Standard Cost
Model หรือ SCM คือ หลักการคำนวณภาระของประชาชนที่เกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย (Administrative Burdens) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงาน International Working Group on Administrative Burdens (หรือเครือข่าย
SCM Network to reduce Administrative Burdens ในปัจจุบัน) ด้วยจุดมุ่งหมายให้
SCM เป็นแบบในการคำนวณภาระที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพกฎหมายของภาครัฐ SCM จึงถูกออกแบบให้ดูง่ายและไม่ซับซ้อนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
SCM สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (ex
ante) และกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย (ex post) เนื่องจากภาครัฐสามารถใช้ SCM คำนวณเพื่อคาดการณ์ปริมาณภาระของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกฎหมาย
หรือใช้คำนวณระดับภาระที่ประชาชนต้องแบกรับจากกฎหมายที่มีใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเพื่อสร้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน
(baseline) ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
ในการนี้ SCM สามารถคำนวณหาภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายได้ทั้งในรูปแบบต้นทุนทางการเงินและต้นทุนทางเวลา
โครงสร้างพื้นฐานของหลักการคำนวณ
คือ
Administrative Burdens (AB) = ต้นทุนทางเวลา (T
x Q) + ต้นทุนทางการเงิน (C x Q)
รายละเอียดขั้นตอนการคำนวณสามารถสรุปได้ตามแผนผังดังต่อไปนี้
ตัวอย่างการคำนวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย
โดยใช้หลักการ SCM
๑. เลือกร่างกฎหมายที่ต้องวิเคราะห์ภาระที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนและการประกอบการของธุรกิจ
หรือเลือกกฎหมายที่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์
พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรการตรวจสภาพรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งานครบ
๗ ปีขึ้นไป ก่อนเสียภาษีประจำปี
๒. ตรวจสอบว่าข้อกำหนดหรือกลไกใดในกฎหมายดังกล่าวที่สร้างขั้นตอน
ก่อความยุ่งยาก หรือสร้างภาระให้แก่ประชาชนหรือการประกอบธุรกิจ
** ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในขั้นตอนนี้
คือ ขอบเขตการใช้งานของ SCM เนื่องจาก SCM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อคำนวณภาระที่เกิดจากกลไกทางกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการกำหนดหน้าที่หรือกำหนดขั้นตอนกระบวนการให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการต้องแจ้งข้อมูล
หรือที่เรียกว่า Information Obligation เท่านั้น (เช่น การจดทะเบียน การขออนุญาต การตรวจสอบหรือทำรายงานประจำปี ฯลฯ) ภาระที่เกิดขึ้นจากมาตรการที่มีลักษณะเป็นการสั่งให้ทำหรือสั่งห้ามจะไม่สามารถใช้
SCM ในการคำนวณได้ **
การตรวจสภาพรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งานครบ
๗ ปีขึ้นไป ก่อนเสียภาษีประจำปี
๓. ศึกษาและจำแนกกิจกรรมที่เกิดขึ้นว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการใดบ้างที่ประชาชน/ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด[*]
ในการตรวจสภาพรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งานครบ
๗ ปีขึ้นไป ก่อนเสียภาษีประจำปี เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องทำการนัดล่วงหน้า แต่จะต้องนำรถและสมุดคู่มือทะเบียนรถไปแสดงก่อนการตรวจสภาพรถยนต์กับสถานตรวจสภาพรถ
(ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกหรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก การตรวจสภาพรถยนต์โดย ตรอ. ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ
๓๐ นาที และโดยหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ ๔๕ นาที
** ระยะเวลาในการตรวจสภาพรถยนต์จะไม่ถูกนำมาคำนวณด้วย
เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้เจ้าของรถยนต์ต้องอยู่รอในระหว่างที่มีการตรวจสอบ
**
ภาระที่เกิดขึ้นสำหรับประชาชนที่มีรถขึ้นทะเบียนไว้ใน
กทม. สามารถคำนวณได้ดังนี้
กิจกรรมที่เกิดขึ้น
(T)
-
การนำรถมายัง ตรอ. และนำกลับ ใช้เวลาโดยเฉลี่ย (ใน กทม.) ๒ ชั่วโมง ดังนั้น ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม
