วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Climate change กับ Trust in Government โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

 Climate change มีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตผลการเกษตร หลายพื้นที่ในโลกนี้โดยเฉพาะเมดิเตอร์เรเนียน เมื่ออากาศร้อนขึ้น ทำให้เขาสามารถปลูก tropical plant ได้ และได้ผลดี อย่างกล้วยหอม มะละกอ กับลิ้นจี่ก็สามารถปลูกและผลิดอกออกผลได้ในซิซิลี รวมทั้งกาแฟก็ออกผลดี ทั้ง  ที่ไม่เคยออกผลได้มาก่อน และกาแฟเมดอินซิซิลีก็เริ่มจะวางขายแล้ว ตอนใต้ของจีนก็เริ่มปลูกทุเรียนกันมังคุดเยอะ ไม่ต้องพูดถึงยางพาราที่ปลูกกันได้มานานแล้ว หรือในอเมริกาเองแคลิฟอร์เนียก็ปลูกลำไยได้รสชาติหวานกรอบ กินสด  อร่อยกว่ากินผลไม้กระป๋องเยอะ อีกหน่อยคงเอามังคุดจากอเมริกาใต้ไปปลูก


แน่นอน อีกไม่นานผลไม้พวกนี้คงไม่ต้องรอส่งจากเมืองไทยหรืออเมริกาใต้แล้ว และนั่นหมายความว่าผลไม้ส่งออกของเราทั้งผลไม้สดและผลไม้กระป๋อง ต้อง “แข่งขัน” กับ “ผู้เล่นหน้าใหม่” ได้ ทั้งในเรื่องราคาและคุณภาพในตลาดที่เราเคยเป็นเจ้าของมาก่อน ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเราไม่ได้เป็นเจ้าโลกในเรื่องนี้อีกต่อไปแล้วเหมือนกับเรื่องไม้สัก ดีบุก และข้าวที่กลายเป็นอดีตไปหมดแล้วนั่นแหละ


คำถามคือเกษตรกรและผู้ส่งออกของไทยจะแข่งขันกับคู่แข่งที่เกิดขึ้นจากผลของclimate change นี้อย่างไร เพราะสถานการณ์บ่งบอกว่าเกมส์ยาวแน่นอน


จริง  climate change ทำให้เกษตรกรบ้านเราประสบปัญหาในการเพาะปลูกอยู่มาก ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง ทำให้ผลผลิตไม่แน่นอนทั้งปริมาณและคุณภาพ ต้นทุนก็ค่อนข้างสูง ส่งผลต่อไปถึงราคาที่ fluctuate มาก ระบบการควบคุมการจำหน่ายและการส่งออกแบบเก่าตามกฎหมายโบราณไม่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน การวิจัยและพัฒนาไม่ค่อยเน้น market oriented base แต่เน้นเรื่องที่นักวิจัยอยากวิจัยซึ่งไม่มี commercial output กลยุทธ์ในการทำการตลาดและผลิตภัณฑ์ของผู้ค้าของเราจึงไม่หลากหลายเพราะข้อจำกัดเยอะดังว่า


วิธีการแก้ปัญหาอย่างการประกันราคา การประกันรายได้ หรือจำนำ ที่ทำสลับกันไปมามาหลายสิบปีแล้วนั้น พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถพยุงราคาในระยะสั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเมืองขึ้นได้ แต่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคนิคและรูปแบบการผลิตและการจำหน่ายในระยะยาว เพราะไม่เอื้อให้เกิดการปรับตัวของเกษตรกรและผู้ค้า แต่ถ้าอยู่  หยุดโครงการช่วยเหลือระยะสั้นนี้ไป ก็จะกลายเป็นปัญหาการเมืองขึ้นได้ง่าย  ทำนองเดียวกับกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ไฟป่า หรือฝุ่น PM 2.5 ได้ช้า และมักถูกจับเป็นตัวประกันเสมอ 


จึงเห็นได้ว่า climate change เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา trust in government ขึ้นได้ การแก้ไขปัญหาต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนว่าเรากำลังมีคนวิ่งตามมาใกล้  แบบหายใจรดต้นคออยู่ ถ้าเราช้าอีกนิดคงโดนแซง และจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังแบบยาว  จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามยุทธศาสตร์ชาติคงเป็นไปได้ยาก ต่อมาก็ต้องหาทางลดต้นทุนการผลิต เพิ่มงานวิจัยและพัฒนา ลดกฎระเบียบที่ไม่ส่งเสริมการแข่งขัน เลิกไปได้เลยยิ่งดี และพัฒนาระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรและผู้ค้าภาครัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจาก regulator เป็น trade facilitator เสียที เพราะเดี่ยวนี้ในข้อตกลงระหว่างประเทศเรื่องการค้าการขายเขาเน้นเรื่องtrade facilitation กันทั้งนั้นแล้ว


พูดถึงเรื่อง regulator ก็คันปากอยากจะเล่าให้ฟังนิดนึงว่า เรื่อง regulator นี่โบราณแล้วนะ เมื่อก่อนที่มี regulator เพราะเขาให้เอกชน “กำกับดูแลกันเอง” เป็น self-regulate ของ industry นั้น  แทนที่จะให้รัฐ “ควบคุม” เหตุผลคือเพื่อความคล่องตัวการดำเนินกิจกรรมของเอกชนตามแนวคิด deregulation ใช้มาสักพักปรากฎว่าไม่ค่อยได้ผล เพราะเอกชนไม่ค่อยอยากกำกับกันเองให้มากนัก แบบกำกับมากกำไรน้อย กำกับน้อยกำไรมาก จึงเกิดกรณี moral hazard ขึ้น องค์กรที่เป็น regulator หลังยุคปี 1995 ถ้ารู้จักสังเกตจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น independent body ที่มีองค์ประกอบทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ปรัชญาของรูปแบบ independent regulator คือการกำกับจะได้คิดถึง stakeholders ทุกภาคส่วน 


แต่บ้านเราจะเข้าใจที่มาที่ไปของ regulator แบบนี้หรือเปล่าไม่ทราบ เพราะพูดถึงoperator ก็จะต้องมี regulator ทุกครั้งไป เหมือนกับท่องจำกันมาว่ามันเป็นแบบ ซึ่งจริง  บางเรื่องไม่จำเป็นเลยฮะ ให้รัฐเป็น falitator ก็ได้ ดีเสียอีก ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการอะไรให้วุ่นวายเปลืองค่าใช้จ่าย ให้กระทรวง ทบวง กรม นั่นแหละทำ ให้รัฐมนตรีเป็น Mr Facilitator ในเรื่องนั้น  ไปโดยตรง ถ้าทำงานแล้วไม่สำเร็จ จะได้รับผิดชอบกันไป ไม่ต้องให้คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานอะไรมาเป็นแพะงานก็ช้า กว่าจะได้รับรายงาน กว่าจะจัดประชุม กว่าจะรับรองรายงานการประชุมกว่าจะทำหนังสือส่งออก หนวดหงอกกันพอดี


ฝรั่ง จีน แขก เขาก็ใช้วิธีการนี้นะครับ ไม่ใช้คณะกรรมการกันเพรื่อไปแบบบ้านเราหรอก เขาถึงมี accountability ต่อภารกิจไง เพราะจะโยนแพะให้ใครต่อไม่ได้ 


ว่าจะเขียนเรื่อง climate change กับ trust in government ดันผ่ามาเรื่องแพะได้ไงไม่รู้ สงสัยจะง่วง


ขอไปนอนก่อนนะครับ ดึกแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น