ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม รวมถึงเศรษฐกิจ จากการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างหล่อหลอมกลายเป็นวิถีชีวิต จนถักทอต่อยอดเป็นภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างที่ส่งต่อจากรุ่นต่อรุ่นซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของประเทศ จนกระทั่งช้างกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศไทยพันธนันท์

ช้างของไทยนับว่ามีความซับซ้อนมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในมุมมองชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาติตะวันตกที่มักเข้าใจว่า ช้างทุกเชือกในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าที่ถูกล่าเพื่อนำมาใช้งาน แต่แท้จริงแล้วช้างที่อยู่กับคน หรือช้างที่นักท่องเที่ยวสามารถพบปะหรือสัมผัสได้นั้นเรียกว่า ช้างบ้านหรือช้างเลี้ยง ซึ่งไม่ได้มีถิ่นกำเนิดจากในป่าอีกแล้ว เพราะมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่เกิด โดยช้างเหล่านี้จะถูกเลี้ยงดูโดยควาญช้าง จึงเกิดการเรียนรู้ ส่งผลให้ช้างบ้านสามารถสื่อสารและอยู่ร่วมกับคนได้ และที่สำคัญช้างบ้านทุกเชือกได้จดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะ ตามพ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งมีตั๋วรูปพรรณช้าง (ส.พ.๕) ระบุตัวตนช้างเอาไว้ด้วย การทำตั๋วรูปพรรณช้าง เป็นเอกสารที่สำคัญเทียบเท่าทะเบียนบ้านของคน ที่ออกให้โดยกรมการปกครองในพื้นที่ที่ช้างอยู่อาศัย จำเป็นต้องมีการแจ้งเกิด แจ้งย้าย แจ้งตายตามกฎหมายเช่นเดียวกับคน และเพื่อระบุตัวช้างได้ชัดเจนขึ้น ทางกรมปศุสัตว์ได้ฝังหมายเลขไมโครชิพที่กล้ามเนื้อช่วงคอ หลังใบหูซ้าย และยังมีหลักฐานจากการตรวจพันธุกรรม หรือรหัสดีเอ็นเอ พิมพ์ไว้ในตั๋วรูปพรรณอีกด้วย สืบเนื่องจากมาตรการป้องกันการนำช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน นับแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๙ มานั้น ช้างบ้านทุกเชือกต้องได้รับการตรวจทางพันธุกรรม ในขณะที่ช้างป่า ซึ่งเป็นช้างที่เกิดและมีแหล่งที่อยู่อาศัยในป่า ไม่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ ในทางกฎหมายช้างป่ายังอยู่ภายใต้การดูแลของ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๒๕ การที่มีการแบ่งสถานะของช้างไทยด้วยกฏหมายไทยได้ชัดเจนเช่นนี้ ก็นับเป็นอีกจุดที่บ่งบอกความสำคัญของช้างในประเทศไทยเกียรติสกุล 



ผูกพันฉันท์มิตร 

การใช้ช้างบ้านทำงานเกิดขึ้นมานานหลายร้อยปีแล้ว คำกล่าวที่ว่า ช้างเลี้ยงคน คนเลี้ยงช้าง นั้นน่าคิดเพราะในขณะที่คนใช้ช้างทำงาน คนก็นำรายได้มาบำรุง ดูแล ช้างของตนเอง เสมือนความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย ภาพความทรงจำที่คนส่วนใหญ่มีต่อช้างบ้านคือ งานลากไม้ แต่แท้จริงแล้วงานของช้างนั้นแตกต่างไปตามผู้เลี้ยง  ดังเช่น หากเลี้ยงโดยชาวปกาเกอะญอ ก็มักเป็นการเลี้ยงและให้ช่วยลากไม้ สำหรับนำมาสร้างบ้านหรือทำการเกษตร ยกตัวอย่างในพื้นที่ อำเภออมก๋อย มีการใช้ช้างในการไถพรวนดินเพื่อทำสวน ไร่นา เป็นต้น ส่วนทางภาคอีสานและภาคกลาง มักจะใช้ช้างในเชิงที่ข้องเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การแห่ช้างบวชนาคของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานถึง ๑๗๗ ปีอย่างไรก็ตาม จุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตช้างบ้านในประเทศไทย คือการตกงาน เนื่องมาจากการยุติการลากไม้ เพราะมีพระราชกำหนดยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศลงในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทำให้การใช้ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ดำเนินมานานนับร้อยปีจำต้องหยุดชะงักลง