(T) เท่ากับ ๒ ชั่วโมง
ค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องจ่าย
(C)
-
ค่าธรรมเนียมในการตรวจ ๑๕๐ บาท
-
ค่าน้ำมันในการนำรถมายัง ตรอ. และนำกลับ โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๒๐๐ บาท
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม (C)
เท่ากับ ๑๕๐ + ๒๐๐ = ๓๕๐ บาท
จำนวนครั้งในการทำกิจกรรมต่อปี
(Q)
-
มีรถยนต์ที่มีอายุเกิน ๗ ปีขึ้นไปในเขต กทม. จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐
คันที่ต้องผ่านการตรวจสอบ
สภาพ ก่อนเสียภาษีในทุก ๆ ปี ดังนั้น ต้องตรวจสภาพรถยนต์จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อปี
สภาพ ก่อนเสียภาษีในทุก ๆ ปี ดังนั้น ต้องตรวจสภาพรถยนต์จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อปี
ภาระของประชาชนที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดดังกล่าวมีค่าเท่ากับ
ต้นทุนทางเวลา
๒ x ๑,๐๐๐,๐๐๐ = ๒,๐๐๐,๐๐๐ ชั่วโมงต่อปี
ต้นทุนทางการเงิน
๓๕๐ x ๑,๐๐๐,๐๐๐ = ๓๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี
ทั้งนี้
ตัวอย่างการคำนวณข้างต้นเป็นเพียงการคำนวณขั้นพื้นฐานเท่านั้น ในการปฏิบัติจริง ยังคงมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ควรนำมาประกอบการคำนวณเพื่อให้การคำนวณแม่นยำและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น
เช่น ค่าเสียโอกาส ต้นทุนคงที่ (fixed costs) ค่า overhead หรือต้นทุนแฝงอื่น ๆ
๔. เมื่อได้ตัวเลขภาระที่ประชาชนต้องแบกรับจากข้อกำหนดในกฎหมายและเข้าใจถึงสาเหตุที่มาของภาระดังกล่าวแล้ว
ภาครัฐก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมายหรือกฎหมาย
หรือการพัฒนานโยบายอื่น ๆ เพื่อบรรเทาภาระดังกล่าวของประชาชน ในการนี้ รัฐจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกฎหมาย
(รวมถึงกลไกที่กำหนดไว้ในกฎหมายด้วย) ความเหมาะสมและความได้สัดส่วนระหว่างสภาพปัญหากับมาตรการที่เลือกใช้
และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
การกำหนดให้ตรวจสภาพรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ
7 ปีขึ้นไป ก่อนเสียภาษีในทุก ๆ ปี เพื่อกำกับให้รถยนต์มีสภาพที่เหมาะสมกับการขับขี่
ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์เสื่อมสภาพ
และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของตนเองและผู้อื่น ในการนี้ ภาครัฐอาจพิจารณา
- แก้ไขกฎหมายแม่บท ซึ่งในกรณีนี้คือการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- แก้ไขหรือยกเลิกข้อกำหนดหรือกลไกในกฎหมาย โดยอาจเป็นการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎกระทรวง/ประกาศในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
- ออกนโยบายหรือมาตรการอื่น ๆ เพื่อลดความซับซ้อนยุ่งยากของกิจกรรม
เช่น ยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมเพื่อจูงใจให้คนตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ หรือ เพิ่มจำนวนและกระจาย
ตรอ. ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ หรือตั้งสถานตรวจสภาพรถยนต์ชั่วคราวตามพื้นที่ชุมชนเพื่อลดระยะเวลาในการเดินทาง
แม้จะเป็นเพียงการคำนวณขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า
ความซับซ้อนในการใช้ SCM
ไม่ได้อยู่ที่การคำนวณตัวเลข แต่เป็นขั้นตอนในการศึกษาและจำแนกกิจกรรม/กระบวนการต่าง
ๆ ที่กฎหมายสร้างขึ้นมากจนเกินความจำเป็น ผู้ร่างกฎหมายจึงควรคำนึงถึงข้อจำกัดของ SCM
อยู่เสมอ ว่า SCM เป็นเพียงเครื่องมือในการคำนวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนเพียงด้านเดียว
การออกกฎหมายยังคงสร้างผลกระทบและภาระในด้านอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้ตรวจวัดได้
ซึ่งรวมไปถึงการคำนวณผลประโยชน์ของการออกกฎหมายด้วย ดังนั้น ประโยชน์สำคัญของการนำ SCM มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพกฎหมายของประเทศไทยจึงไม่ได้อยู่ที่การอำนวยความสะดวกในการคำนวณผลกระทบของกฎหมาย
แต่อยู่ที่คุณสมบัติของ SCM ที่สามารถช่วยให้ผู้ออกกฎหมายเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบและภาระที่เพิ่มขึ้นของประชาชนจากการมีกฎหมายได้อย่างลึกซึ้งและเป็นระบบมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น