นักกฎหมายไทยจำนวนหนึ่งมี
ตัวอย่างที่ยกเป็นกรณีศึกษาคื
ตาม Black's Law Dictionary 5th Ed (1979) นั้น เขาอธิบาย Majority rule ว่าหมายถึง Rule by the choice of the majority of those who actually vote, irrespective of whether a majority of those entitled participate. ถ้าจะสรุปอย่างงู ๆ ปลา ๆ ตามแบบฉบับของผู้เขียนที่ไม่ได้
สรุปง่าย ๆ ว่านับเฉพาะเสียงที่มาลงคะแนนเท่านั้น และดูเพียงว่าระหว่างคะแนน Yes กับ No นั้น ฝ่ายไหนมากกว่ากัน คนที่มาออกเสียงแต่งดออกเสียงหรือไม่ตัดสินใจว่าจะ Yes หรือ No ดีนั้นไม่ต้องนับ เพราะไม่รู้จักตัดสินใจ
อย่างไรก็ดี นักกฎหมายไทยจำนวนหนึ่
ความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่อง "พื้นฐาน" ที่นักกฎหมายต้องเข้าใจมาตั้
ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้มีความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ 1178/2558 สรุปความได้ว่า เสียงข้างมากนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เสียงข้างมากธรรมดา (Simple Majority) กับเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) โดยเสียงข้างมากธรรมดา (ที่กฎหมายเขียนว่า โดยเสียงข้างมากบ้าง ตามเสียงข้างมากบ้าง ให้ถือเสียงข้างมากบ้าง โดยไม่มีสร้อยต่อท้ายว่าของนั่นของนี่ - ผู้เขียน) เสียงข้างมากหมายถึง คะแนนเสียงข้างมากของผู้ซึ่งมีสิทธิลงคะแนนและได้ออกเสียงลงคะแนนว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ การงดออกเสียงหรือไม่มาออกเสียงย่อมไม่ถือเป็นการออกเสียง และไม่สามารถนับได้ ส่วนเสียงข้างมากเด็ดขาด หมายถึง คะแนนเสียงข้างมากของจำนวนทั้งหมดหรือเท่าที่มีอยูู่ (เช่น ที่กฎหมายเขียนว่าสองในสาม หรือสามในสี่ของสมาชิกหรือกรรมการทั้งหมดหรือเท่าที่มีอยู่) คะแนนเสียงจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนด ซึ่งในกรณีเช่นนี้จำนวนคนไม่มาใช้สิทธิหรือใช้สิทธิงดออกเสียงต้องนำมานับด้วยเพื่อประกอบการนับ
ในกรณีเสียงข้างมากธรรมดา หากให้นับคนไม่มาใช้สิทธิหรือใช้สิทธิงดออกเสียงด้วย จะก่อให้เกิดผลประหลาด เพราะจะทำให้คนไม่มาใช้สิทธิ (ไม่มาเลย) กับคนที่มาใช้สิทธิแต่ไม่ตัดสินใจว่าจะ Yes หรือ No ดีนั้น (มา + ไม่ตัดสินใจ) สามารถ "ทำลาย" ผลการตัดสินใจลงคะแนนของคนที่มาใช้สิทธิโดยสมบูรณ์ (มา + ตัดสินใจ) ได้
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ดังกล่าว เป็นการยืนยันหลักการนับคะแนนเสียงข้างมากธรรมดาที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ 266/2553 ว่าต้องนับเฉพาะผู้มีสิทธิที่ลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบเท่านั้น คนไม่มาใช้สิทธิก็ดี หรือมาใช้สิทธิแต่งดออกเสียงหรือทำบัตรเสียก็ดี นั้นหานับไม่
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่านี้เขาเผยแพร่ในเวปไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วยนะครับ หาอ่านได้ไม่ยากที่ www.krisdika.go.th ขอเพียงใฝ่หาความรู้บ้าง ไม่ใช่เอาแต่เล่นไลน์หรือเฟซบุ๊ค แล้วพูดไปเรื่อยเปื่อย
ในสถานการณ์เช่นนี้ สถาบันนักกฎหมาย และเรา เหล่านักกฎหมาย ควรร่วมมือกันจัดการกับนักกฎหมายที่มีพื้
ไม่ใช่ยุคเลอะเทอะ...
ที่มา
Black's Law Dictionary 5th Ed (1979)
เรื่องเสร็จที่ 266/2553
เรื่องเสร็จที่ 1178/2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น