  เมื่อชาวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่ตื่นเต้นกับการได้เห็นช้าง สัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งมีความสามารถในการสื่อสารกับควาญ จนสามารถทำงานร่วมกัน ดังนั้น เมื่อช้างตกงาน จึงเริ่มมีการนำช้างมาให้คนทั่วไปได้เห็นและสัมผัสเกิดเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวในภาคเหนือ เช่น เสริมกิจกรรมการขี่ช้างควบคู่ไปกับการเดินป่า ล่องแพ และเข้าพักในหมู่บ้านชาวเขา  กระทั่งต่อมาได้มีการพัฒนากิจกรรมตามความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น การอาบน้ำช้าง การขี่ช้างแบบมีแหย่งและไม่มีแหย่ง การชมการแสดงความสามารถของช้าง การอยู่กับช้าง เรียนรู้ชีวิตช้าง การเรียนรู้บทบาทควาญ เป็นต้นสมยศ ทำให้ในปัจจุบันมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างมากมายทั่วประเทศไทย จนเมื่อกล่าวถึงประเทศไทย ทั่วโลกก็มักจะจินตนาการถึงภาพต้มยำกุ้ง อาหารไทย ชายหาดสวย วัด และช้าง กล่าวได้ว่าช้างเป็นหนึ่งใน "แม่เหล็ก" ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เลือกซื้อตั๋วเครื่องบิน บินข้ามทวีป เพื่อมาท่องเที่ยว พักผ่อน จนเป็นรายได้เข้าประเทศ กล่าวได้ว่า ช้างคือหัวใจของการท่องเที่ยวไทย นิสิต


ความทุ่มเทของควาญช้าง 

การเลี้ยงช้างนับว่าเป็นงานที่หนักทั้งในแง่ของการทำงาน ความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าอาหาร เพราะช้าง 1 เชือกต้องการอาหารสดถึงวันละ ๑๕o -๓oo กิโลกรัม ซึ่งประกอบไปด้วย อาหารหยาบซึ่งเป็นอาหารหลัก เช่น หญ้า ต้นข้าวโพด ต้นสัปปะรด และอาหารเสริม เช่น กล้วย อ้อย มะขามเปียก ทำให้มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยเชือกละ  ๕oo บาทต่อวันเป็นอย่างน้อย ดังนั้นการดูแลช้าง ๑ เชือกให้อิ่มท้องจึงอยู่ที่ ๑๕,ooo บาทต่อเดือน แต่การจะให้ช้างมีสุขภาพที่แข็งแรง มีสวัสดิภาพที่ดีได้ต้องมีการจัดการด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การทำกิจวัตรประจำวันที่ดี ได้เดินออกกำลังกาย มีพื้นที่เลี้ยงที่เหมาะสม มีควาญที่ดีรู้ใจสามารถสื่อสารกับช้างได้ และหากช้างไม่สบายก็มีการปฐมพยาบาลหรือติดต่อสัตวแพทย์เพื่อมาตรวจรักษา เป็นต้น ซึ่งการดูแลประชากรช้างบ้านของไทยนับหลายพันเชือกนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าของช้างมาโดยตลอด ดังนั้นการหาเงินมาเลี้ยงช้างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และการท่องเที่ยวก็เป็นช่องทางสร้างรายได้หลักของคนเลี้ยงช้าง กล่าวได้ว่า การท่องเที่ยวเป็นกลไกสำคัญในการอนุรักษ์ช้างบ้านของประเทศ โดยเฉพาะเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถสร้างรายได้ให้สามารถใช้เลี้ยงช้างบ้านไทยได้จนถึงทุกวันนี้ แต่จากวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒o๑๙ (COVID-19) ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงักธีรภัทร

ฤ ช้างไทย จะแพ้พ่ายให้ โควิด-๑๙ 

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – ๑๙ ที่รุนแรงเกินกว่าคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยวไปอย่างมหาศาลและกระจายออกไปในวงกว้าง อาทิเช่น พนักงานภายในปางช้าง เจ้าของช้าง เกษตรกรผู้ปลูกและส่งอาหารให้ปางช้าง  โรงแรมที่พัก บริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ รถนำเที่ยว ชาวบ้านในชุมชนรอบๆ พื้นที่ท่องเที่ยว เป็นต้น แต่ที่น่ากังวลมากที่สุด นั่นคือ วิกฤตครั้งนี้ส่งผลโดยตรงกับช้างบ้านเพราะเจ้าของช้างไม่มีรายได้ การจัดซื้ออาหารช้างจึงทำได้น้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้ควาญช้างต้องออกไปหางานพิเศษ กระทบถึงเวลาที่ได้อยู่ดูแลช้างไม่เพียงพอเหมือนเช่นเคย เมื่อไม่มีคนดูแลจึงไม่สามารถปล่อยช้างให้เป็นอิสระได้ ทำให้ต้องล่ามโซ่ ยืนโรง รอจนกว่าควาญจะกลับมา จึงจะได้เดินออกกำลังกายหรืออาบน้ำ เมื่อผ่านไปแรมปี สถานการณ์ไม่คลี่คลาย เจ้าของช้างนับร้อยเชือก จึงตัดสินใจพาช้างกลับภูมิลำเนา 

การพาช้างกลับบ้านเกิดอาจฟังแล้วรู้สึกอบอุ่นใจแต่ในความเป็นจริง สถานที่นั้น ๆ ก็เป็นบ้านเกิดที่ช้างไม่ได้อยู่มานานแล้ว เมื่อกลับไปจึงกลายเป็นสถานที่ไม่เหมาะสม อาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ด้านสุขภาพพบการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ มีการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรที่อันตราย การกระจายตัวกลับบ้านในพื้นที่ห่างไกลนี้ เป็นอีกปัญหาในการดูแลสุขภาพ เพราะการเข้าถึงสัตวแพทย์ทำได้ยากขึ้น ความช่วยเหลือส่งไปไม่ถึงในบางพื้นที่ ผลกระทบนี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงปี ๒๕๖๕ เศรษฐกิจที่แย่ลงทั่วประเทศ การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ช้างบ้านทั้งที่อยู่ในปางช้าง หรือช้างกลับบ้าน ก็มีปัญหาสุขภาพที่สืบเนื่องจาก การกินอาหารไม่เพียงพอ ไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง การอยู่ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดความเครียด และทำให้ช้างเจ็บป่วย ธีรภัทร;วีระศักดิ์

สำหรับสัตวแพทย์เองได้รับแจ้งช้างเจ็บป่วยอยู่เรื่อยๆ นับเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น ตั้งแต่เจ็บป่วยที่เล็กน้อย เจ็บตา มีแผล รักษาไม่นานก็หาย จนถึงในกลุ่มช้างที่มีร่างกายผ่ายผอมมากขึ้นส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรม เช่น แม่ช้างมีน้ำนมไม่เพียงพอ แม่ช้างแท้งลูก ช้างไม่มีแรงลุกยืน ทั้งยังพบโรคเรื้อรังได้ในช้างที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น นับว่าเป็นช่วง ๓ ปีที่ได้รับทราบการสูญเสียช้างจากเจ้าของช้างทั่วประเทศเป็นจำนวนมากกว่าปกติ

ร่วมมือสู้เพื่อช้างบ้านของไทย

สำหรับการร่วมมือสู้เพื่อช้างบ้านของไทยนั้น เป็นที่น่ายินดีว่าคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเล็งเห็นความสำคัญของช้างไทย จึงมีมติเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕ มอบหมายให้ "กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับไปประสานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและวางแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในการดำเนินการและดูแลรักษาด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับช้าง เช่น ควาญ เจ้าของปางช้าง โดยยึดแนวทางการสืบสาน รักษา และต่อยอดของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินการ เพื่อให้ช้างทั้งที่เป็นช้างบ้านและช้างป่าได้รับการคุ้มครอง เลี้ยงดู และใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีเกี่ยวกับการเลี้ยงช้างให้เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเร่งด่วน" ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับช้างที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ

นอกจากนี้ ในวันช้างไทย (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ )ที่ผ่านมา ท่านวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ก็ยังได้กล่าวในพิธีเปิดวันงานช้างไทย ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ไว้ว่า จากที่ช้างได้กระจายไปสู่ที่ต่างๆมากมาย การรับความช่วยเหลือเพียงจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งคงไม่ทั่วถึง ดังนั้นหากจะช่วยช้างและคนเลี้ยงช้างให้ผ่านวิกฤตที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลี้ยงช้างเท่าที่เคยมีมาไปให้ได้ จำต้องอาศัยความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่มีความรักช้างทั่วประเทศ เพื่อให้ยังมีช้างคู่ชาติไทยตลอดไป

 

เอกสารอ้างอิง

เกียรติสกุล ชลคงคา, “กฎหมายเบื้องต้นสำหรับการใช้ช้างในธุรกิจท่องเที่ยว” (การจัดฝึกอบรมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยใช้ช้างอย่างถูกวิธี ครั้งที่ ๓ จังหวัดกาญจนบุรี อนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทยในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, โรงแรมพาวีเลี่ยน ริมแคว รีสอร์ท กาญจนบุรี, ๒๕ – ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔) ๑๑.

สัมภาษณ์  ธีรภัทร ตรังปราการ, นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย, สมาคมสหพันธ์ช้างไทย (สำนักงานใหญ่สมาคมสหพันธ์ช้างไทย, ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕).

นิสิต เชียงใหม่ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561

พันธนันท์ โอษฐ์เจษฎา 2557 แผนงานวิจัยการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างของหมอช้างและควาญช้างในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ พฤศจิกายน 

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์, “โควิดยังขวิดช้างอย่างแรง” (dramathailand, ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕) <https://dramathailand.com/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B9%82/8116/>สืบค้นเมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์, รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา, “วันช้างไทย” (วันช้างไทยประจำปี ๒๕๖๕, สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดลำปาง,๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕)

ภาพ

สมาคมสหพันธ์ช้างไทย, “ตั๋วพิมพ์รูปพรรณช้าง”(thaielephantalliance, ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔)<https://www.thaielephantalliance.org/th/facts-about-asian-elephant.html> สืบค้นเมื่อ ๓มีนาคม ๒๕๖๕

สมยศ เชียงใหม่ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561


-----------------------

**สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สัตวแพทย์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่